Sunday, May 20, 2012

เช้าวันหยุดกับลุงแมวน้ำ ถั่วงอกขี้เกียจ ถั่วงอกเพาะง่ายที่สุดในโลก


ช่วงนี้ข้าวของอะไรต่ออะไรก็แพงไปหมด โดยเฉพาะราคาอาหาร ลุงแมวน้ำจเอมากับตัวเอง ราคาแพงได้อย่างไม่น่าเชื่อ แผงขายอาหารธรรมดาที่ขายในศูนย์ประชุมแห่งหนึ่ง คือเป็นแผงขายอาหารแบบชั่วคราวขายเฉพาะในงานนั้นเท่านั้น ไม่ใช่แผงถาวร ข้าวหมูแดงจานโฟมเล็กๆจานหนึ่ง ราคา 65 บาท ก๋วยเตี๋ยวชามโฟม คงนึกออกว่าชามก๋วยเตี๋ยวแบบโฟมนั้นเล็กแค่ไหน ชามโฟมนั้นแหละ ราคา 50 บาท น้ำหวาน กาแฟ แก้วละ 25-30 บาท ส้มตำใส่จานโฟมเล็กๆ 40 บาท นี่ส้มตำไทยนะ หากส้มตำปูคิด 45 บาท ลุงแมวน้ำเห็นราคาอาหารที่พุ่งพรวดพราดแล้วก็เหนื่อยใจเหมือนกัน ยิ่งช่วงนี้เปิดเทอม เป็นช่วงใช้จ่ายของครอบครัวที่มีเด็กในวัยเรียนเลยทีเดียว โรงรับจำนำจึงต้องทำงานกันหนักมาก

เดี๋ยวนี้ลุงแมวน้ำไปไหนจะพกกล่องอาหารเที่ยงอย่างที่ฝรั่งเรียกว่า lunch box ติดตัวไป โดยซ่อนเอาไว้ในหูกระต่าย เวลาพักก็เอาออกมากิน อาหารของลุงแมวน้ำก็คือวาฟเฟิล มัฟฟิน หรือขนมปังทำเองของลุงแมวน้ำนั่นแหละ ลุงแมวน้ำคิดสูตรให้มีคุณค่าทางโภชนาการ สามารถกินเป็นมื้ออาหารได้ ไม่ใช่ของกินเล่น แถมแคลอรี่ก็ไม่สูง ไขมันต่ำ น้ำตาลต่ำอีกด้วย มื้อหนึ่งประหยัดไปได้หลายสิบบาทเลยทีเดียว อีกทั้งมีคุณภาพดีอีกด้วย แต่พูดไปแล้วก็อาจถูกต่อว่าได้ว่าหากทำแบบนี้กันมากๆ พ่อค้าแม่ขายคงแย่เพราะขายของไม่ได้ จีดีพีอาจหดตัวได้ ว่าไปโน่น ก็คงไม่ถึงขนาดนั้นหรอกมั้ง คนเราก็คิดกันได้หลายแบบ ผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบและกำลังซื้อยังดีอยู่ก็คงมีอยู่ไม่น้อย

แต่หากใครที่ต้องการประหยัด เราลองมาทำอะไรกินเองกันดูบ้างดีกว่า วันนี้ลุงแมวน้ำจะชวนทำเกษตรในครัวกัน นั่นคือ การเพาะถั่วงอก

ปัจจุบันถั่วงอกราคากิโลกรัมละ 14-15 บาทได้มั้ง ปีที่แล้ว 10 บาทเอง อันที่จริงการเพาะถั่วงอกกินเองคงไม่ได้ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของเราเท่าไรนัก แต่ลุงแมวน้ำเห็นว่าถั่วงอกเพาะได้ง่าย ความสำคัญของการเพาะถั่วงอกไม่ใช่อยู่ที่การประหยัด แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ในการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้นต่างหาก หากเราเพาะถั่วงอกได้ อีกหน่อยเราก็ทำนั่น ทำโน่ ทำนี่ ได้เพิ่มมากขึ้น เราก็จะพัฒนาตนเอง สามารถประหยัดและพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นเรื่อยๆ

ที่ลุงแมวน้ำใช้หัวเรื่องว่าถั่วงอกขี้เกียจนั้นไม่ใช่ถั่วงอกพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด ก็ถั่วงอกธรรมดานี่แหละ แต่ลุงแมวน้ำใช้อุปกรณ์และวิธีการง่ายๆ ตามประสาแมวน้ำเกียจคร้าน ก็เลยตั้งชื่อเรื่องแบบนี้

ถั่วงอกที่ขายกันทั่วไปนั้นปกติทำมาจากถั่วเขียว แต่ที่จริงแล้วถั่วชนิดอื่นก็เพาะได้ แต่เรามาเริ่มที่ถั่วเขียวกันก่อนเนื่องจากถั่วเขียวมีอัตราการงอกสูง เพาะง่าย อีกทั้งยังเป็นถั่วงอกที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดอีกด้วย

ถั่วงอกนี้เป็นแนวคิดเดียวกับพวกข้าวกล้องงอก ข้าวฮาง คือเป็นการเพาะเมล็ดพืชให้งอกแล้วเอาเมล็ดงอกนั้นมาบริโภค สำหรับพืชพวกข้าวนั้นเมล็ดงอกจะมีสารกาบา (Gaba) หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่ากรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก (gamma-aminobutyric acid) อันเป็นสารที่มีความสำคัญต่อร่างกายอยู่ในปริมาณค่อนข้างสูง ส่วนเมล็ดถั่วที่กำลังงอกนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับเมล็ดถั่วที่ยังไม่งอก รวมทั้งไม่ได้มีสารกาบาเหมือนกับในข้าวงอก แต่จะได้ในด้านรสชาติหรือความอร่อยกรอบกรุบมากกว่า

เอาละ เรามาเพาะถั่วงอกขี้เกียจกินเล่นกันดีกว่า ดูรูปและทำตามไปด้วยกันเลย

อ้อ คราวนี้ลุงแมวน้ำใส่พากษ์ภาษาฝรั่งลงไปด้วย  ขอโกอินเตอร์เสียหน่อย เรื่องของเรื่องมีคือฝรั่งมาอ่านเรื่องวันหยุดของลุงแมวน้ำน่ะ ไม่ใช่ลุงแมวน้ำดัดจริต ลุงแมวน้ำรักการเรียนรู้ พยายามฝึกฝนภาษาต่างๆเอาไว้คุยกับเด็กๆที่มาชมการแสดงของลุง เผื่อลุงจะได้รางวัลจากเด็กๆมากขึ้นไง ^_^ ก็เลยพอเป็นภาษาอังกฤษกับเขาบ้าง




อุปกรณ์สำคัญที่ต้องมีก็คือถังสองใบ ลุงแมวน้ำใช้ถังขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้วและเลือกซื้อถังแบบที่มีฝาปิด ใบหนึ่งเจาะรูที่รอบๆถังและที่ก้นถังเพื่อระบายน้ำ ส่วนอีกใบไม่ต้องเจาะรู การเจาะรูก็ใช้สว่านไฟฟ้าเจาะ ขั้นนี้อาจยุ่งนิดหน่อยตรงที่ต้องใช้สว่านไฟฟ้าด้วย และที่เห็นถังสองใบขนาดไม่เท่ากันเป็นเพราะตอนที่ลุงแมวน้ำซื้อมาตั้งใจซื้อคนละขนาดกัน เพื่อเอาไว้ใช้ทำอย่างอื่นด้วย แต่ในการเพาะถั่วงอกใช้ขนาดเท่ากันก็ได้

ถังใบที่ไม่มีรู (ถังสีเขียวในภาพ) เอาไว้แช่เมล็ดถั่ว ส่วนถังใบที่มีรู (สีชมพูในภาพ) เอาไว้เพาะถั่วงอก

Bean sprouts are tasty. They can go well with other salad vegetables and are used in various kind of asian food including in some western food ie. soup. In growing bean sprout at home, 2 buckets with lids are needed. One bucket is normal (the green one in the picture), one with small holes on it to let the water out (the red one).




ขั้นต่อมาก็ต้องมีวัตถุดิบ ซึ่งก็คือเมล็ดถั่วเขียว ตามปกติถั่วเขียวที่ใช้ทำถั่วงอกนิยมใช้พันธุ์ถั่วเขียวผิวดำ เพราะว่าให้ถั่วงอกที่ขาวสวยกว่า ส่วนที่นิยมรองลงมาเป็นถั่วเขียวผิวมัน นำไปเพาะแล้วถั่วงอกที่ได้มักมีสีเหลืองอ่อนๆ ในที่นี้ลุงแมวน้ำซื้อถั่วเขียวสำเร็จรูปที่ขายเป็นห่อมาจากซูเปอร์มาร์เก็ต ห่อหนึ่งหนักครึ่งกิโลกรัม (500 กรัม) ราคาสามสิบกว่าบาท หากซื้อแบบที่ชั่งขายในตลาดสดจะถูกกว่านี้ ในการเพาะกับถังเพาะใบนี้ให้ใช้ถั่วเขียวครั้งละ 150 กรัมหรือหนึ่งในสามของถุงก็พอ

ตาชั่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ หากไม่มีก็กะประมาณอา ไม่ยากอะไร 

Here we are growing mung bean sprouts, so mung beans 150 g are used.




ขั้นต่อมาก็เป็นการแช่ถั่วในน้ำอุ่นเสียก่อน หลักการก็คือแช่เมล็ดถั่วในน้ำที่มีอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ข้อนี้จะถือเป็นเคล็ดลับก็ได้ เพราะการแช่ในน้ำอุ่นเป็นการกระตุ้นให้ถั่วตื่นจากสภาพหลับใหล จะได้งอกเร็ว

สำหรับน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียสนั้นไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรให้ยุ่งยากเหมือนในภาพหรอก ก็แค่เอาน้ำเดือดหึ่งถ้วยผสมกับน้ำธรรมดาหนึ่งถ้วย แค่นี้ก็ได้แล้ว แช่ถั่วให้ท่วมสูงๆเลย แล้วทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง ช่วงหกชั่วโมงนี้น้ำจะค่อยๆเย็นตัวลงเรื่อยๆซึ่งก็ปล่อยให้เย็นไป

It's a tip to soak mung beans in 50 degree celcius water and leave them in water for 6 hours. This step is to activate mung beans from dormant stage.




เมื่อแช่เมล็ดถั่วในถังแช่ครบ 6 ชั่วโมงแล้ว จะเห็นว่าเมล็ดถั่วบวม อึ๋มเชียว เพราะถั่วดูดน้ำเข้าไป ถั่วในขั้นนี้พร้อมจะงอกแล้วล่ะ เราก็ย้ายเมล็ดถั่วจากถังแช่มาใส่ไว้ในถังเพาะ รดน้ำเสียหน่อย ปล่อยให้น้ำระบายออกจากรูตามสบาย แล้วปิดฝาเอาไว้ (หมายเหตุ ลุงแมวน้ำซื้อถังที่ไม่มีฝามาใช้ ก็เลยต้องหากพลาสติกมาคลุม แต่ใครที่คิดจะเพาะควรหาถังที่มีฝาปิดมาใช้จะสะดวกกว่า) การเพาะถั่วงอกต้องเพาะในที่มืด ถั่วจึงจะงอกเร็ว นี่เป็นอิทธิพลของระบบฮอร์โมนในเมล็ดถั่ว จึงต้องปิดฝาหรือหาอะไรคลุมเอาไว้ให้ภายในมืด

หลังจากเอาถั่วลงถังเพาะแล้วให้เริ่มจับเวลาการเพาะ และรดน้ำทุก 3 ชั่วโมง น้ำที่ใช้ก็ใช้น้ำประปานี่แหละ แต่ก็มีข้อควรระวังนิดนึง นั่นคือ น้ำประปาของแต่ละบ้านอาจมีปริมาณคลอรีนไม่เท่ากัน หากคลอรีนแรงไปก็เพาะไม่ค่อยดี หากแก้คือให้พักน้ำไว้ในถังหรือในโอ่งสักสามวันหรือนานกว่านั้นเพื่อให้คลอรีนระเหยแล้วจึงค่อยนำมาใช้เพาะถั่วงอก

After soking mung beans for 6 hours, transfer them to the red bucket (the one with holes). Rinse them with water for 10 to 15 secs. and cover the bucket with lid to keep mung beans grow in the darkness. Keep rinsing them every 3 hours.




หลังจากเพาะไปได้ 12 ชั่วโมง จะเห็นรากถั่วค่อยๆยาวออกมาแล้ว ขณะที่ถั่วงอก เมล็ดถั่วจะมีการเผาผลาญสารอาหารหรือเกิดเมตาโบลิซึมขึ้น ดังนั้นในถังเพาะจะมีความร้อนสะสม การรดน้ำนอกจากช่วยให้ความชุ่มชื้นแล้วยังมีวัตถุประสงค์สำคัญคือช่วยลดอุณหภูมิของถั่วงอกด้วย ดังนั้นต้องหมั่นรดน้ำ อย่าลืมๆ

Mung been in the rinsing bucket at hour 12.



นี่เป็นถั่วงอกที่เพาะไว้ 24 ชั่วโมง จะเห็นว่าระดับของถั่วงอกในถังสูงขึ้นกว่าในภาพก่อน เพราะถั่วงอกโตขึ้นนั่นเอง

ลุงแมวน้ำเพาะประมาณ 24 ชั่วโมงก็พอแล้ว ที่จริงระยะเวลาเพาะไม่ใช่เรื่องตายตัว ใครจะเพาะนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับความพอใจ จะเร็วกว่านี้ก็ได้ ถั่วงอกจะมีขนาดเล็กหน่อย หากเพาะนานกว่านี้ต้นถั่วและรากถั่วจะยาวขึ้น รวมทั้่งรสชาติที่ได้จะแตกต่างกันด้วย

ฤดูกาลก็มีผล หากเพาะในช่วงที่อากาศเย็น ถั่วจะงอกช้า ก็ต้องใช้เวลานานกว่านี้

Mung beans in the rinsing bucket at hour 24. Here I grow them for 24 hours. The time needed for growing mung beans varies on how long the sprout you like. Also,  in wintertime they need more time to grow.




ลองเอาถั่วงอกที่เพาะได้มาชั่วน้ำหนักดู เมล็ดถั่ว 150 กรัมเพาะถั่วงอกได้ 550 กรัม คิดง่ายๆว่าได้ครึ่งกิโลกรัมก็แล้วกัน

การหยุดการงอกของถั่วงอกทำได้โดยจับถั่วงอกแช่ตู้เย็น ไม่ต้องล้างน้ำซ้ำหรอก เอาออกจากถังเพาะก็แช่เย็นได้เลย เก็บไว้กินได้หลายวันอยู่เหมือนกัน

150 grams of mung beans can make 550 grams of mung bean sprouts. Bean sprouts can keep in refrig. for days.




ถั่วงอกใหม่สด เอามาปรุงอาหารได้หลายอย่าง ลุงแมวน้ำเอามาทำซุปต้มยำเจ ใช้ทั้งเปลือกเลย เปลือกถั่วมีเส้นใยอาหารสูง ไม่ต้องทิ้งหรอก เสียดาย

Fresh bean sprouts are tasty. Here in the picture is vegetarian tomyum *yummy yummy* ^_^. Bean shells are a good source of fiber so don't throw them away.




แถมท้าย นอกจากถั่วเขียวแล้วเรายังพาะถั่วได้หลากหลายชนิด ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วลิสง ฯลฯ เพาะได้ทั้งนั้น แต่อย่าเพาะคละชนิดกัน เพราะถั่วพวกนี้การงอกไม่เท่ากัน หากเพาะด้วยกันแล้วจะกำหนดเวลาเก็บไม่ถูก เพราะบางชนิดจะสั้น บางชนิดจะยาว ภาพนี้ลุงแมวน้ำถ่ายรวมกันให้ดูเท่านั้นเอง

Not only mung beans but also other beans peanut can grow sprouts. Here in the picture are red bean sprouts, black bean sprouts and mung bean sprouts.

จากประสบการณ์ของลุงแมวน้ำ ถั่วแดงกับถั่วดำก็เพาะไม่ยาก ส่วนถั่วเหลืองเพาะยาก เปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ ถั่วลันเตากับถั่วลิสงนั้นยังไม่เคยเพาะคร้าบ

เอาละ มาดูคุณค่าทางโภชนาการกันบ้าง ถั่วเขียวงอกให้พลังงานต่ำ องค์ประกอบส่วนใหญ่หนักไปทางแป้ง คิดง่ายๆ ถั่วงอกลุงแมวน้ำ 100 กรัม ให้พลังงาน 100 กิโลแคลอรี่ หรือเท่ากับพลังงานที่ใช้ในการวิ่ง 100 เมตร ที่ต้องบอกว่าถั่วงอกลุงแมวน้ำเพราะว่าหมายถึงถั่วงอกที่ได้มาตามรูปนั่นเอง เนื่องจากถั่วงอกที่แต่ละคนเพาะ ตอนสุดท้ายที่เอามาชั่งนั้นปริมาณน้ำที่อยู่ในถั่วงอกมักไม่เท่ากัน ทำให้คิดค่าพลังงานได้แตกต่างกัน ของลุงแมวน้ำนั้นตอนที่เอามาชั่วสภาพถั่วงอกค่อนข้างแห้ง เพราะลุงแมวน้ำต้องการแช่ตู้เย็นเก็บไว้ หากอิ่มน้ำมากจะเสียเร็ว เก็บไม่ได้นาน

ถั่วดำงอกกับถั่วแดงงอกให้พลังงานพอๆกับถั่วเขียวงอก เพราะว่าองค์ประกอบหนักไปทางแป้งคล้ายคลึงกัน ส่วนถั่วเหลืองกับถั่วลิสงงอกมีแป้งน้อย ส่วนใหญ่เป็นไขมันกับโปรตีน ดังนั้นคิดง่ายๆว่าให้พลังงานเป็น 3 เท่าของถั่วเขียวงอก ถั่วลิสงงอก ถั่วเหลืองงอก กินลงไป 100 กรัมต้องไปวิ่ง 300 เมตรจึงจะใช้พลังงานหมด

The nutrition facts of bean sprouts are similar to their dry beans. Major part of Mung beans, red beans, black beans and theur sprouts are carbohydrate. Soybean, peanut and their sprouts get more protein and oil and less in carbohydrate. Approximately, 100 grams of mung bean spouts produce 100 Kcal of energy or equal to the energy of a 100 meter run. 100 grams of soybean and peanut sprouts produce approximately 300 kcal of energy.

No comments: