สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณขาย BGH, EGCO, GLOW, SCB ขณะนี้ถือหุ้นอยู่รวมทั้งหมด 20 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ยางพารา (RSS) รีบาวด์จนติดราคาเพดาน
ด้านดัชนีตลาดต่างประเทศ วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย แต่ตลาดหุ้นทั่วโลกรีบาวด์กันเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่รีบาวด์ดล็กน้อยไปจนระดับ 2%
ช่วงนี้ตลาดแกว่งแรง มีความเป็นไปได้ที่ดัชนี SET และดัชนีตลาดหุ้นอื่นๆจะจบคลื่นขาขึ้นไปแปล้วและเริ่มต้นคลื่น A แต่ตอนนี้ฝุ่นยังตลบอยู่ คงยังบอกอะไรชัดเจนไม่ได้ ควรอยู่เฉยๆและรถอดูสัญญาณกลับทิศให้ชัดเจนเสียก่อน
กลยุทธ์การลงทุน LTF, RMF ในตลาดขาลง (4)
เมื่อวันก่อนเราคุยกันถึงเรื่องกลยุทธ์สับกองทุน LTF ในตลาดช่วงขาลง รวมทั้งนำเอาผลตอบแทนการลงทุนในช่วงเวลาต่างๆทั้งขาขึ้นและขาลงมาเปรียบเทียบกันดู ผลปรากฏว่ากลยุทธ์สับกองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีทีเดียว แต่ปัญหาที่น่าคิดก็คือ ผลการทดสอบได้แบบนี้แล้วในชีวิตจรืงเราสามารถทำได้แบบนี้หรือไม่
กลยุทธ์สับกองทุน LTF ทฤษฎีกับชีวิตจริง
ในชีวิตจริงการลงทุนใน LTF ด้วยกลยุทธ์แบบสับกองทุนแบบถือยาว นานๆจึงจะสับกองทุนสักครั้งหนึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก สาเหตุเพราะ
ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อใดตลาดเป็นขาขึ้น และเมื่อใดเป็นขาลง ในการทดสอบที่เราดูผลกันมาแล้ว ลุงแมวน้ำเป็นผู้กำหนดว่าตลาดเมื่อใดเป็นขาขึ้นและเมื่อใดเป็นขาลง แต่ในชีวิตจริงของผู้ลงทุนแต่ละใครจะเป็นผู้บอกว่าเมื่อใดเป็นตลาดขาลง (ควรสับกองทุนจากกองหุ้นไปสู่กองหุ้นผสมอนุพันธ์) และเมื่อใดเป็นขาขึ้น (ควรสับกองทุนกลับมาเป็นกองหุ้นอีกครั้งหนึ่ง) การสับกองทุนแบบที่ลุงแมวน้ำทำตัวอย่างให้ดูนั้นเป็นการสับกองทุนแบบนานๆครั้ง ไม่ได้สับกองทุนตามสัญญาณซื้อขาย ซึ่งเมื่อดูกราฟย้อนหลัง ทุกอย่างก็ดูง่ายและชัดเจนไปหมด แต่เมื่อใดที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบัน อะไรๆก็ดูจะฟันธงได้ยาก ผู้ที่จะสับกองทุนแบบนี้แล้วได้ผลตอบแทนที่ดีต้องเป็นผู้ที่ชำนาญเรื่องทฤษฎีคลื่นของอีเลียตอีกทั้งต้องนับคลื่นใหญ่เก่งเนื่องจากต้องมองคลื่นในภาพใหญ่ ไม่ใช่ในภาพย่อย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ืทุกคนจะทำได้ดี และถึงแม้แต่ละคนจะนับได้ จุดที่ตัดสินใจสับกองทุนก็จะมีต่างๆนานา ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนตามแนวคิดกลยุทธ์สับกองทุน LTF นี้ไม่สามารถได้ผลดีอย่างเช่นที่ดูกันในตัวอย่าง แต่จะได้หลากหลายต่างๆนานา รวมทั้งอาจถึงกับขาดทุนก็เป็นได้
กลยุทธ์สับกองทุนตามระบบ PnT 1.10
หากไม่ใช้การนับคลื่นใหญ่ นักลงทุนที่คุ้นเคยกับการเทรดในระบบ PnT 1.10 อาจเกิดความคิดขึ้นมาว่าถ้าเช่นนั้นทำไมไม่สับกองทุน LTF ตามจังหวะสัญญาณซื้อขายของระบบ PnT 1.10 ให้เหมือนกันการเทรดหุ้นไปเสียเลย ต้องการใช้สัญญาณซื้อขายเหมือนการเทรดหุ้น การสับกองทุนตามสัญญาณซื้อขายทำได้ยาก สาเหตุเพราะ
- กองทุน LTF ค่ายไทยพาณิชย์นั้นในการสับกองทุนมูลค่า NAV ที่ได้รับจะเหลื่อมกัน 3 วัน (T+3) หมายถึงเมื่อออกจากกองทุนจะได้ NAV ของวันนี้ ส่วนกองทุนที่เข้าไปนั้นจะได้ NAV ที่ T+3 ซึ่งหากเทรดตามสัญญาณ การเหลื่อมวันเช่นนี้จะกระทบต่อผลตอบแทนได้มาก ที่ควรได้กำไรก็อาจกลายเป็นขาดทุนไป
- หากคิดใช้คู่กองทุน LTF ของค่ายกสิกรไทย เมื่อดูจากเงื่อนไข T+0 คือสับกองทุนได้ NAV เป็นของวันเดียวกัน ดูไปก็น่าจะเหมาะดี แต่ในทางปฏิบัติก็ยังยาก เนื่องจากการสับกองทุน LTF แต่ละครั้งผู้ถือหน่วยลงทุนได้ไปทำธุรกรรมที่ธนาคารเอง จะทำผ่านตู้เอทีเอ็มหรือไซเบอร์แบงกิงไม่ได้ หากบางช่วงที่เป็นช่วงไร้ทิศทางอาจเกิดสัญญาณหลอกติดๆกัน ผู้ลงทุนอาจต้องเข้าออกธนาคารทุกสองสามวัน คงไม่ใช่เรื่องที่สะดวกนัก
กลยุทธ์สับกองทุน LTF พูดง่าย ทำยาก แล้วมีการลงทุนทางเลือกอื่นหรือไม่
จากที่คุยกันมาแล้ว พบว่ากลยุทธ์สับกองทุน LTF นั้นในทางทฤษฎีเป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยากเนื่องจากมีข้อจำกัดในหลายๆด้าน เพื่อนนักลงทุนหลายคนอาจคิดใหม่ไปเลยว่าถ้าอย่างนั้นไม่ลงทุนในกองทุน LTF เสียเลยได้ไหม หากลงทุนอย่างอื่นแล้วได้ผลตอบแทนมากพอก็เอากำไรนั้นมาจ่ายภาษีไปก็แล้วกัน หรือพูดง่ายๆว่าเเอาเงินก้อนที่คิดจะซื้อกองทุน LTF มาลงทุนวิธีอื่น ยอมจ่ายภาษีไปก็ได้ แล้วไปหาทางอย่างอื่นให้ได้ผลตอบแทนมากกว่า อย่างนี้จะง่ายกว่าไหม
ลุงแมวน้ำก็เคยคิดอยู่เหมือนกัน และลองทำข้อมูลเอาไว้แล้วด้วย เรามาดูกันก่อนว่าการลงทุนทางเลือกหากไม่ต้องการลงทุนในกองทุน LTF แต่ก็อยากประหยัดภาษีนั้นพอมีช่องทางทำอะไรได้บ้าง
- หากมองในแง่ถือยาว นานๆสับกองทุนเสียทีหนึ่ง (ในกรณีนักลงทุนบางคนที่นับคลื่นเก่ง สามารถทำได้) แทนที่เราจะลงทุนใน LTF กองหุ้นและกองหุ้นผสมฟิวเจอร์ส เราลงทุนอย่างอื่นได้หรือไม่ ที่ลุงแมวน้ำคิดเอาไว้ก็คือลงทุนใน TDEX (กองทุนอีทีเอฟของ SET50) เมื่อตลาดขาขึ้น และเมื่อตลาดเป็นขาลงก็เเอาเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ เนื่องจากกองทุนตราสารหนี้ล้วนๆไม่มีหุ้นอยู่นั้นเมื่อหุ้นตกก็ไม่กระทบอะไร
- หากต้องการใช้ระบบ PnT 1.10 เทรด TDEX อย่างเดียวไปเลย ซื้อขายตามสัญญาณ จะได้ผลตอบแทนดีกว่ากลยุทธ์สับคู่กองทุน LTF หรือไม่
ผลการเทรดกองทุน LTF แบบสับกองทุนด้วย PnT 1.10 และการลงทุนทางเลือกอื่นๆ
เรามาดูผลการลงทุนในแบบต่างๆกัน ลุงแมวน้ำทดลองทำข้อมูลเอาไว้แล้ว ทั้งหมดต่อไปนี้เป็นผลการลงทุนในช่วงเวลาเดิม นั่นคือ 26 ส.ค. 2551 ถึง 7 ก.ย. 2552 ดังนี้
หากเป็นกรณีถือยาว การลงทุนทางเลือกของลุงแมวน้ำคือ เมื่อตลาดเป็นขาขึ้นให้ถือ TDEX และเมื่อตลาดเป็นขาลงให้ถือกองทุนตราสารหนี้ ในที่นี้ลุงแมวน้ำเลือกกองทุนตราสารหนี้ T-Global Bond อันเป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาลทั่วโลก (Templeton Global Bond Fund) ลุงแมวน้ำเลือกแบบอินเตอร์หน่อย ผลการลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับการสับกองทุน LTF เป็นดังนี้
จะเห็นว่าให้ผลตอบแทนดีน่าสนใจทีเดียว (ผลตอบแทน 58.48%) ดีกว่าคู่กองทุน LTF อยู่พอสมควร ทั้งนี้ เนื่องจากกองทุนตราสารหนี้ได้รับผลกระทบน้อยมากยามหุ้นตก (ที่จริงควรไม่ได้รับผลกระทบ แต่ผลตอบแทนที่ขาดทุนเล็กน้อยในช่วงขาลงที่แสดงในตารางน่าจะเนื่องจากผลของอัตราแลกเปลี่ยน)
ทีนี้ลองมาดูผลการเทรดด้วยระบบ PnT 1.10 กัน ตารางข้างล่างนี้เป็นการเทรด TDEX ด้วยระบบ PnT 1.10 กับการเทรดคู่กองทุน LTF ค่ายกสิกรไทย KEQLTF และ KSDLTF ด้วยระบบ PnT 1.10 กล่าวคือ เมื่อเกิดสัญญาณซื้อก็ให้สับกองทุนจาก KSDLTF มาเป็น KEQLTF และเมื่อเกิดสัญญาณขายก็ให้สับกองทุนจาก KEQLTF มาเป็น KSDLTF
จะเห็นว่าการเทรด TDEX ตามสัญญาณระบบ PnT 1.10 ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว เทรดไป 11 ครั้ง (เกิดสัญญาณซื้อ 11 ครั้ง และเกิดสัญญาณขาย 11 ครั้ง) ให้ผลตอบแทน 17.95% ดีกว่าผลตอบแทนของการถือกองทุน LTF แบบถือยาวกองหุ้นอย่างเดียว (ไม่สลับกองทุน)
แต่ถ้าเทรดกองทุน LTF แบบสลับกองทุนด้วย PnT 1.10 ผลตอบแทนไม่ดีนัก เทียบได้พอๆกับการถือยาว LTF กองหุ้นอย่างเดียว (คือไม่สลับกองทุน) ดูไปแล้วการวิ่งเข้าวิ่งออกธนาคารเพื่อสับกองทุนจะได้ผลไม่คุ้มเหนื่อย
(ตอนต่อไปจะเป็นตอนสุดท้าย เป็นการสรุปผลการลงทุนในแบบต่างๆกับการประหยัดภาษี)
No comments:
Post a Comment