วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,070.05 จุด เพิ่มขึ้น 25.08 จุด ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นด้วยกลุ่มธนาคารเป็นตัวนำ ตามด้วยพลังงาน สาเหตุจากมีข่าวสำนักจัดอันดับเครดิตมูดีส์ประกาศเพิ่มอันดับเครดิตให้แก่ BBL, SCB
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณซื้อ BH, KK, SCCC ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 21 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชีย ยุโรป และอเมริกาปิดเขียว ที่ขึ้นแรงได้แก่ ตลาดหุ้นไอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ เปรู สิงคโปร์ เนเธอแลนด์ สเปน อิตาลี ส่วนตลาดหุ้นที่ลงแรงได้แก่กรีซ วันก่อนขึ้นแรง 14% จากนั้นต่อมาลงแรงสองวัน คืนดัชนีไปโขแล้ว
Wednesday, August 31, 2011
30/08/2011
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,044.97 จุด ลดลง 10.66 จุด เปิดตลาดมาดัชนีก็ไล่ไปจนถึงประมาณ +12 จุด จากนั้นก็อ่อนตัวลงมาเรื่อยๆจนปิดตลาด แต่น่าสังเกตว่าต่างชาติซื้อหุ้นสุทธิ อีกทั้งยังเปิดสัญญาซื้อฟิวเจอร์ส S50 สุทธิอีกด้วย ดูแปลกๆ
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณซื้อ TISCO ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 18 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียและยุโรปมีทั้งปิดแดงและปิดเขียว ขึ้นลงไม่แรง ส่วนตลาดยุโรปส่วนใหญ่ปิดแดง ตลาดหุ้นกรีซเมื่อวานขึ้นแรงมาก วันนี้ก็ลงแรง ตลาดฝั่งอเมริกาปิดเขียว ส่วนใหญ่ขึ้นลงไม่แรง
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณซื้อ TISCO ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 18 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียและยุโรปมีทั้งปิดแดงและปิดเขียว ขึ้นลงไม่แรง ส่วนตลาดยุโรปส่วนใหญ่ปิดแดง ตลาดหุ้นกรีซเมื่อวานขึ้นแรงมาก วันนี้ก็ลงแรง ตลาดฝั่งอเมริกาปิดเขียว ส่วนใหญ่ขึ้นลงไม่แรง
29/08/2011
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,055.63 จุด เพิ่มขึ้น 18.41 จุด
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 17 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ปิดเขียวกันเป็นส่วนใหญ่ วันนี้นักลงทุนลืมข่าวร้ายเก่าๆ มองโลกในแง่ดี แต่นี่เป็นเพียงอารมณ์ ในทางเทคนิคยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ตลาดหุ้นที่ขึ้นแรงมากได้แก่ประเทศกรีซที่มีข่าวการควบรวมธนาคารขนาดใหญ่เข้าด้วยกัน ตลาดหุ้นขึ้นไปประมาณ 14% ที่ขึ้นแรงรองลงมาได้แก่ตลาดหุ้นรัสเซีย แอฟริกาใต้ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 17 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ปิดเขียวกันเป็นส่วนใหญ่ วันนี้นักลงทุนลืมข่าวร้ายเก่าๆ มองโลกในแง่ดี แต่นี่เป็นเพียงอารมณ์ ในทางเทคนิคยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ตลาดหุ้นที่ขึ้นแรงมากได้แก่ประเทศกรีซที่มีข่าวการควบรวมธนาคารขนาดใหญ่เข้าด้วยกัน ตลาดหุ้นขึ้นไปประมาณ 14% ที่ขึ้นแรงรองลงมาได้แก่ตลาดหุ้นรัสเซีย แอฟริกาใต้ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา
Monday, August 29, 2011
26/08/2011 * ยางพารา, สินค้าเกษตร, Currencies
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,037.22 จุด เพิ่มขึ้น 12.22 จุด เปิดตลาดมาก็ติดลบแต่หลังจากนั้นดัชนีค่อยๆปรับตัวขึ้น หุ้นไม่ได้ขึ้นทั้งตลาด หุ้นที่ดันดัชนีเป็นหุ้นที่มีน้ำหนักสูงในกลุ่มพลังงาน เกษตร ขนส่ง ฯลฯ ต่างชาติขายสุทธิอีก
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 17 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียมีทั้งปิดแดงและปิดเขียว ขึ้นลงไม่แรง ส่วนตลาดยุโรปส่วนใหญ่ปิดแดง ตลาดฝั่งอเมริกาส่วนใหญ่ปิดเขียว ส่วนใหญ่ขึ้นลงไม่แรงเช่นกัน
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปเป็นกลุ่มที่ผันผวนมากที่สุด ค่า vi (volatility index) ที่แสดงความผันผวนอยู่ที่ 4% กว่าๆ (ค่าเฉลี่ย) รองลงมาคือตลาดหุ้นในกลุ่มละตินอเมริกา และตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิกเพิ่งเริ่มผันผวน ยกเว้นเกาหลีใต้ที่ผันผวนแรง ส่วนตลาดหุ้นไทยคล้ายคลึงกับเพื่อนบ้าน ในสัปดาห์หน้ายุโรปกับสหรัฐอเมริกาน่าจะผันผวนต่อไป ส่วนเอเชียรวมทั้งไทยน่าจะผันผวนรุนแรงขึ้น
ช่วงนี้ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง การลงทุนย่อมมีความเสี่ยงสูงขึ้น นักลงทุนหน้าใหม่ไม่ควรเริ่มเข้าตลาดในช่วงนี้ ในความผันผวนควรถือคติ "ความไม่มีหุ้นเป็นลาภอันประเสริฐ" จะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์ใจ เมื่อตลาดมีทิศทางที่ชัดเจนแล้ว ไม่ว่าผลที่ออกมาจะเป็นแนวโน้มขึ้นหรือแนวโน้มลงก็ตาม ค่า vi จะลดลงอันหมายความว่าความผันผวนจะค่อยๆลดลง เข้าลงทุนตอนนั้นก็ยังไม่สาย
ยางพารา (RSS3) ราคานิ่งมาก ดูจากภาพจะเห็นว่ารูปแบบเป็นปลายชายธงแล้ว อีกไม่นานน่าจะรู้ว่าราคายางพาราจะขึ้นต่อหรือลงต่อ แต่เนื่องจากรูปแบบปลายชายธงค่อนมาทางด้านล่าง ดังนั้นความเป็นไปได้ที่จะทะลุชายธงลงไปมีมากกว่าทะลุขึ้น
ราคาสินค้าเกษตร ดูจากกองทุนรวมอีทีเอฟ DBA จะเป็นว่ากลุ่มสินค้าเกษตรตัวหลัก อาทิ ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง น้ำตาลทราย ฯลฯ ทะลุกรอบ SEC ขึ้นไป ดูท่าจะเป็นแนวโน้มขาขึ้น สวนทางกับราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ แต่ควรดูไปอีกหน่อยเพราะยังมีแนวต้านใหญ่ที่ยังไม่ผ่านอยู่
ทางด้านค่าเงิน ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินดอลลาร์แกว่งตัวในกรอบแคบ ดัชนีดอลลาร์ สรอ (USD index) แกว่งอยู่ในช่วง 73.6 ถึง 74.3 จุดโดยประมาณ และสังเกตว่าตลอดสัปดาห์ ดัชนีดอลลาร์ สรอ มักอ่อนตัวเมื่อตลาดเอเชียเปิด และแข็งค่าขึ้นเมื่อตลาดสหรัฐอเมริกาเปิด เงินตราสกุลอื่นก็แกว่งในกรอบแคบ เงินตราสกุลแข็งมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็นเงินเยน โครนา โครน ออสเตรเลียดอลลาร์ สิงคโปร์ดอลลาร์ ยกเว้นฟรังก์สวิสที่อ่อนค่าตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย
ราคาทองคำผันผวน ต้นสัปดาห์ร่วงแรง ปลายสัปดาห์รีบาวด์แรง ราคาทองคำน่าจะผันผวนไปอีกระยะหนึ่งจากนั้นจึงค่อยเห็นทิศทางชัดเจนว่าจะกลับทิศแนวโน้มหรือไม่
ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% รวมเป็น 3.50% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ในสัปดาห์ข้างหน้านี้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆจะทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกยังอึมครึม หากต่อไปเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงไปอีกคงกระทบกับเศรษฐกิจไทย ดังนั้นช่วงนี้หากหลีกเลี่ยงการก่อหนี้ไปก่อนได้น่าจะดี
Friday, August 26, 2011
25/08/2011 * ตื่นฟรังก์ (สวิส), กองทุนรวมสินค้าเกษตรและกองทุนรวมธุรกิจการเกษตร
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,025.00 จุด ลดลง 21.43 จุด ต่างชาติขายสุทธิอีก
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณขาย BCP, CPF, KBANK, MINT ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 17 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณขาย QH
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียมีทั้งปิดแดงและปิดเขียว ตลาดหุ้นจีนขึ้นแรง ส่วนตลาดหุ้นไทยลงแรง ส่วนตอนบ่ายเมื่อตลาดยุโรปเปิดเขียว บวกไปประมาณ 1% ต่อมาก็อ่อนลง ปรากฏว่ายุโรปส่วนใหญ่ปิดแดง เยอรมนีลบไป -1.7% ต่อมาตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาก็เปิดเขียวจากนั้นก็ปิดแดง -1.5%
วันนี้ตลาดหุ้นที่ลงแรงมีเพียงไทยกับเม็กซิโก
ทางด้านราคาทองคำ วันนี้ราคาทองคำของไทย (GF) สัญญาเดือนไกล ปรับตัวลดลงถึง 2,600 บาท นั่นคือมีผลขาดทุนถึง 130,000 บาท ในตลาดที่ผันผวนแม้แต่การใช้ระบบสัญญาณก็เสียหายหนักได้เนื่องจากระบบสัญญาณตามแนวโน้มไม่ทัน ผลทำให้สัญญาณซื้อขายเกิดช้า ไม่ทันกับความผันผวน ทำให้ขาดทุนหนักได้ เช่น กรณีทองคำนี้ สมมติว่าซื้อวันที่ 23 ที่ราคา 27,730 บาท (ราคาปิด) วันต่อมา วันที่ 24 ราคาเหลือ 26,730 บาทก็ยังไม่เกิดสัญญาณขาย
วันที่ 25 ราคาปิด 24,450 บาท เกิดสัญญาณขาย กว่าจะได้ขายก็ขาดทุนไป 164,000 บาท ภายในสองวัน นี่คือผลจากความผันผวน และนี่เองคือความสำคัญที่ว่าทำไมนักลงทุนที่ใช้ระบบสัญญาณจึงควรเข้าตามสัญญาณ ไม่ควรเข้ากลางคัน เพราะหากเข้าตามสัญญาณโดยทั่วไปจุดขายจะไม่ลึกไปจากจุดซื้อมากนัก แต่หากเข้ากลางคันจุดขายอาจลึกจากจุดซื้อมาก เมื่อตลาดลงแล้วจะทำให้ทำอะไรไม่ถูก
วันนี้ลุงแมวน้ำเขียนหัวข้อเอาไว้ว่าตื่นฟรังก์ (สวิส) เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อตื่นทองของเมื่อวาน
ตลอดช่วงเวลาตั้งแต่ปีที่แล้ว ราคาทองคำขึ้นมาโดยตลอด กองทุนทองคำให้ผลตอบแทนในระดับ 30% ถึง 40% ภายในหนึ่งปี ราคาที่พุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็วนี้นักเศรษฐศาสตร์รวมทั้งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ให้ความเห็นคล้ายๆกันว่าเป็นเพราะนักลงทุนกังวลเรื่องค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่อาจอ่อนค่าลงจนกลายเป็นไม่มีค่า ทำให้ใครๆก็อยากหนีจากเงินดอลลาร์ สรอ ยุโรปก็มีสภาพเศรษฐกิจที่คลอนแคลน เงินยูโรก็ยังไม่ใช่ที่พึ่ง ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่หลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย ฯลฯ ทำให้เงินตราด้อยค่าลง แหล่งพักพิงที่ดีที่สุดสำหรับการหนีเงินดอลลาร์กับยูโรและสู้กับเงินเฟ้อนั่นก็คือทองคำ ราคาทองคำจึงปรับตัวขึ้นพร้อมกับข่าวที่ออกมาเป็นระยะๆว่าประเทศนั้นประเทศนี้ซื้อทองคำเพื่อเป็นทุนสำรองเพิ่มมากขึ้น และนี่เองจึงเป็นที่มาของยุคตื่นทอง
เนื่องจากเมื่อวานลุงแมวน้ำเกริ่นเอาไว้แล้วว่าราคาทองคำเริ่มมีสัญญาณกลับทิศบางประการแล้ว แต่ยังไม่ถึงกับชัดเจนนัก ควรรอดูต่อไปอีกระยะหนึ่งก่อน และหากกลับทิศเป็นแนวโน้มขาลงจริง ราคาของคำน่าจะเป็นการจบคลื่นขาขึ้นลูกที่ 5 ต่อไปจะเข้าสู่คลื่นขาลง A-B-C ซึ่งหมายว่าว่าราคาทองคำยังลงได้อีกมากและอีกนาน
ในยุคที่ใครๆก็ตื่นทองกัน เราลองมาดูภาพนี้กันก่อน
ภาพนี้เป็นการเปรียบเทียบราคาทองคำและเงินตราสกุลต่างๆ โดยมีเงินตราสกุลแข็งอยู่หลายสกุล จะเห็นว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2011 เป็นต้นมา เงินฟรังก์สวิสค่อยๆแข็งค่าขึ้นอย่างเงียบๆ เดิมเงินเยนแข็งรองจากทองคำ แต่มาตอนนี้สกุลเงินที่รองจากทองคำกลายเป็นฟรังก์สวิส (CHF) ไป จากนั้นตามมาด้วยเงินเยนของญี่ปุ่น (YEN) และดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) และดอลลาร์สิงคโปร์ (SGD) ยุคนี้นอกจากจะเป็นยุคตื่นทองแล้วยังเป็นยุคตื่นฟรังก์สวิสอีกด้วย เพียงแต่พวกเราอาจไม่ได้สังเกตและไม่คุ้นเคยกับเงินฟรังก์สวิสเท่าไรนัก ปัจจุบันเงินฟรังก์สวิสกับเงินเยนถือเป็นแหล่งพักพิงสำคัญในการหนีจากดอลลาร์ สรอ กับยูโร และสู้ค่าเงินเฟ้อเช่นกัน
การที่เงินตราสกุลใดจะเป็นเงินตราสกุลแข็งใช้เป็นแหล่งพักพิงได้นั้นต้องเป็นเงินตราที่มีความเป็นสากล คือมีปริมาณเงินตราหมุนเวียนในตลาดโลกมากพอ และเป็นที่ใช้กันทั่วไป ผลเสียของการเป็นสกุลเงินสากลคือหากกลายเป็นแหล่งพักพิงขึ้นมาละก็เงินจะแข็งค่าขึ้นมาก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในขณะนี้มีอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งคือค่าเงินเยนแข็งมาก สินค้าส่งออกของญี่ปุ่นจึงแพงจนเสียเปรียบในการแข่งขันด้านราคา จนทางการต้องเข้ามาแทรกแซงค่าเงินแต่ก็ไม่ได้ผล ขณะนี้สวิตเซอร์แลนด์ก็กำลังประสบปัญหาเช่นเดียวกัน และก็คาดว่าแม้ทางการแทรกแซงค่าเงินฟรังก์ก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน และนี่เองเป็นเรื่องที่จีนกังวล แม้จีนอยากจะยกชั้นเงินหยวนให้เป็นเงินตราสากลแต่ก็เกรงปัญหาเรื่องค่าเงินแข็งจนการส่งออกเสียเปรียบ เพราะถึงตอนนั้นแล้วจีนจะควบคุมค่าเงินหยวนดังเช่นปัจจุบันไม่ได้
เนื่องจากมีสัญญาณหลายประการที่บ่งชี้ว่าดอลลาร์ สรอ อาจเป็นแนวโน้มขาขึ้น หากทองคำเป็นขาลง และดอลลาร์ สรอ เป็นขาขึ้น ยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเงินตราทั้งสี่สกุลที่กล่าวมานี้จะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร คงต้องลองติดตามสังเกตไปด้วยกัน
จากเรื่องเงินตราและทองคำ มาดูเรื่องสินค้าเกษตรกันบ้าง ในบทความก่อนหน้านี้ที่ลุงแมวน้ำเคยเขียนเกี่ยวกับกองทุนรวมที่ลงทุนในสินค้าเกษตร และที่ลงทุนในธุรกิจการเกษตร ว่ามีความแตกต่างกัน ข้อแตกต่างประการหนึ่งที่ลุงแมวน้ำเคยกล่าวเอาไว้ก็คือ ความเคลื่อนไหวของกองทุนรวมสินค้าเกษตรอิงตามราคาสินค้าเกษตร ส่วนความเคลื่อนไหวของกองทุนรวมธุรกิจการเกษตรมักเคลื่อนไหวแบบหุ้น นั่นคือมีเรื่องอารมณ์ตลาดหุ้นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ลองมาดูภาพต่อไปนี้กัน
ภาพข้างบนเป็นกราฟ 4 เส้น เปรียบเทียบกันภายในระยะเวลาหนึ่งปี เส้นสีเหลืองคือดัชนีดาวโจนส์ของสหรัฐอเมริกา เส้นสีส้ำเงินคือราคากองทุนรวมอีทีเอฟ DBA ที่ลงทุนในสินค้าพืชอาหารตัวสำคัญ เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ฯลฯ เป็นหลัก
กราฟเส้นเขียว RJA เป็นกองทุนรวมสินค้าเกษตรที่ลงทุนในสินค้าเกษตรทั้งพืชอาหารและปศุสัตว์ราว 20 รายการ ส่วนกราฟเส้นแดงเป็น MOO เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟที่ลงทุนในหุ้นธุรกิจการเกษตร
จากภาพ จะเห็นได้ว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2011 เป็นต้นมา MOO (เส้นแดง) กับ DJI (เส้นเหลือง) มีความคล้ายคลึงกันมาก เส้นแทบจะทับกันเลยทีเดียว นั่นคือ หมายความว่าในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาลง กองทุนรวมธุรกิจการเกษตรจะเป็นไปตามทิศทางของตลาดหุ้นดังที่ลุงแมวน้ำเคยกล่าวเอาไว้ ส่วนกองทุนสินค้าเกษตรนั้นก็ยังเป็นไปตามความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าเกษตร
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณขาย BCP, CPF, KBANK, MINT ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 17 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณขาย QH
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียมีทั้งปิดแดงและปิดเขียว ตลาดหุ้นจีนขึ้นแรง ส่วนตลาดหุ้นไทยลงแรง ส่วนตอนบ่ายเมื่อตลาดยุโรปเปิดเขียว บวกไปประมาณ 1% ต่อมาก็อ่อนลง ปรากฏว่ายุโรปส่วนใหญ่ปิดแดง เยอรมนีลบไป -1.7% ต่อมาตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาก็เปิดเขียวจากนั้นก็ปิดแดง -1.5%
วันนี้ตลาดหุ้นที่ลงแรงมีเพียงไทยกับเม็กซิโก
ทางด้านราคาทองคำ วันนี้ราคาทองคำของไทย (GF) สัญญาเดือนไกล ปรับตัวลดลงถึง 2,600 บาท นั่นคือมีผลขาดทุนถึง 130,000 บาท ในตลาดที่ผันผวนแม้แต่การใช้ระบบสัญญาณก็เสียหายหนักได้เนื่องจากระบบสัญญาณตามแนวโน้มไม่ทัน ผลทำให้สัญญาณซื้อขายเกิดช้า ไม่ทันกับความผันผวน ทำให้ขาดทุนหนักได้ เช่น กรณีทองคำนี้ สมมติว่าซื้อวันที่ 23 ที่ราคา 27,730 บาท (ราคาปิด) วันต่อมา วันที่ 24 ราคาเหลือ 26,730 บาทก็ยังไม่เกิดสัญญาณขาย
วันที่ 25 ราคาปิด 24,450 บาท เกิดสัญญาณขาย กว่าจะได้ขายก็ขาดทุนไป 164,000 บาท ภายในสองวัน นี่คือผลจากความผันผวน และนี่เองคือความสำคัญที่ว่าทำไมนักลงทุนที่ใช้ระบบสัญญาณจึงควรเข้าตามสัญญาณ ไม่ควรเข้ากลางคัน เพราะหากเข้าตามสัญญาณโดยทั่วไปจุดขายจะไม่ลึกไปจากจุดซื้อมากนัก แต่หากเข้ากลางคันจุดขายอาจลึกจากจุดซื้อมาก เมื่อตลาดลงแล้วจะทำให้ทำอะไรไม่ถูก
ตื่นฟรังก์ (สวิส), กองทุนรวมสินค้าเกษตรและกองทุนรวมธุรกิจการเกษตร
วันนี้ลุงแมวน้ำเขียนหัวข้อเอาไว้ว่าตื่นฟรังก์ (สวิส) เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อตื่นทองของเมื่อวาน
ตลอดช่วงเวลาตั้งแต่ปีที่แล้ว ราคาทองคำขึ้นมาโดยตลอด กองทุนทองคำให้ผลตอบแทนในระดับ 30% ถึง 40% ภายในหนึ่งปี ราคาที่พุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็วนี้นักเศรษฐศาสตร์รวมทั้งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ให้ความเห็นคล้ายๆกันว่าเป็นเพราะนักลงทุนกังวลเรื่องค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่อาจอ่อนค่าลงจนกลายเป็นไม่มีค่า ทำให้ใครๆก็อยากหนีจากเงินดอลลาร์ สรอ ยุโรปก็มีสภาพเศรษฐกิจที่คลอนแคลน เงินยูโรก็ยังไม่ใช่ที่พึ่ง ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่หลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย ฯลฯ ทำให้เงินตราด้อยค่าลง แหล่งพักพิงที่ดีที่สุดสำหรับการหนีเงินดอลลาร์กับยูโรและสู้กับเงินเฟ้อนั่นก็คือทองคำ ราคาทองคำจึงปรับตัวขึ้นพร้อมกับข่าวที่ออกมาเป็นระยะๆว่าประเทศนั้นประเทศนี้ซื้อทองคำเพื่อเป็นทุนสำรองเพิ่มมากขึ้น และนี่เองจึงเป็นที่มาของยุคตื่นทอง
เนื่องจากเมื่อวานลุงแมวน้ำเกริ่นเอาไว้แล้วว่าราคาทองคำเริ่มมีสัญญาณกลับทิศบางประการแล้ว แต่ยังไม่ถึงกับชัดเจนนัก ควรรอดูต่อไปอีกระยะหนึ่งก่อน และหากกลับทิศเป็นแนวโน้มขาลงจริง ราคาของคำน่าจะเป็นการจบคลื่นขาขึ้นลูกที่ 5 ต่อไปจะเข้าสู่คลื่นขาลง A-B-C ซึ่งหมายว่าว่าราคาทองคำยังลงได้อีกมากและอีกนาน
ในยุคที่ใครๆก็ตื่นทองกัน เราลองมาดูภาพนี้กันก่อน
ภาพนี้เป็นการเปรียบเทียบราคาทองคำและเงินตราสกุลต่างๆ โดยมีเงินตราสกุลแข็งอยู่หลายสกุล จะเห็นว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2011 เป็นต้นมา เงินฟรังก์สวิสค่อยๆแข็งค่าขึ้นอย่างเงียบๆ เดิมเงินเยนแข็งรองจากทองคำ แต่มาตอนนี้สกุลเงินที่รองจากทองคำกลายเป็นฟรังก์สวิส (CHF) ไป จากนั้นตามมาด้วยเงินเยนของญี่ปุ่น (YEN) และดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) และดอลลาร์สิงคโปร์ (SGD) ยุคนี้นอกจากจะเป็นยุคตื่นทองแล้วยังเป็นยุคตื่นฟรังก์สวิสอีกด้วย เพียงแต่พวกเราอาจไม่ได้สังเกตและไม่คุ้นเคยกับเงินฟรังก์สวิสเท่าไรนัก ปัจจุบันเงินฟรังก์สวิสกับเงินเยนถือเป็นแหล่งพักพิงสำคัญในการหนีจากดอลลาร์ สรอ กับยูโร และสู้ค่าเงินเฟ้อเช่นกัน
การที่เงินตราสกุลใดจะเป็นเงินตราสกุลแข็งใช้เป็นแหล่งพักพิงได้นั้นต้องเป็นเงินตราที่มีความเป็นสากล คือมีปริมาณเงินตราหมุนเวียนในตลาดโลกมากพอ และเป็นที่ใช้กันทั่วไป ผลเสียของการเป็นสกุลเงินสากลคือหากกลายเป็นแหล่งพักพิงขึ้นมาละก็เงินจะแข็งค่าขึ้นมาก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในขณะนี้มีอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งคือค่าเงินเยนแข็งมาก สินค้าส่งออกของญี่ปุ่นจึงแพงจนเสียเปรียบในการแข่งขันด้านราคา จนทางการต้องเข้ามาแทรกแซงค่าเงินแต่ก็ไม่ได้ผล ขณะนี้สวิตเซอร์แลนด์ก็กำลังประสบปัญหาเช่นเดียวกัน และก็คาดว่าแม้ทางการแทรกแซงค่าเงินฟรังก์ก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน และนี่เองเป็นเรื่องที่จีนกังวล แม้จีนอยากจะยกชั้นเงินหยวนให้เป็นเงินตราสากลแต่ก็เกรงปัญหาเรื่องค่าเงินแข็งจนการส่งออกเสียเปรียบ เพราะถึงตอนนั้นแล้วจีนจะควบคุมค่าเงินหยวนดังเช่นปัจจุบันไม่ได้
เนื่องจากมีสัญญาณหลายประการที่บ่งชี้ว่าดอลลาร์ สรอ อาจเป็นแนวโน้มขาขึ้น หากทองคำเป็นขาลง และดอลลาร์ สรอ เป็นขาขึ้น ยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเงินตราทั้งสี่สกุลที่กล่าวมานี้จะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร คงต้องลองติดตามสังเกตไปด้วยกัน
จากเรื่องเงินตราและทองคำ มาดูเรื่องสินค้าเกษตรกันบ้าง ในบทความก่อนหน้านี้ที่ลุงแมวน้ำเคยเขียนเกี่ยวกับกองทุนรวมที่ลงทุนในสินค้าเกษตร และที่ลงทุนในธุรกิจการเกษตร ว่ามีความแตกต่างกัน ข้อแตกต่างประการหนึ่งที่ลุงแมวน้ำเคยกล่าวเอาไว้ก็คือ ความเคลื่อนไหวของกองทุนรวมสินค้าเกษตรอิงตามราคาสินค้าเกษตร ส่วนความเคลื่อนไหวของกองทุนรวมธุรกิจการเกษตรมักเคลื่อนไหวแบบหุ้น นั่นคือมีเรื่องอารมณ์ตลาดหุ้นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ลองมาดูภาพต่อไปนี้กัน
ภาพข้างบนเป็นกราฟ 4 เส้น เปรียบเทียบกันภายในระยะเวลาหนึ่งปี เส้นสีเหลืองคือดัชนีดาวโจนส์ของสหรัฐอเมริกา เส้นสีส้ำเงินคือราคากองทุนรวมอีทีเอฟ DBA ที่ลงทุนในสินค้าพืชอาหารตัวสำคัญ เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ฯลฯ เป็นหลัก
กราฟเส้นเขียว RJA เป็นกองทุนรวมสินค้าเกษตรที่ลงทุนในสินค้าเกษตรทั้งพืชอาหารและปศุสัตว์ราว 20 รายการ ส่วนกราฟเส้นแดงเป็น MOO เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟที่ลงทุนในหุ้นธุรกิจการเกษตร
จากภาพ จะเห็นได้ว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2011 เป็นต้นมา MOO (เส้นแดง) กับ DJI (เส้นเหลือง) มีความคล้ายคลึงกันมาก เส้นแทบจะทับกันเลยทีเดียว นั่นคือ หมายความว่าในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาลง กองทุนรวมธุรกิจการเกษตรจะเป็นไปตามทิศทางของตลาดหุ้นดังที่ลุงแมวน้ำเคยกล่าวเอาไว้ ส่วนกองทุนสินค้าเกษตรนั้นก็ยังเป็นไปตามความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าเกษตร
Thursday, August 25, 2011
24/08/2011 * ตื่นทอง
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,046.43 จุด ลดลง 10.85 จุด ต่างชาติขายสุทธิอีก วันนี้ตลาดหุ้นไทยลงตามเพื่อนบ้าน
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณขาย SCB, THAI ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 21 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณขาย SCB
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียส่วนใหญ่ปิดแดง นำโดยหั่งเส็งของฮ่องกง ส่วนตอนบ่ายเมื่อตลาดยุโรปเปิด ปรากฏว่ายุโรปส่วนใหญ่ปิดเขียว เยอรมนีรีบาวด์ไปอีก 2.7% ต่อมาตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาก็รีบาวด์เช่นกัน ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวกไป 1.3%
SETI ของไทยอาการไม่ดี เกิดช่องว่าง (gap) ขาลงแล้วไม่สามารถปิดช่องว่างได้
ตื่นทอง
เมื่อก่อนมีคำพูดกล่าวกันขำๆว่าเมื่อใดที่รายย่อยพร้อมใจกันอยากซื้อหุ้นก็แสดงว่าตลาดหุ้นกำลังจะวายแล้ว แม้เป็นคำพูดขำๆแต่ก็มักปรากฏว่าเป็นความจริง เช่นเดียวกับในวันนี้ ร้านทองเยาวราชมีลูกค้าแน่นร้านในวันที่ราคาทองเกือบสามหมื่นบาท ไม่ได้เข้าไปขายแต่เข้าไปซื้อ แถมร้านทองยังมีทองคำไม่พอขาย ต้องออกเป็นตั๋วให้ลูกค้าถือเอาไว้ก่อน ปรากฏการณ์นี้เป็นเรื่องที่น่าคิดอยู่เหมือนกัน
แต่นั่นเป็นเรื่องของข้อสังเกตของอารมณ์ตลาดเท่านั้น เราลองมาดูกันว่าในทางเทคนิคนั้นขณะนี้ราคาทองคำเป็นอย่างไรบ้าง และมีสัญญาณกลับทิศอะไรที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง
ราคาทองคำไปสูงสุดที่ 1,917 ดอลลาร์ สรอ/ทรอยยออนซ์ จากนั้นก็ปรับตัวลดลงมา หากคิดจากราคาปิด ทองคำราคาร่วงลงมา 2 วัน คิดแล้วประมาณ -6.6% ระดับนี้ยังไม่ถือว่าเป็นสัญญาณกลับทิศ การตัดทะลุกรอบ SEC ก็ยังไม่เกิด แนวโน้มยังถือเป็นขาขึ้นอยู่ สัญญาณแท่งเทียนพวกแท่งเทียนดำใหญ่ (big black candle ก็ยังไม่มี
สัญญาณกลับทิศที่เกิดขึ้นแล้วที่เห็นได้ชัดมีเพียงคอนเวอร์เจนซ์ของราคาทองคำกับ RSI (bearish convergence)
ดังนั้นหากจะบอกว่าราคาทองคำกลับทิศแนวโน้มเป็นขาลงแล้วก็ยังเร็วไป แต่ลุงแมวน้ำมีข้อสังเกตอย่างหนึ่ง นั่นคือ ระดับ fibonacci กับความสอดคล้องของระดับ fibonacci หากวัดจากยอดคลื่นสูงสุดเดิมที่ปี 1980 ที่ 880 ดอลลาร์ สรอ ที่ราคา 1900 ดอลลาร์ สรอ เป็นระดับ fibonacci 261.8% พอดี ซึ่งในความเห็นของลุงแมวน้ำถือว่า fibonacci ที่ระดับราคานี้มีน้ำหนักพอสมควรทีเดียว หากไม่กลับทิศแถวๆนี้แต่ผ่านต่อไปได้ ราคาทองคำจะไปถึง 2300 ดอลลาร์ สรอ/ทรอยออนซ์เลยทีเดียว
ช่วงนี้ราคาทองคำผันผวนรุนแรง vi (volatility index) ไปถึง 3% แล้ว ราคาทองคำ GF ร่วงลงมาวันหนึ่ง 1,000 บาท เท่ากับขาดทุนไปสัญญาละ 50,000 บาทภายในหนึ่งวันเท่านั้น หากราคาร่วงลงมาสองวันติดกันก็จะหนักหนายิ่งกว่านี้ นักลงทุนควรระวัง
23/08/2011
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,057.28 จุด ลดลง 10.56 จุด ต่างชาติขายสุทธิอีก
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 23 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณขาย KBANK
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียส่วนใหญ่ปิดเขียว นำโดยไต้หวันและเกาหลีใต้ ตลาดหุ้นไทยวันนี้ไม่ตามเพื่อนบ้าน ตลาดฝั่งยุโรปต้นตลาดปรับตัวขึ้นแรงแต่ท้ายตลาดก็อ่อนตัว กลายเป็นปิดแดงเป็นส่วนใหญ่ แต่ดัชนี DAX ของเยอรมนีปิดเขียวได้ +1% ด้านตลาดฝั่งทวีปอเมริกาส่วนใหญ่ปิดเขียว ดัชนีดาวโจนส์รีบาวด์ ปิดบวกได้ถึง +3%
ทองคำปรับตัวลงแรงหลังจากที่ไปทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 1917.9 ดอลลาร?/ทรอยออนซ์ วันนี้ปรับลดลง 1.6%
Wednesday, August 24, 2011
22/08/2011 * การลงทุนในคลื่นเศรษฐกิจ C (3)
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,067.84 จุด ลดลง 1.36 จุด ต่างชาติขายสุทธิอีก
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณซิ้อ TCAP และขาย TTW ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 23 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียส่วนใหญ่ปิดแดง ยุโรปและอเมริกาส่วนใหญ่ปิดเขียว ความเคลื่อนไหวของดัชนีในยุโรปและสหรัฐอเมริกาในวันนี้คล้ายๆกัน นั่นคือ เปิดตลาดปรับตัวขึ้นแรง DAX ของเยอรมนีปรับตัวขึ้นไปประมาณ 1.5% ในช่วงต้นตลาด แต่เมื่อปิดตลาดแล้วดัชนีแทบไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อน ดัชนีดาวโจนส์ก็เช่นกัน ตอนต้นตลาดบวกไปเกือบ 200 จุด สุดท้ายก็ปิดที่ +37 จุด
สังเกตค่า vi (volatility index) ในตารางของลุงแมวน้ำ จะเห็นว่าค่า vi ของดัชนี ฟิวเจอร์ส และหุ้นต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าตลาดโดยรวมมีความผันผวนมากขึ้น
การลงทุนในคลื่นเศรษฐกิจ C (3)
ตามที่ลุงแมวน้ำได้กล่าวในตอนที่แล้วว่ามีปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจหลายประการที่สนับสนุนสมมติฐานที่ว่าขณะนี้สหรัฐอเมริกาและยุโรปกำลังอยู่ในคลื่นเศรษฐกิจ C อีกทั้งยังเป็นในระดับคลื่นใหญ่อีกด้วย ที่จริงแล้วยังมีสัญญาณอีกหลายประการที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้งหนึ่ง เช่น จีดีพี อัตราการว่างงาน ดัชนีการผลิต ดัชนีการบริโภค อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลง ฯลฯ แต่ทั้งหมดนี้ลุงแมวน้ำใช้เพื่อเป็นเหตุผลสนับสนุนเท่านั้น เหตุผลหลักของลุงแมวน้ำยังคงเป็นมุมมองเชิงปัจจัยทางเทคนิค
หากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและยุโรปเข้าสู่คลื่นเศรษฐกิจ C นักลงทุนควรรับมืออย่างไร
ก่อนจะอ่านแนวคิดของลุงแมวน้ำต่อไปนี้ อยากขอทำความเข้าใจก่อนว่าความเห็นของลุงแมวน้ำนี้มีสมมติฐานมาจาก
- สภาพเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเอเชียและของไทย
- ดัชนีตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกามีผลกระทบต่อดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งเอเชีย และไทยด้วย
- ความคิดเห็นนี้เป็นความคิดเห็นของผู้ที่ลงทุนด้วยปัจจัยทางเทคนิคและเป็นแบบตามแนวโน้ม
หากถามว่าคลื่นเศรษฐกิจ C นี้จะตกต่ำถึงเพียงใด วิธีประเมินของลุงแมวน้ำคือใช้ดัชนีดาวโจนส์ (DJI) เป็นหลัก ลุงแมวน้ำประเมินว่าดัชนีดาวโจนส์อาจลงไปได้ถึง 5,000 ถึง 5,500 จุด
และถ้าดาวโจนส์ลงไปขนาดนั้น ดัชนี SET ของไทยจะลงไปได้มากน้อยเพียงใด คำถามนี้ตอบได้ยากเนื่องจากกราฟของ SETI เป็นรูปแบบที่ไม่ปกตินัก จึงทำให้นับคลื่นได้ยาก หากดาวโจนส์เป็นคลื่น C แล้ว SETI จะเป็นคลื่นอะไรก็ยังตอบได้ยาก เพราะเมื่อนับคลื่นได้ยากก็ประเมินได้ยาก คงให้กรอบเพียงกว้างๆได้ว่า หากกรณีไม่เลวร้าย ตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบไม่มากนัก SETI อาจลงไปถึงประมาณ 900 จุด หากเป็นกรณีที่ได้รับผลกระทบมาก SETI อาจลงไปได้ถึงประมาณ 600 จุด
หลักการลงทุนในคลื่นเศรษฐกิจ C ตามแนวคิดการลงทุนด้วยปัจจัยทางเทคนิคแบบตามแนวโน้มนั้นมีหลักสำคัญอยู่ข้อเดียว คือ เมื่อเป็นแนวโน้มขาลง โดยเฉพาะแนวโน้มใหญ่ ก็ต้องถอนตัวออกมาจากการลงทุนในทรัพย์สินเสี่ยงต่างๆและอยู่เฉยๆ ทรัพย์สินเสี่ยงในที่นี้ก็ได้แก่ หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ รวมทั้งกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ และพักเงินในกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นหรือที่เรียกกันว่ากองทุนรวมตลาดเงินไปพลางๆก่อน ผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวม LTF ก็อาจพิจารณาสับเปลี่ยนไปลงทุนในกองทุน LTF ที่มีส่วนผสมของอนุพันธ์เพื่อลดผลการขาดทุนจากราคาหุ้นตก
ทองคำ ในทางเทคนิคอยู่ในคลื่น 5 ใหญ่ คลื่นนี้จะจบเมื่อไรไม่มีใครบอกได้ ดังนั้นมีความเสี่ยงสูง
สินค้าเกษตร สินค้าโภคภัณฑ์ในกลุ่มสินค้าเกษตรอาจเป็นข้อยกเว้นที่ไม่เป็นขาลงใหญ่ตามคลื่นเศรษฐกิจ C ของตลาดหุ้น ทั้งนี้ เนื่องจากสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารการกินนั้นอาจมีปัจจัยด้านภูมิอากาศแปรปรวนหรือภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตตกต่ำ ราคาจึงไม่ปรับตัวลง อันเป็นไปตามหลักอุปสงค์อุปทาน เมื่ออุปสงค์มีน้อย ราคาก็ไม่ลง ต้องติดตามดูรูปแบบราคาต่อไปก่อน ผู้ที่ลงทุนในสินค้าเกษตรอยู่แล้วอาจยังไม่ต้องทำอะไร เพียงรอดูไปก่อน เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณขาย เมื่อมีสัญญาณขายแล้วจึงค่อยประเมินสถานการณ์อีกครั้งหนึ่ง
ในภาวะตลาดแนวโน้มขาลง การอยู่เฉยๆเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด สัญญาณซื้อที่เกิดขึ้นในคลื่นขาลงก็มักเป็นสัญญาณหลอก (false signal) อยู่เฉยๆไม่เสียเงิน เมื่อไม่เสียเงินก็เท่ากับเราสามารถรักษาทุนไว้ได้ รอจนตลาดจบคลื่น C ใหญ่เข้าคลื่น 1 ใหญ่แล้วจึงค่อยเข้าลงทุนอีกครั้งหนึ่ง ทุนนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการลงทุน นักลงทุนรายย่อยส่วนมากมักไม่ค่อยอยู่เฉย ต้องหาเรื่องเทรดไปเรื่อยๆ ในยามตลาดขาลงทุนการเทรดมีแต่ขาดทุน แม้บางครั้งได้กำไรแต่รวมกันหลายๆแล้วก็ขาดทุนในที่สุด เมื่อยามที่ตลาดจบคลื่น C ไปแล้ว อะไรก็ราคาถูกไปหมด เมื่อถึงตอนนั้นนักลงทุนมักไม่เหลืองเงินสดเพราะขาดทุนหนักหรือติดหุ้นจนเงินสดหมด หรือไม่ก็หมดทุนจนต้องออกจากตลาดไป ทำให้เสียโอกาสในการลงทุนไป ทั้งๆที่การลงทุนหลังคลื่น C จบเป็นควรเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในวันข้างหน้าเนื่องจากหุ้นในช่วงนั้นจะมีราคาลดลงมามาก ดังนั้นในหลักการแล้วต้องพยายามรักษาทุนเอาไว้ให้ได้จนจบคลื่น C ใหญ่ และดังที่กล่าวไปแล้วว่า SETI นับคลื่นยากเพราะรูปแบบไม่ค่อยปกติ ดังนั้นการดูจังหวะลงทุนให้ดูดัชนีดาวโจนส์เป็นหลักก็ได้ เมื่อใดที่ DJI จบคลื่น C ใหญ่ไปแล้วช่วงนั้นก็พิจารณาเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทย หากไม่มีปัจจัยภายในด้านลบอื่นใดที่มากระทบตลาดหุ้นไทยอย่างมีนัยสำคัญก็ถือว่าน่าจะเป็นจังหวะที่เข้าลงทุนได้
การลงทุนในตลาดขาลง เช่น การชอร์ตฟิวเจอร์ส (ถือ short position) หากเป็นนักลงทุนรายย่อยทั่วไปก็ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากปกตินักลงทุนทั่วไปถนัดด้านซื้อแล้วขาย (ถือ long position เหมือนกับการเทรดหุ้น) และมักมองจังหวะด้านชอร์ตไม่ค่อยถูกอันเนื่องจากความไม่คุ้นเคย อีกประการหนึ่ง การเทรดด้านชอร์ตนั้นโอกาสได้กำไรมีเพียงร้อยละ 32 (หมายถึงซื้อขาย 100 ครั้งจะได้กำไร 32 ครั้ง) หรือเรียกว่า win rate = 32% เปรียบเทียบการการเทรดด้านลองซึ่งมีโอกาสได้กำไรประมาณร้อยละ 40 (win rate = 40%) จะเห็นว่าการเทรดด้านลองมีความเสี่ยงต่ำกว่า
สำหรับผู้ที่ถอยออกมาแล้ว ในขั้นต้นควรพักเงินในกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นในประเทศไว้ก่อน เมื่อตั้งหลักได้แล้วจึงพิจารณาทางเลือกอื่นอีกทีหนึ่ง ในขณะนี้เงินดอลลาร์กำลังอยู่ในภาวะไร้ทิศทาง ยังไม่พ้นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ ดังนั้นจึงยังไม่อาจรู้ได้ว่าค่าเงินดอลลาร์จะมีแนวโน้มไปในทางใด แม้ลุงแมวน้ำประเมินว่าโอกาสเป็นแนวโน้มขาขึ้นมีมากกว่าแต่ก็ต้องรอให้สภาพความเป็นจริงมาพิสูจน์ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงกองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศเอาไว้ก่อนเนื่องจากปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมาก ผลตอบแทนจากตราสารหนี้ต่างประเทศมักไม่คุ้มกับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้น
ความเห็นของลุงแมวน้ำนี้ถือหลักการตามแนวโน้มตลาด หากเป็นนักลงทุนที่ใช้หลักการอื่นอาจนำไปปรับใช้ไม่ได้เพราะแนวคิดต่างกัน เช่น แนวคิดสำนักปัจจัยพื้นฐานก็จะมีวิธีมองสถานการณ์และเข้าลงทุนอีกแบบหนึ่ง หรือแนวคิดแบบ DCA (dollar cost averaging หรือบางทีก็เรียก BCA) ก็มีแนวคิดอีกแบบหนึ่งที่แนวโน้มขาลงก็ยังต้องลงทุนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ดังนั้นการนำความคิดเห็นนี้ไปใช้หรือนำไปต่อยอดควรพิจารณาด้วยความระมัดระวัง
Monday, August 22, 2011
19/08/2011 * การลงทุนในคลื่นเศรษฐกิจ C (2)
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,069.20 จุด ลดลง 19.89 จุด ต่างชาติขายสุทธิ 6,388 ล้านบาท
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณขาย GLOW, SCCC และมีสัญญาณซื้อ LH ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 23 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณซื้อโลหะถั่วเหลือง (S) เนื่องจากลุงแมวน้ำปรับมุมมองสินค้าเกษตรเป็นแนวโน้มขาลงแล้ว สัญญาณซื้อครั้งนี้จึงไม่ได้เปิดสัญญาซ์้อ เพียงผิดสัญญาณขายไปเท่านั้น
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชีย ยุโรป และอเมริกาปิดแดงเกือบทั้งหมด ดัชนีร่วงลงมามากบ้างน้อยบ้าง ตั้งแต่ประมาณ -1% ถึง -6% ที่ลงแรงเป็นตลาดในทวีปเอเชีย ได้แก่ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และไต้หวัน ฯลฯ
ระยะหลังนี้ตลาดหุ้นผันผวน ลุงแมวน้ำจึงปรับปรุงรายงานใหม่ เพิ่มตัวชี้วัดเข้าไปอีกตัวหนึ่ง นั่นคือ Volatility index (vi) หรือดัชนีที่ใช้ชีวัดความผันผวนของราคา ค่า vi นี้ดูได้จากรายงาน ในคอมลัมน์ที่อยู่ติดกับคอลัมน์ CODE ค่า vi นี้ลุงแมวน้ำดัดแปลงจากค่า average true range (ATR) ซึ่งใช้วัดความผันผวนของราคา วิธีดูก็คือ หากค่า vi นี้ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1.5% ก็ถือว่าราคาไม่ผันผวน หากค่า vi มากกว่า 1.5 จนถึง 1.9 ถือว่าเริ่มผันผวนบ้างแล้ว ควรระวัง
หาก vi มากกว่าหรือเท่ากับ 2.0 แสดงว่าตลาดผันผวนค่อนข้างมาก ยิ่งค่ามากขึ้นเท่าไร ความผันผวนก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น และตลาดยิ่งผันผวนโอกาสที่จะเกิดสัญญาณหลอกหรือเข้าผิดทางก็ยิ่งมีสูง ดังนั้นสรุปว่าหากค่า vi มากกว่า 2 ก็ควรระวังไว้ให้มาก
ขณะนี้ตลาดหุ้นในยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมทั้งตลาดสำคัญในเอเชีย เช่น หั่งเส็ง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ล้วนแต่กลับทิศเป็นแนวโน้มขาลงไปแล้ว ส่วนดัชนีตลาดของประเทศไทยยังปรับตัวลงไม่มากนัก สัญญาณกลับทิศยังไม่ชัด แต่ลุงแมวน้ำประเมินว่าสุดท้ายก็หนีแนวโน้มรวมไม่พ้น
ในสัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาและยุโรปน่าจะปรับตัวลงต่อ ดังนั้นเป็นไปได้ว่าในสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นไทยอาจปรับตัวลงแรงและกลับทิศเป็นแนวโนมขาลงในที่สุด
การลงทุนในคลื่นเศรษฐกิจ C (2)
ลุงแมวน้ำมองภาพเศรษฐกิจว่าอยู่ในคลื่นใหญ่ C อันเป็นมุมมองด้านเทคนิค ทีนี้ลองมาดูในมุมมองด้านปัจจัยพื้นฐานหรือการพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจจริงดูบ้างว่าพอจะมีเหตุผลใดมาสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวหรือไม่ โดยปกติแล้วลุงแมวน้ำนำปัจจัยพื้นฐานมาพิจารณาประกอบบ้างเพื่อดูความสอดคล้องกัน หากสอดคล้องกันมากก็เป็นน้ำหนักที่สนับสนุนการประเมินจากปัจจัยทางเทคนิค
มุมมองด้านปัจจัยพื้นฐาน
ในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่ราวเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา สื่อมวลชนให้ความสนใจกับปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปมากขึ้น สังเกตได้จากข่าวสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจในยุโรปถูกนำเสนออย่างต่อเนื่องเป็นประจำ โดยเน้นที่ปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศ PIIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และสเปน) ต่อมาก็มาจับประเด็นที่ประเทศกรีซว่าจะสามารถขอรับเงินกู้งวดใหม่จากธนาคารกลางของยุโรปกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อบรรเทาปัญหาการเงินเฉพาะหน้าได้หรือไม่ ตลาดหุ้นทั่วโลกก็เริ่มผันผวนตั้งแต่นั้นมา และเริ่มจับตากันเป็นรายวันว่าปัญหาการเงินเฉพาะหน้าของกรีซจะแก้ไขลุล่วงไปได้หรือไม่
เมื่อปัญหาของกรีซผ่านไป สื่อมวลชนก็มาจับตาปัญหาหนี้สาธารณะของอิตาลีและสเปนเป็นรายถัดไป นำเสนอข่าวรายวันอย่างต่อเนื่อง ตลาดหุ้นในยุโรปผันผวนมากยิ่งขึ้น
ต่อมาสื่อมวลชนก็มาจับตาการผ่านกฎหมายเพื่อขยายเพดานหนี้ของสหรัฐอเมริกาเพื่อไม่ให้ผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรรัฐบาล อันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ช่วงนี้ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาผันผวนมากขึ้น เพราะแม้จะใกล้เส้นตายของการชำระหนี้แล้วฝ่ายการเมืองก็ยังตกลงกันไม่ได้เสียที จนท้ายที่สุดสหรัฐอเมริกาก็สามารถขยายเพดานหนี้ได้ชนิดที่เรียกว่าในนาทีสุดท้าย แต่ปัญหาก็ยังไม่หมดไป เพราะหลังจากนั้นบริษัทจัดอันดับเครดิตเอสแอนด์พีได้ลดอันดับเครดิตของพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันลงหนึ่งขั้น จาก AAA เป็น AA+ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาจึงผันผวนต่อไปแทนที่จะสงบลง
ที่ลุงแมวน้ำเล่ามานี้ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าความผันผวนของตลาดหุ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเป็นผลทางจิตวิทยาต่อข่าวรายวันเสียมากกว่า ยิ่งข่าวรายวันมีความหวือหวามากตลาดหุ้นก็ยิ่งผันผวนสูง เมื่อตลาดหุ้นผันผวนสูง ข่าวรายวันก็ยิ่งมีสีสัน กระทบกันเป็นงูกินหางเช่นนี้ไปเรื่อยๆ แต่ในการพิจารณาของลุงแมวน้ำนั้นไม่ได้ใช้มุมมองจากข่าวรายวันแต่เป็นการมองเศรษฐกิจในภาพใหญ่มากกว่า
ปัจจัยร่วมของปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและยุโรปส่วนหนึ่งมีชนวนมาจากบริษัทลีห์แมนบราเทอร์ส (Lehman Brothers) อันเป็นสถาบันการเงินใหญ่เป็นอันดับสี่ของสหรัฐอเมริกา ทำธุรกิจประเภทธนาคารเพื่อการลงทุน (investment bank) ซึ่งออกผลิตภัณฑ์การเงินที่ซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงอย่างที่ไม่มีใครประเมินได้ถูก โดยรัฐบาลของประเทศต่างๆได้ลงทุนเอาไว้เป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อสหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์การเงินนี้ก็ด้อยค่า ส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปถึงขั้นบางแห่งอาจล้มละลายและอาจลามเป็นโดมิโนได้ ทำให้รัฐบาลของแต่ละประเทศทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรปต้องใช้เงินเข้าไปอุ้มสถาบันการเงินในประเทศของตน ก่อให้เกิดเป็นวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาหนี้สาธารณะที่เพิ่มพูนขึ้น
ลุงแมวน้ำมองว่าปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปมีความซับซ้อนและเป็นปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่า เนื่องจากประเทศต่างๆในสหภาพยุโรปที่ใช้เงินยูโรร่วมกันมีอยู่ถึง 17 ประเทศ แต่ละประเทศมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจแตกต่างกันแต่กลับใช้เงินตราร่วมกัน ทำให้ปัญหามีความซับซ้อนและยากที่จะแก้ไข แต่ละประเทศหากไม่ใช่มีหนี้สาธารณะสูงก็มีอัตราการว่างงานสูง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีทั้งสองประการ ประเทศกรีซมีหนี้สาธารณะสูงถึง 140% ของจีดีพี มีอัตราว่างงานราว 20% ในขณะที่อิตาลีมีหนี้สาธารณะสูงถึง 120% ของจีดีพี มีอัตราการว่างงานประมาณ 8% ส่วนสเปนนั้นมีหนี้สาธารณะประมาณ 60% ของจีดีพี มีอัตราการว่างงาน 21% โปรตุเกสมีหนี้สาธารณะ 92% ของจีดีพีและมีอัตราการว่างงาน 12.4%
จากตัวเลขคร่าวๆดังกล่าวคงพอจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจของยุโรปหลายๆประเทศนั้นมีอาการหนักอยู่ไม่น้อย การแก้ปัญหาหนี้สาธารณะทำได้โดยใช้มาตรการรัดเข็มขัด รัฐบาลต้องตัดลดค่าใช้จ่ายเพื่อไม่ให้งบประมาณขาดดุล แต่ผลข้างเคียงก็คือการลดค่าใช้จ่ายภาครัฐทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวและมีอัตราการว่างงานสูงขึ้น เปรียบเสมือนการกินยาแก้ปวดแล้วยามีผลข้างเคียงคือกัดกระเพาะ แม้หายปวดแต่อาจเกิดแผลในกระเพาะอาหารแทนได้
นอกจากนี้ ผลจากการตัดลดงบประมาณลงทำให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่มีด้อยฐานะทางเศรษฐกิจได้รับผลกระทบสูง ทำให้ประชาชนต่อต้านรัฐบาล ก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นในสังคมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังจะเห็นได้จากการประท้วงในอังกฤษ (อังกฤษไม่ได้อยู่ในกลุ่มยูโรโซนแต่ก็มีปัญหาทางเศรษฐกิจเช่นกัน) กรีซ อิตาลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการว่างงานในกลุ่มเยาวชนนั้นน่าเป็นห่วงเรื่องปัญหาสังคม นอกจากนี้ การที่ประเทศบางประเทศต้องเข้าไปอุ้มประเทศอื่นจนบั่นทอนเศรษฐกิจของตนเอง ลุงแมวน้ำมองว่าต่อไปความขัดแย้งในสังคมประเด็นที่ว่า ‘ทำไมเราต้องไปช่วยเขาด้วย’ จะลุกลามหนัก ตอนนี้ก็พอเริ่มเห็นบ้างแล้วในกรณีความรุนแรงในประเทศนอร์เวย์ซึ่งก็มีที่มาจากความคิดเช่นนี้เหมือนกัน ความคิดเช่นนี้ทำให้รัฐบาลแต่ละประเทศต้องระวังตัวและการเกื้อกูลกันในกลุ่มยูโรโซนจะยากยิ่งขึ้น การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก็จะยากยิ่งขึ้น
และนอกจากนี้จากตัวเลขการประเมินล่าสุดพบว่าจีดีพีของยุโรปแทบไม่ขยายตัวเลย โดยเฉพาะจีดีพีของเยอรมนีซึ่งถือว่าเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนแทบไม่ขยายตัว ตอนนี้ประเด็นข่าวส่วนใหญ่มุ่งไปในเรื่องปัญหาหนี้สาธารณะ แต่แท้ที่จริงแล้วหากเศรษฐกิจไม่ขยายตัวหรือหดตัว วิกฤตที่จะตามมาก็คือวิกฤตหนี้ภาคเอกชน กล่าวคือ ในที่สุดภาคธุรกิจก็อาจมีบางส่วนที่ผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ (corporate bond default) โดยหุ้นกู้ภาคเอกชนของยุโรปที่จะครบกำหนดไถ่ถอนภายในปี 2012 และ 2013 นี้มีรวมกันถึง 1,800 ,000 ล้านดอลลาร์ สรอ ($1,800 billion) ทีเดียว นี่ยังไม่นับรวมหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนภายในปี 2011 นี้เข้าไป และยังไม่รวมหนี้ภาครัฐ (หมายถึงพันธบัตรรัฐบาล) ในกลุ่มยุโรปที่อาจมีการผิดนัดชำระหนี้ได้อีกด้วย
ปริมาณหนี้หุ้นกู้เอกชนของประเทศในกลุ่ม PIIGS ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปีต่างๆ
ปริมาณหนี้พันธบัตรรัฐบาลของประเทศในกลุ่ม PIIGS ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปีต่างๆ
มาดูทางด้านสหรัฐอเมริกากันบ้าง สหรัฐอเมริกาขณะนี้มีสัดส่วนหนี้สาธารณะประมาณ 100% ของจีดีพี อัตราการว่างงานประมาณ 9.1% การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ผ่านมาไม่เกิดผลนัก ผลจากมาตรการ QE1 กับ QE2 เห็นผลน้อย ที่ผ่านมารัฐบาลอเมริกันมีการตัดลงค่าใช้จ่ายในงบประมาณลงมาบ้าง และต่อไปก็จะต้องตัดลงอีก ขณะนี้โรงเรียนชนบทในบางรัฐจัดการเรียนเพียงสัปดาห์ละ 4 วันเพราะโรงเรียนต้องตัดค่าใช้จ่ายลง รวมทั้งยังไม่เห็นแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในขั้นต่อไปที่น่าจะได้ผล
หากเป็นเช่นนี้ต่อไปในที่สุดก็จะกระทบธุรกิจภาคเอกชนมากขึ้น จนในที่สุดอาจมีหุ้นกู้ภาคเอกชนที่ผิดนัดชำระหนี้ได้ โดยสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวมีหุ้นกู้ภาคเอกชนที่จะครบกำหนดไถ่ถอนภายในปี 2012 กับ 2013 อยู่มากถึง 1,280,000 ล้านดอลลาร์ สรอ ($1.28 billion) นี่ยังไม่รวมหุ้นกู้ที่ครบกำหนดภายในปี 2011 นี้
ส่วนประเด็นที่พันธบัตรรัฐบาลอเมริกันถูกลดอันดับเครดิตนั้นลุงแมวน้ำมองว่าเป็นเรื่องรอง อาจไม่ใช่เรื่องสำคัญนักหากมีเรื่องอื่นเร่งด่วนกว่า ที่มองเช่นนี้เพราะหลังจากที่ถูกลดอันดับ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอเมริกาอายุ 10 ปีทำลายสถิติต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี (อัตราผลตอบยิ่งแทนต่ำหมายความว่าความต้องการพันธบัตรยิ่งสูง) แสดงว่าพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันยังเป็นที่ต้องการอยู่และน่าจะปลอดภัยกว่าเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลของอีกหลายๆประเทศ และยิ่งไปกว่านั้น ในยามที่นักลงทุนต้องการหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยงเช่น หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ เช่นในยามนี้ ถึงอย่างไรก็ต้องเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็นระดับ AAA หรือ AA+ ต่างก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์
ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลอเมริกัน ต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี
ผลของการผิดนัดชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ของเอกชนจะกระทบต่อระบบธนาคาร อาจทำให้ธนาคารบางแห่งถึงกับล้ม และอาจล้มตามกันเป็นโดมิโนในขั้นต่อไปได้
มาดูทางด้านทวีปเอเชียและประเทศไทยกันบ้าง เศรษฐกิจประเทศไทยนั้นพึงพาการส่งออกถึงประมาณ 70% ของรายได้ โดยคู่ค้าที่สำคัญของไทยคือประเทศต่างๆในเอเชียด้วยกัน ไทยส่งออกในทวีปเอเชียประมาณ 63% ของยอดการส่งออกทั้งหมด ในขณะที่ส่งออกไปสหรัฐอเมริกาประมาณ 12% และยุโรป 14% (ตัวเลขคร่าวๆ)
แม้ว่าการส่งออกของไทยไปยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะมีรวมกันไม่มากเท่ากับส่งออกในเอเชียด้วยกัน แต่หากดูในรายละเอียดจะพบว่าประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย อินโดนีเซีย ล้วนแต่มีคู่ค้าส่งออกหลักคือสหรัฐอเมริกาและยุโรปทั้งสิ้น ดังนั้นหากเศรษฐกิจทางฝั่งตะวันตกถดถอยก็ย่อมส่งผลกระทบต่อเอเชียและไทยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และนอกจากนี้ หากเกิดวิกฤตหนี้ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นหนี้ภาครัฐหรือเอกชน ก็ย่อมส่งผลต่อระบบธนาคารและระบบการเงินในเอเชียด้วย ส่วนจะกระทบมากหรือน้อยเพียงใดยังยากที่จะประเมินได้
จากเหตุผลด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ลุงแมวน้ำกล่าวมามีส่วนสนับสนุนให้แนวคิดเชิงปัจจัยเทคนิคที่ว่ายุโรปและสหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในคลื่นเศรษฐกิจ C มีน้ำหนักมากขึ้น และน่าจะมีผลฉุดเศรษฐกิจในเอเชียและไทยด้วย
หากเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นคลื่น C เศรษฐกิจไทยและเอเชียจะเป็นคลื่นอะไร และนักลงทุนควรทำอย่างไร ติดตามได้ในตอนต่อไป
Friday, August 19, 2011
18/08/2011 * การลงทุนในคลื่นเศรษฐกิจ C (1)
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,089.09 จุด ลดลง 4.42 จุด ตลาดหุ้นไทยในช่วงเช้าพยายามจะขึ้น แต่ในช่วงบ่ายเมื่อตลาดยุโรปเปิดทำให้สถานการณ์ไปต่อไม่ไหว ต่างชาติขายสุทธิ 668 ล้านบาท
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 24 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณซื้อโลหะเงิน (SI)
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียมีทั้งปิดแดงเป็นส่วนใหญ่ ช่วงเช้าแดงไม่มาก แต่ช่วงบ่ายหลังจากที่ตลาดยุโรปเปิดและดัชนีตลาดหุ้นในยุโรปร่วงหนัก ดัชนีตลาดหุ้นในย่านเอเชียก็พลอยลดลงมาด้วย ด้านยุโรปปิดแดงอย่างหนัก อิตาลี เยรมนี สวีเดน ติดลบมากถึงประมาณ -6% ต่อมาตลาดฝั่งทวีปอเมริกาเปิดก็ร่วงเช่นกัน ปิดลบไปประมาณ -2% ถึง -4%
การร่วงของตลาดหุ้นในยุโรปมาจากปัญหาเรื่องที่กังวลเดิมๆ นั่นคือ ปัญหาหนี้สาธารณะของหลายประเทศในยุโรป หัวข้อเดิมแต่มีข่าวใหม่ๆเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมาหลอกหลอนนักลงทุนชาวยุโรปอยู่เป็นระยะ เมื่อมีข่าวดีหุ้นก็ขึ้นไปสองสามวัน จากนั้นก็กลับมากังวลเรื่องเดิมและหุ้นก็ตกลงมาอีก
ส่วนทางด้านสหรัฐอเมริกานั้น วันนี้มีรายงานทางเศรษฐกิจหลายเรื่อง เรื่องอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ยอดขายบ้านลดลง อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำลงกว่าเดิม ฯลฯ ประกอบกับสถานการณ์ตลาดหุ้นในยุโรป ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นทางฝั่งทวีีปอเมริกา โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาพลอยตกลงมารุนแรงไปด้วย ดัชนีดาวโจนส์ (DJI) ปิดลบไป -320 จุด (-3.68%)
วันนี้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น น้ำมันดิบร่วงลงมาแรงถึง -7% ทองคำทำสถิติใหม่อีก
ลุงแมวน้ำตั้งข้อสังเกตอีกวันหนึ่ง นั่นคือ วันนี้ดัชนีในกลุ่มเอเชียแดงแต่ไม่มากนัก มีตลาดหุ้นไทยกับสิงคโปร์ที่เขียว ดูอาการคล้ายกันคือพยายามจะไต่ขึ้นไป แต่ดัชนี SETI ดูมีแรงมากกว่า แม้วันนี้ตลาดหุ้นไทยจะปิดแดงแต่ก็ลดลงไม่มาก ยอดขายสุทธิของต่างชาติไม่มากนัก รวมทั้งต่างชาติซื้อสุทธิฟิวเจอร์ส S50 พันกว่าสัญญาอีก
การลงทุนในคลื่นเศรษฐกิจ C (1)
อันที่จริงลุงแมวน้ำยังเล่านิทานเรื่องเปรอน (เปรอง) ยังไม่จบ แต่เห็นว่าช่วงนี้ตลาดหุ้นผันผวนมาก นักลงทุนบางคนอาจขาดทุนจนรู้สึกเคว้ง ลุงแมวน้ำจึงพยายามรีบเขียนบทความเรื่องนี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนนักลงทุนในยามนี้บ้าง ที่จริงเกริ่นเอาไว้ตั้งแต่หลายวันมาแล้วแต่ก็ยังไม่มีโอกาสได้เขียนสักทีจนวันนี้
ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา โลกเศรษฐกิจอยู่ในความอึมครึมเนื่องจากวิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่นับวันดูเหมือนว่าจะยิ่งหนักหนาขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากแก้เท่าไรก็ยังไม่ดีขึ้น
คงยังจำกันได้เมื่อราวๆปี 2007 ถึง 2008 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เรียกว่าวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์อันเกิดจากภาคการเงินของสหรัฐอเมริกา จากนั้นก็ลามไปทั่วโลก ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงอย่างแรง โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วในกลุ่มยุโรปและสหรัฐอเมริกา
หลังจากที่รัฐบาลของทุกประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา พยายามแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจนี้ เศรษฐกิจก็ดูเหมือนจะค่อยๆดีขึ้น จนคาดว่าอีกไม่นานโลกจะพ้นจากยุคเศรษฐกิจถดถอยไปได้ ผลทางจิตวิทยานี้ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกค่อยๆปรับตัวดีขึ้น
แต่ต่อมาความเป็นจริงกลับปรากฏว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจต่างๆไม่ได้ดีขึ้นอย่างที่คิด สะท้อนได้จากตัวเลขทางเศรษฐกิจทางๆที่ทยอยออกมาในแต่ละไตรมาส ความกังวลก็กลับมาสู่นักลงทุนอีก ด้วยเกรงกันว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอยอีกครั้งหนึ่งหรือที่เรียกว่า double dip recession อันหมายถึงการถดถอยซ้อนกันสองครั้ง หลังจากที่ถดถอยมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อคราววิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
เศรษฐกิจโลกเข้าสู่คลื่น C
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าคลื่นเศรษฐกิจ C นี้หมายความว่าอะไร ทฤษฎีคลื่นของอีเลียต (Elliott wave) ได้อธิบายพฤติกรรมของตลาดหุ้น โดยแบ่งออกเป็นคลื่นขาขึ้น 5 ลูก เรียกว่าคลื่น 1 2 3 4 5 และคลื่นขาลง 3 ลูก เรียกชื่อว่า A B C ดังภาพต่อไปนี้
ลุงแมวน้ำคงไม่ปูพื้นฐานมาก เนื่องจากเรื่องคลื่นอีเลียตสามารถหาอ่านได้ทั่วไป แต่จะชี้ให้เห็นเพียงบางประเด็นเท่านั้น ทฤษฎีคลื่นนี้อธิบายทางจิตวิทยาเอาไว้ว่าเมื่อถึงคลื่น 5 หลังจากที่คลื่น 5 จบแล้วและเป็นขาลงในคลื่น A นักลงทุนทั่วไปยังมองโลกในแง่ดีเหมือนกับตอนที่อยู่คลื่น 3 แล้วย่อลงมาคลื่น 4 (เพราะจากคลื่น 4 นั้นเข้าสู่คลื่น 5 ซึงยอดคลื่น 5 นั้นสูงกว่าคลื่น 3 เสียอีก)
และนี่เอง ที่นักลงทุนทั่วไปพยายามช้อนซื้อหุ้นหรือลงทุนเพิ่มในคลื่น A เนื่องจากคิดว่าตลาดหุ้นหรือเศรษฐกิจจะไปต่อได้ (เหมือนในช่วงคลื่น 3-4-5) ดังนั้นคลื่น A จึงขับเคลื่อนเข้าสู่คลื่น B
แต่เมื่อไปได้ระยะหนึ่ง ในที่สุดสภาพความเป็นจริงก็ปรากฏชัดว่าไปต่อไม่ไหวแล้ว ดังนั้นนักลงทุนจึงพยายามกลับตัวและเทขายหุ้นอย่างรวดเร็ว ใครขายก่อนก็รอดได้ก่อน ผลก็คือทำให้คลื่น B จบลงและตลาดหุ้นเข้าสู่คลื่น C ซึ่งคลื่น C นี้ปกติจะลงเร็วและแรงเนื่องจากในคลื่นนี้นักลงทุนส่วนใหญ่พยายามหนีออกจากตลาดหุ้นแล้ว นอกจากนี้คลื่น C ยังเป็นคลื่นที่นักลงทุนรายย่อยถูกสลัดหลุดออกไปจากตลาดเป็นจำนวนมากเนื่องจากได้รับบาดเจ็บจากคลื่น A มาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อมาบาดเจ็บซ้ำก็อาจถึงกับต้องออกจากตลาดไป
ทฤษฎีคลื่นของอีเลียตนี้็พอจะนำมาปรับใช้กับสภาพเศรษฐกิจจริงได้ด้วย เพราะตลาดหุ้นกับสภาพเศรษฐกิจจริงมีความเชื่อมโยงกัน ที่ว่า double dip recession นั้นในทางเทคนิคก็คือการเกิดคลื่น A กับคลื่น C นั่นเอง
ลองมาดูดัชนีดาวโจนส์ ดังภาพต่อไปนี้
รูปแบบของดัชนีก็พอเข้าเค้าว่าขณะนี้เราอยู่ในคลื่น C ส่วนดัชนี DAX ของเยอรมนีก็มีรูปแบบคล้ายๆกัน ดังนั้นลุงแมวน้ำจึงตั้งสมมติฐานเอาไว้ว่าขณะนี้สหรัฐอเมริกาและยุโรป น่าจะอยู่ในคลื่น C แล้ว และยังเป็นต้นคลื่นอยู่ รวมทั้งคลื่นนี้ยังเป็นระดับคลื่นใหญ่อีกด้วย ซึ่งน่าจะกินเวลานานนับปี
ปกติในคลื่นใหญ่จะมีคลื่นย่อย คลื่น A-B-C จะมีชุดคลื่นย่อยอยู่ภายใน เรียกง่ายๆว่า 5-3-5 ซึ่งหมายความว่าคลื่น A มีห้าคลื่นย่อย คลื่น B มีสามคลื่นย่อย และคลื่น C มีห้าคลื่นย่อย ดังภาพต่อไปนี้
ลองมาเทียบกับดัชนีดาวโจนส์ในขณะนี้ดู แปลว่าเรายังมีเส้นทางอีกยาวไกลที่นักลงทุนจะต้องฟันฝ่าไปให้ได้ จนกว่าจะจบคลื่น C นี้
(โปรดอ่านต่อนต่อไปในวันถัดไป)
17/08/2011 * ตลาดผันผวน ระบบตามไม่ทัน นักลงทุนทำใจยาก
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,093.51 จุด เพิ่มขึ้น 16.49 จุด ตลาดหุ้นไทยแรงกว่าเพื่อนบ้าน ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,500 ล้านบาท รวมทั้งต่างชาติเปิดสัญญาซื้อ S50 สุทธิกว่าหนึ่งพันสัญญา
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณซื้อ THAI ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 24 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณซื้อน้ำตาล (SB) และฝ้าย (CT) เนื่องจากลุงแมวน้ำปรับมุมมองสินค้าเกษตรเป็นแนวโน้มขาลงไปแล้ว จึงคาดว่าสัญญาณซื้อครั้งนี้อาจเป็นสัญญาณหลอก ดังนั้นจึงปิดสัญญาขายน้ำตาลไปเท่านั้น ไม่ได้เปิดสัญญาซื้อ นอกจากนี้ฟิวเจอร์สของ QH เกิดสัญญาณซื้อ
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียมีทั้งปิดแดงและปิดเขียวคละกัน ตลาดหุ้นยุโรปและอเมริกาส่วนใหญ่ปิดเขียว ดัชนีตลาดของสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
ด้านอัตราแลกเปลี่ยน วันนี้เงินดอลลาร์ฮ่องกงและเงินโครนาของสวีเดนแข็งค่าจนเกิดสัญญาณซื้อ ดัชนีสินค้าเกษตร (DJUBSAG) เกิดสัญญาณซื้อ ค่าเงินดอลลาร์ที่พี่จารณาจากดัชนีดอลลาร์ สรอ (USD Index) มาปิดที่ 73.758 จุด ซึ่งเป็นภาวะไร้ทิศทาง ยังมีโอกาสเป็นแนวโน้มขาขึ้นอยู่ แต่หากดัชนีหลุด 73.62 จุดก็มีโอกาสกลับทิศเป็นแนวโน้มขาลงมากกว่า
ในช่วงระยะเวลาสามเดือนที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นในแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา แต่ละวันหุ้นขึ้นแรงลงแรง บางทีก็ขึ้นแรงวันหนึ่ง ลงแรงวันหนึ่ง สลับกันไป
การที่หุ้นขึ้นลงแรงนั้นส่วนใหญ่ทำให้นักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนหน้าใหม่เกิดความเสียหายได้มาก อย่าว่าแต่นักลงทุนทั่วไปที่ไม่ได้ใช้ระบบการเทรดเลย แม้แต่นักลงทุนที่ใช้ระบบการเทรดแบบสัญญาณซื้อขายตามแนวโน้มก็ยังเหนื่อย เนื่องจากการที่ตลาดผันผวนทำให้เกิดสัญญาณหลอก (false signal) บ่อยครั้ง และยิ่งประกอบกับตลาดขึ้นแรงลงแรง ทำให้สัญญาณหลอกแต่ละครั้งเกิดผลขาดทุนมากกว่ายามตลาดผันผวนน้อย
ลองมาดูกันว่าในช่วงนี้ตลาดมีความผันผวนสูงนั้นเป็นอย่างไร ลองดูภาพต่อไปนี้
ภาพข้างบนนี้เป็นกราฟที่สรุปความเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละวัน จะเห็นว่าแต่ละวันหุ้นขึ้นลงวันละ 3% บ้าง 5% บ้าง 7% ถึง 10% ก็ยังมี
ลุงแมวน้ำลองนำข้อมูลดัชนีตลาดหุ้น 4 ประเทศ คือ ดาวโจนส์ของสหรัฐอเมริกา (DJI) แดกซ์ของเยอรมนี (DAX) หั่งเส็งของฮ่องกง (HSI) และเซ็ตของไทย (SETI) รวมทั้งน้ำมันดิบ (CL) และทองคำ (GC) มาทำกราฟเพื่อดูความผันผวน ดังภาพต่อไปนี้
จะเห็นว่าดัชนีและราคามีความผันผวนสูง ขึ้นลงวันละ 2% ถึง 6% อีกทั้งรูปแบบการขึ้นลงนั้นไม่สามารถคาดเดาได้ บางทีก็ขึ้นวันหนึ่ง ลงวันหนึ่ง บางทีก็ขึ้นสองวัน ลงสองวัน รูปแบบที่ผันผวนสูงและไม่มีแนวโน้มนั้นหากขาดทุนจะทำให้ผลการขาดทุนสูง
ลองมาดูพอร์ตจำลองของลุงแมวน้ำดูบ้าง พอร์ตจำลองนี้ก็คือที่เสนอในตารางเป็นประจำนั่นเอง แต่วันนี้ลุงแมวน้ำนำมาพล็อตเป็นกราฟแท่งให้ดู พร้อมทั้งคำนวณผลตอบแทนเป็นเงินบาททั้งหมด แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ดังภาพต่อไปนี้
ผลิตภัณฑ์ในพอร์ตจำลองมี 2 กลุ่ม กลุ่มที่เป็นกราฟแท่งสีฟ้าเป็นกลุ่มที่เริ่มเทรดเมื่อต้นปี ค.ศ. 2009 หรือว่าเทรดมาแล้วกว่าสองปี ส่วนกราฟแท่งสีน้ำตาลคือกลุ่มที่เริ่มเทรดเมื่อต้นปี 2011 นี้เอง พวกที่เทรดในปีนี้ (สีน้ำตาล) มี 3 ตัว คือ ฟิวเจอร์สของ KTB, ฟิวเจอร์สของเงินเยน (JY) และฟิวเจอร์สของดัชนีนิกเกอิ (NK)
จะเห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนดี (คือสามารถใช้ระบบเทรดตามแนวโน้มแล้วให้ผลกำไรที่ดี) ได้แก่ ฟิวเจอร์สของดัชนีดาวโจนส์ (DJ) น้ำตาลทราย (SB) ทองคำ (GC, GF) และยางพารา (RSS3) ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แม้ว่าจะขึ้นแรง ลงแรง แต่ว่ามักขึ้นหรือลงอย่างต่อเนื่องจนเกิดแนวโน้ม ทำให้การเทรดตามแนวโน้มใช้ได้ผลดี
ส่วนกลุ่มพลังงานอันได้แก่ฟิวเจอร์สของน้ำมันดิบ (CL) ก๊าซธรรมชาติ (NG) รวมทั้งดัชนี SET index นั้นทำให้เกิดผลขาดทุน ด้าน CL กับ NG นั้นแกว่งขึ้นลงแรงและรูปแบบการแกว่งขึ้นลงบ่อยๆ แม้ว่าหากดูจากกราฟจะเห็นว่าทิศทางของ CL กับ NG เป็นแบบ sideway up คือเป็นภาวะขาขึ้นสลับกับภาวะไร้ทิศทาง ดูเหมือนจะทำกำไรได้ แต่เมื่อนำมาเทรดตามระบบ PnT 1.10 แล้วเกิดสัญญาณหลอกเสมอ อีกทั้งสินค้าสองชนิดนี้เป็นฟิวเจอร์สซึ่งมีอัตราทดสูง เมื่อให้ผลกำไรหรือขาดทุนจะหนักหนาเพราะเป็นไปตามอัตราทด ดังนั้นจึงขาดทุนหนัก
ส่วนฟิวเจอร์สของดัชนี SET50 หรือ S50 นั้นในปีแรกของการเทรดสามารถทำกำไรได้ดีเป็นระดับแสนบาทเลยทีเดียว ไม่แพ้ยางพารา แต่ต่อมาดัชนีมีช่วงที่อยู่ในภาวะไร้ทิศทางบ่อยครั้ง ทำให้เกิดสัญญาณหลอกบ่อย กำไรหลายแสนบาทคืนไปจนหมดอีกทั้งยังต้องแถมทุนให้ไปด้วย ผลก็คือขาดทุน คงยังจำได้ว่าเมื่อปีที่แล้ว (2010) มีช่วงหนึ่งที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยขึ้นต่อเนื่องแบบม้วนเดียวโดยไม่เกิดสัญญาณขายเลยเป็นเวลานานหลายเดือน นี่ดีว่าได้กำไรในชวงนั้นมาช่วยเอาไว้ ไม่เช่นนั้นผลขาดทุนจะมากกว่านี้
ผู้ที่เทรดทั้งยางพารา RSS3 และ S50 คงทราบดีกว่ายางพารานั้นเวลาราคาขึ้นลงแรงน่ากลัวกว่า S50 แถมยังมีบางช่วงที่โดนขังอีกด้วย (โดนขังหมายถึงตลาดไม่มีวอลลุม ทำให้ปิดสัญญาไม่ได้ ต้องทนถือสัญญาต่อไป) แต่เมื่อดูผลการเทรดกันแล้วยางพารากลับได้กำไรมากกว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่ารูปแบบราคายางพารามีภาวะไร้ทิศทางน้อยกว่า ทำให้ระบบทำงานได้ดีกว่า หรือหากจะพูดง่ายๆก็คือระบบแพ้ทาง S50, CL นั่นเอง
เมื่อตลาดผันผวนมาก อีกทั้งระบบการเทรดยังแพ้ทางกับสินค้าบางชนิด ดังนั้นนักลงทุนต้องรู้จักปรับปรุงกลยุทธ์การเทรด การปรับปรุงระบบการเทรดด้วยการหาสูตรคำนวณใหม่ที่ทำกำไรได้ดีนั้นเป็นเสมือนการแก้ปัญหาเฉพาะกิจเท่านั้น หากเปรียบระบบการเทรดเป็นเสื้อตัวหนึ่ง ระบบนั้นก็คือเสื้อสำเร็จรูปแบบฟรีไซส์ คือเป็นขนาดทั่วๆไป ใครก็ใส่ได้หากมีรูปร่างทั่วไป ใส่แล้วบางคนอาจรู้สึกว่ายาวไปนิด หรือสั้นไปหน่อย แต่ก็ยอมรับได้ เพราะว่าเป็นเสื้อสำเร็จรูป หากมีคนรูปร่างพิเศษมาซื้อก็ย่อมใส่ไม่ได้ และหากเราตัดเสื้อผ้าขนาดพิเศษให้แก่คนพิเศษนั้น เสื้อนั้นก็ใส่ได้เฉพาะบุคคลเท่านั้น ใช้กับคนอื่นไม่ได้อีก
หากเราขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปอยู่ ไม่ได้ทำทางด้านตัดเสื้อผ้าตามสั่ง ทางที่ดีก็ควรเลือกลูกค้ารูปร่างทั่วไปที่เหมาะกับเสื้อผ้าของเรามากกว่า
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณซื้อ THAI ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 24 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณซื้อน้ำตาล (SB) และฝ้าย (CT) เนื่องจากลุงแมวน้ำปรับมุมมองสินค้าเกษตรเป็นแนวโน้มขาลงไปแล้ว จึงคาดว่าสัญญาณซื้อครั้งนี้อาจเป็นสัญญาณหลอก ดังนั้นจึงปิดสัญญาขายน้ำตาลไปเท่านั้น ไม่ได้เปิดสัญญาซื้อ นอกจากนี้ฟิวเจอร์สของ QH เกิดสัญญาณซื้อ
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียมีทั้งปิดแดงและปิดเขียวคละกัน ตลาดหุ้นยุโรปและอเมริกาส่วนใหญ่ปิดเขียว ดัชนีตลาดของสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
ด้านอัตราแลกเปลี่ยน วันนี้เงินดอลลาร์ฮ่องกงและเงินโครนาของสวีเดนแข็งค่าจนเกิดสัญญาณซื้อ ดัชนีสินค้าเกษตร (DJUBSAG) เกิดสัญญาณซื้อ ค่าเงินดอลลาร์ที่พี่จารณาจากดัชนีดอลลาร์ สรอ (USD Index) มาปิดที่ 73.758 จุด ซึ่งเป็นภาวะไร้ทิศทาง ยังมีโอกาสเป็นแนวโน้มขาขึ้นอยู่ แต่หากดัชนีหลุด 73.62 จุดก็มีโอกาสกลับทิศเป็นแนวโน้มขาลงมากกว่า
ตลาดผันผวน ระบบตามไม่ทัน นักลงทุนทำใจยาก
ในช่วงระยะเวลาสามเดือนที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นในแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา แต่ละวันหุ้นขึ้นแรงลงแรง บางทีก็ขึ้นแรงวันหนึ่ง ลงแรงวันหนึ่ง สลับกันไป
การที่หุ้นขึ้นลงแรงนั้นส่วนใหญ่ทำให้นักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนหน้าใหม่เกิดความเสียหายได้มาก อย่าว่าแต่นักลงทุนทั่วไปที่ไม่ได้ใช้ระบบการเทรดเลย แม้แต่นักลงทุนที่ใช้ระบบการเทรดแบบสัญญาณซื้อขายตามแนวโน้มก็ยังเหนื่อย เนื่องจากการที่ตลาดผันผวนทำให้เกิดสัญญาณหลอก (false signal) บ่อยครั้ง และยิ่งประกอบกับตลาดขึ้นแรงลงแรง ทำให้สัญญาณหลอกแต่ละครั้งเกิดผลขาดทุนมากกว่ายามตลาดผันผวนน้อย
ลองมาดูกันว่าในช่วงนี้ตลาดมีความผันผวนสูงนั้นเป็นอย่างไร ลองดูภาพต่อไปนี้
ภาพข้างบนนี้เป็นกราฟที่สรุปความเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละวัน จะเห็นว่าแต่ละวันหุ้นขึ้นลงวันละ 3% บ้าง 5% บ้าง 7% ถึง 10% ก็ยังมี
ลุงแมวน้ำลองนำข้อมูลดัชนีตลาดหุ้น 4 ประเทศ คือ ดาวโจนส์ของสหรัฐอเมริกา (DJI) แดกซ์ของเยอรมนี (DAX) หั่งเส็งของฮ่องกง (HSI) และเซ็ตของไทย (SETI) รวมทั้งน้ำมันดิบ (CL) และทองคำ (GC) มาทำกราฟเพื่อดูความผันผวน ดังภาพต่อไปนี้
จะเห็นว่าดัชนีและราคามีความผันผวนสูง ขึ้นลงวันละ 2% ถึง 6% อีกทั้งรูปแบบการขึ้นลงนั้นไม่สามารถคาดเดาได้ บางทีก็ขึ้นวันหนึ่ง ลงวันหนึ่ง บางทีก็ขึ้นสองวัน ลงสองวัน รูปแบบที่ผันผวนสูงและไม่มีแนวโน้มนั้นหากขาดทุนจะทำให้ผลการขาดทุนสูง
ลองมาดูพอร์ตจำลองของลุงแมวน้ำดูบ้าง พอร์ตจำลองนี้ก็คือที่เสนอในตารางเป็นประจำนั่นเอง แต่วันนี้ลุงแมวน้ำนำมาพล็อตเป็นกราฟแท่งให้ดู พร้อมทั้งคำนวณผลตอบแทนเป็นเงินบาททั้งหมด แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ดังภาพต่อไปนี้
ผลิตภัณฑ์ในพอร์ตจำลองมี 2 กลุ่ม กลุ่มที่เป็นกราฟแท่งสีฟ้าเป็นกลุ่มที่เริ่มเทรดเมื่อต้นปี ค.ศ. 2009 หรือว่าเทรดมาแล้วกว่าสองปี ส่วนกราฟแท่งสีน้ำตาลคือกลุ่มที่เริ่มเทรดเมื่อต้นปี 2011 นี้เอง พวกที่เทรดในปีนี้ (สีน้ำตาล) มี 3 ตัว คือ ฟิวเจอร์สของ KTB, ฟิวเจอร์สของเงินเยน (JY) และฟิวเจอร์สของดัชนีนิกเกอิ (NK)
จะเห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนดี (คือสามารถใช้ระบบเทรดตามแนวโน้มแล้วให้ผลกำไรที่ดี) ได้แก่ ฟิวเจอร์สของดัชนีดาวโจนส์ (DJ) น้ำตาลทราย (SB) ทองคำ (GC, GF) และยางพารา (RSS3) ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แม้ว่าจะขึ้นแรง ลงแรง แต่ว่ามักขึ้นหรือลงอย่างต่อเนื่องจนเกิดแนวโน้ม ทำให้การเทรดตามแนวโน้มใช้ได้ผลดี
ส่วนกลุ่มพลังงานอันได้แก่ฟิวเจอร์สของน้ำมันดิบ (CL) ก๊าซธรรมชาติ (NG) รวมทั้งดัชนี SET index นั้นทำให้เกิดผลขาดทุน ด้าน CL กับ NG นั้นแกว่งขึ้นลงแรงและรูปแบบการแกว่งขึ้นลงบ่อยๆ แม้ว่าหากดูจากกราฟจะเห็นว่าทิศทางของ CL กับ NG เป็นแบบ sideway up คือเป็นภาวะขาขึ้นสลับกับภาวะไร้ทิศทาง ดูเหมือนจะทำกำไรได้ แต่เมื่อนำมาเทรดตามระบบ PnT 1.10 แล้วเกิดสัญญาณหลอกเสมอ อีกทั้งสินค้าสองชนิดนี้เป็นฟิวเจอร์สซึ่งมีอัตราทดสูง เมื่อให้ผลกำไรหรือขาดทุนจะหนักหนาเพราะเป็นไปตามอัตราทด ดังนั้นจึงขาดทุนหนัก
ส่วนฟิวเจอร์สของดัชนี SET50 หรือ S50 นั้นในปีแรกของการเทรดสามารถทำกำไรได้ดีเป็นระดับแสนบาทเลยทีเดียว ไม่แพ้ยางพารา แต่ต่อมาดัชนีมีช่วงที่อยู่ในภาวะไร้ทิศทางบ่อยครั้ง ทำให้เกิดสัญญาณหลอกบ่อย กำไรหลายแสนบาทคืนไปจนหมดอีกทั้งยังต้องแถมทุนให้ไปด้วย ผลก็คือขาดทุน คงยังจำได้ว่าเมื่อปีที่แล้ว (2010) มีช่วงหนึ่งที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยขึ้นต่อเนื่องแบบม้วนเดียวโดยไม่เกิดสัญญาณขายเลยเป็นเวลานานหลายเดือน นี่ดีว่าได้กำไรในชวงนั้นมาช่วยเอาไว้ ไม่เช่นนั้นผลขาดทุนจะมากกว่านี้
ผู้ที่เทรดทั้งยางพารา RSS3 และ S50 คงทราบดีกว่ายางพารานั้นเวลาราคาขึ้นลงแรงน่ากลัวกว่า S50 แถมยังมีบางช่วงที่โดนขังอีกด้วย (โดนขังหมายถึงตลาดไม่มีวอลลุม ทำให้ปิดสัญญาไม่ได้ ต้องทนถือสัญญาต่อไป) แต่เมื่อดูผลการเทรดกันแล้วยางพารากลับได้กำไรมากกว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่ารูปแบบราคายางพารามีภาวะไร้ทิศทางน้อยกว่า ทำให้ระบบทำงานได้ดีกว่า หรือหากจะพูดง่ายๆก็คือระบบแพ้ทาง S50, CL นั่นเอง
เมื่อตลาดผันผวนมาก อีกทั้งระบบการเทรดยังแพ้ทางกับสินค้าบางชนิด ดังนั้นนักลงทุนต้องรู้จักปรับปรุงกลยุทธ์การเทรด การปรับปรุงระบบการเทรดด้วยการหาสูตรคำนวณใหม่ที่ทำกำไรได้ดีนั้นเป็นเสมือนการแก้ปัญหาเฉพาะกิจเท่านั้น หากเปรียบระบบการเทรดเป็นเสื้อตัวหนึ่ง ระบบนั้นก็คือเสื้อสำเร็จรูปแบบฟรีไซส์ คือเป็นขนาดทั่วๆไป ใครก็ใส่ได้หากมีรูปร่างทั่วไป ใส่แล้วบางคนอาจรู้สึกว่ายาวไปนิด หรือสั้นไปหน่อย แต่ก็ยอมรับได้ เพราะว่าเป็นเสื้อสำเร็จรูป หากมีคนรูปร่างพิเศษมาซื้อก็ย่อมใส่ไม่ได้ และหากเราตัดเสื้อผ้าขนาดพิเศษให้แก่คนพิเศษนั้น เสื้อนั้นก็ใส่ได้เฉพาะบุคคลเท่านั้น ใช้กับคนอื่นไม่ได้อีก
หากเราขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปอยู่ ไม่ได้ทำทางด้านตัดเสื้อผ้าตามสั่ง ทางที่ดีก็ควรเลือกลูกค้ารูปร่างทั่วไปที่เหมาะกับเสื้อผ้าของเรามากกว่า
16/08/2011 * ETF เข้าใหม่ (GLD, 1DIV) และที่ออกไป (TFTSE)
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,077.02 จุด ลดลง 9.30 จุด ตลาดหุ้นไทยลงตามเพื่อนบ้าน ปริมาณซื้อขายประมาณ 27,800 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 402 ล้านบาท
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 23 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณซื้อโกโก้ (CC)
กองทุนอีทีเอฟ DBA ที่ลงทุนในสินค้าเกษตรเกิดสัญญาณซื้อ
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียส่วนใหญ่ปิดลบ ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ตลาดยุโรปส่วนใหญ่ปิดลบ ตลาดฝั่งอเมริกาก็ปิดลบเป็นส่วนใหญ่ทั้งอเมริกาหนือ กลาง และใต้ แต่ลบไม่มาก วันนี้ทั้งสามกลุ่มไม่มีตลาดใดที่ปรับตัวลงแรง ส่วนตลาดที่ขึ้นแรงได้แก่ตลาดหุ้นเกาหลีใต้
วันนี้ลุงแมวน้ำตั้งข้อสังเกตว่าตลาดหุ้นไทยติดลบประมาณ -9 จุดแต่ต่างชาติขายไม่มากนัก อีกทั้งต่างชาติเปิดสัญญาซื้อ (open long position) ฟิวเจอร์ส S50 ไว้มากแทนที่จะเป็นเปิดสัญญาขายมาก
ระยะนี้ตลาดหุ้นมีกองทุนรวมอีทีเอฟเข้าใหม่ อีทีเอฟ (ETF, exchange traded fund) หมายถึงกองทุนรวมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สามารถซื้อขายได้เสมือนเป็นหุ้นตัวหนึ่ง โดยแต่เดิมตลาด SET มีอีทีเอฟอยู่แล้ว 4 ตัว คือ TDEX, ENGY, CHINA และ TFTSE แต่ต่อมาอีทีเอฟ TFTSE ซึ่งอิงดัชนี FTSE Large Cap ไม่มีสภาพคล่อง จึงออกจากตลาดไปเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2554 ซึ่งน่าเสียดายอยู่เหมือนกันเนื่องจากดัชนี SET50 นั้นถูกถ่วงน้ำหนักด้วยหุ้นกลุ่มพลังงานอยู่มาก แต่ดัชนี FTSE large cap นั้นให้น้ำหนักกับกลุ่มอื่นๆเช่นกลุ่มธนาคารด้วย ดังนั้นเมื่อมองในแง่การกระจายความเสี่ยงในการลงทุนแล้วอีทีเอฟ TFTSE ถือว่าน่าสนใจกว่า TDEX แต่นักลงทุนไม่นิยมกันจึงขาดสภาพคล่องและต้องออกจากตลาดไป
ในเดือนนี้มีอีทีเอฟเข้าใหม่ 2 ตัว นั่นคือ GLD และ 1DIV โดย GLD (KTAM GOLD ETF TRACKER) เข้าเทรดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา เป็นอีทีเอฟของค่าย บลจ กรุงไทย ลงทุนในกองทุนอีทีเอฟทองคำ SPDR Gold Trust ซึ่งจดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ (อีทีเอฟ SPDR gold trust นี้จดทะเบียนเทรดอยู่ในตลาดต่างๆหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สิงคโปร์ สำหรับ GLD นี้เลือกลงทุนกับอีทีเอฟ SPDR gold trust ที่สิงคโปร์)
อีทีเอฟอีกตัวหนึ่งคือ 1DIV (SET High Dividend ETF) ของ บลจ วรรณ ซึ่งเป็นอีทีเอฟที่อิงดัชนี ดัชนี SET High Dividend 30 Index หรือ SETHD ของตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีนี้ประกอบด้วยหุ้นที่จัดว่ามีพื้นฐานดี จ่ายปันผลดี และมีสภาพคล่อง 30 ตัว 1DIV นี้เข้าเทรดวันนี้เป็นวันแรก ดังนั้นปัจจุบันตลาด SET จึงมีอีทีเอฟอยู่ 5 ตัว
อีทีเอฟใหม่ทั้งสองตัวนี้รอสะสมข้อมูลไปสักระยะหนึ่งก่อนแล้วลุงแมวน้ำจะนำเข้ามาใส่ในรายงานต่อไป
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 23 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณซื้อโกโก้ (CC)
กองทุนอีทีเอฟ DBA ที่ลงทุนในสินค้าเกษตรเกิดสัญญาณซื้อ
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียส่วนใหญ่ปิดลบ ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ตลาดยุโรปส่วนใหญ่ปิดลบ ตลาดฝั่งอเมริกาก็ปิดลบเป็นส่วนใหญ่ทั้งอเมริกาหนือ กลาง และใต้ แต่ลบไม่มาก วันนี้ทั้งสามกลุ่มไม่มีตลาดใดที่ปรับตัวลงแรง ส่วนตลาดที่ขึ้นแรงได้แก่ตลาดหุ้นเกาหลีใต้
วันนี้ลุงแมวน้ำตั้งข้อสังเกตว่าตลาดหุ้นไทยติดลบประมาณ -9 จุดแต่ต่างชาติขายไม่มากนัก อีกทั้งต่างชาติเปิดสัญญาซื้อ (open long position) ฟิวเจอร์ส S50 ไว้มากแทนที่จะเป็นเปิดสัญญาขายมาก
ระยะนี้ตลาดหุ้นมีกองทุนรวมอีทีเอฟเข้าใหม่ อีทีเอฟ (ETF, exchange traded fund) หมายถึงกองทุนรวมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สามารถซื้อขายได้เสมือนเป็นหุ้นตัวหนึ่ง โดยแต่เดิมตลาด SET มีอีทีเอฟอยู่แล้ว 4 ตัว คือ TDEX, ENGY, CHINA และ TFTSE แต่ต่อมาอีทีเอฟ TFTSE ซึ่งอิงดัชนี FTSE Large Cap ไม่มีสภาพคล่อง จึงออกจากตลาดไปเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2554 ซึ่งน่าเสียดายอยู่เหมือนกันเนื่องจากดัชนี SET50 นั้นถูกถ่วงน้ำหนักด้วยหุ้นกลุ่มพลังงานอยู่มาก แต่ดัชนี FTSE large cap นั้นให้น้ำหนักกับกลุ่มอื่นๆเช่นกลุ่มธนาคารด้วย ดังนั้นเมื่อมองในแง่การกระจายความเสี่ยงในการลงทุนแล้วอีทีเอฟ TFTSE ถือว่าน่าสนใจกว่า TDEX แต่นักลงทุนไม่นิยมกันจึงขาดสภาพคล่องและต้องออกจากตลาดไป
ในเดือนนี้มีอีทีเอฟเข้าใหม่ 2 ตัว นั่นคือ GLD และ 1DIV โดย GLD (KTAM GOLD ETF TRACKER) เข้าเทรดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา เป็นอีทีเอฟของค่าย บลจ กรุงไทย ลงทุนในกองทุนอีทีเอฟทองคำ SPDR Gold Trust ซึ่งจดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ (อีทีเอฟ SPDR gold trust นี้จดทะเบียนเทรดอยู่ในตลาดต่างๆหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สิงคโปร์ สำหรับ GLD นี้เลือกลงทุนกับอีทีเอฟ SPDR gold trust ที่สิงคโปร์)
อีทีเอฟอีกตัวหนึ่งคือ 1DIV (SET High Dividend ETF) ของ บลจ วรรณ ซึ่งเป็นอีทีเอฟที่อิงดัชนี ดัชนี SET High Dividend 30 Index หรือ SETHD ของตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีนี้ประกอบด้วยหุ้นที่จัดว่ามีพื้นฐานดี จ่ายปันผลดี และมีสภาพคล่อง 30 ตัว 1DIV นี้เข้าเทรดวันนี้เป็นวันแรก ดังนั้นปัจจุบันตลาด SET จึงมีอีทีเอฟอยู่ 5 ตัว
อีทีเอฟใหม่ทั้งสองตัวนี้รอสะสมข้อมูลไปสักระยะหนึ่งก่อนแล้วลุงแมวน้ำจะนำเข้ามาใส่ในรายงานต่อไป
Thursday, August 18, 2011
15/08/2011
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,086.32 จุด เพิ่มขึ้น 24.25 จุด ตลาดหุ้นไทยรีบาวด์แรงกว่าเพื่อนบ้าน
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณซื้อ RATCH, TPIPL ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 23 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณซื้อกาแฟ(KC) และเงินยูโร (EC)
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียปิดบวก ฮ่องกง รัสเซีย รีบาวด์แรง ส่วนตลาดยุโรปและอเมริกาก็ปิดเขียว ทางฝั่งตะวันตกมีรีบาวด์บ้างหลังจากที่ตลาดหุ้นร่วงแรงในสัปดาห์ที่แล้ว
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณซื้อ RATCH, TPIPL ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 23 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณซื้อกาแฟ(KC) และเงินยูโร (EC)
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียปิดบวก ฮ่องกง รัสเซีย รีบาวด์แรง ส่วนตลาดยุโรปและอเมริกาก็ปิดเขียว ทางฝั่งตะวันตกมีรีบาวด์บ้างหลังจากที่ตลาดหุ้นร่วงแรงในสัปดาห์ที่แล้ว
11/08/2011 - 12/08/2011
12/08/2011
วันนี้ตลาด SET, AFET, TFEX หยุดทำการ ข้อมูลที่รายงานในวันนี้บางส่วนจึงเป็นของวันที่ 16
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียปิดบวกและลบคละกัน ส่วนตลาดยุโรปและอเมริกาส่วนใหญ่ปิดบวก
11/08/2011
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,062.07 จุด เพิ่มขึ้น 1.86 จุด
หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 21 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณขาย BAY
ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดย่านเอเชียปิดบวกและลบคละกัน ส่วนตลาดยุโรปและอเมริกาส่วนใหญ่ปิดบวกและบวกค่อนข้างแรงด้วย ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวกไป 3.95% ส่วนเยอรมนีปิดบวก 3.28%
Subscribe to:
Posts (Atom)