Tuesday, January 18, 2011

18/01/2011 * มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (3)

วันนี้ตลาดสหรัฐอเมริกาหยุดทำการ

วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1023.19 จุด ลดลง 9.07 จุด

สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณขาย DELTA ขณะนี้ถือหุ้นอยู่รวมทั้งหมด 23 ตัว

กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ TTA เกิดสัญญาณขาย

ด้านตลาดต่างประเทศ ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ตลาดจีน (CSI 300) ลงแรงอีก เกือบ 4% ทีเดียว


มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (3)

มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนของลุงแมวน้ำนั้นเป็นการมองผ่านตลาดทุนหรือว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก ซึ่งก็ดังที่ได้คุยกันไปแล้วว่าการมองผ่านตลาดหลักทรัพย์นั้นเป็นการมองจากช่องๆหนึ่งซึ่งไม่อาจเห็นภาพรวมของเศรษฐกิจได้ในทุกมิติ แต่ก็ยังคงสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้หากรู้จักเลือกใช้

เรามาดูตลาดทุนที่ถือว่าเป็นระดับพี่ใหญ่ของโลกกันก่อน นั่นคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจกล่าวได้ว่าความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆมักต้องชำเลืองดูตลาดของสหรัฐอเมริกาเอาไว้เสมอ เนื่องจากตลาดสหรัญอเมริกาถือว่าเป็นผู้บริโภครายใหญ่ของโลก หากตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาตกต่ำก็อาจหมายถึงว่าผู้บริโภคมีเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี อาจตัดลดการบริโภคลงได้ ซึ่งย่อมส่งผลต่อตลาดหุ้นของประเทศอื่นๆบ้างไม่มากก็น้อยในฐานะที่เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการป้อนชาวอเมริกัน



ตัวแทนของตจลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาลุงแมวน้ำใช้ดัชนีดาวโจนส์ (DowJones, DJI) จากภาพ ดูกันคร่าวๆว่าภาพลูกคลื่นของดัชนีเอสแอนด์พี 500 มียอดใหญ่อยู่ 2 ยอด ซึ่งน่าจะเป็นยอดคลื่น 3 (เกิดในราวปี 2000) กับยอดคลื่น 5 (เกิดในราวปี 2008) และถ้ายอดดังกล่าวเป็นยอดคลื่น 3 กับ 5 จริง แสดงว่าขณะนี้เรากำลังอยู่ในคลื่นใหญ่ B ซึ่งพร้อมจะจบได้ทุกเมื่อ หลังจากที่จบ B แล้วก็จะเป็นคลื่น C ที่ลงได้ลึกมาก

ทีนี้ลองมาดูตลาดหลักทรัพย์อื่นควบคู่กันไปด้วย ซึ่งอาจทำให้เราได้มุมมองที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ลองดูภาพต่อไปนี้



จากภาพ มีดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ 5 ประเทศ นั่นคือดัชนี S&P 500 ของสหรัฐอเมริกา ดัชนีแดกซ์ (DAX) ของเยอรมนี ดัชนีฟุตซี 100 (FTSE 100) ของอังกฤษ และดัชนีไอเบกซ์ 35 (IBEX 35) ของสเปน จะเห็นว่าในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ทางฝั่งยุโรปซึ่งทั้งหมดนี้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว กราฟของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของทั้งห้าประเทศเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้เพราะแต่เดิมมานั้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปเชื่อมโยงกันอยู่

ที่น่าคิดต่อไปก็คือเป็นไปได้หรือไม่ว่าตลาดที่พัฒนาแล้วในกลุ่มสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะกอดคอกันลงเหวไปในคลื่นใหญ่ C ด้วยกัน?

หากสมมติว่าปัจจุบันเป็นคลื่น B เราคงอยากรู้ว่าคลื่น B นี้จะจบเมื่อไร ซึ่งทฤษฎีคลื่นอีเลียต (Elliott Wave Theory) ระบุไว้ว่าคลื่น B จะสูงไม่เกินคลื่น 5 ดังนั้นหากพิจารณาจากดัชนี S&P 500 ซึ่งมียอดลื่น 5 อยู่ที่ประมาณดัชนี 1,565 จุด ก็หมายความว่าคลื่น B นี้จะไปได้ไม่น่าเกิน 1,565 จุด หรือหากพิจารณาจากดัชนีดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average, DJI) ยอดคลื่น 5 ของ DJI อยู่ที่ประมาณดัชนี 14,164 จุด ก็หมายความว่ายอดคลื่น B ไม่น่าจะเกินกว่า 14,164 จุด

ปัจจุบัน S&P 500 อยู่ที่ประมาณ 1,282 จุด (เหลืออีกประมาณ 283 จุด) และ DJI อยู่ที่ประมาณ 11,732 จุด (เหลืออีกประมาณ 4,432 จุด) ซึ่งเป็นระยะทางที่ไม่มากนัก ดังนั้นเป็นไปได้ว่าหากขณะนี้ใช่คลื่น B จริง คลื่น B นี้อาจจบลงภายในปี 2011-2012 (2554-2555) นี้




No comments: