Tuesday, June 28, 2011

27/06/2011 * RSS, Tocom rubber

วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,010.32 จุด ลดลง 12.62 จุด วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยลงแรงกว่าเพื่อนบ้านเนื่องจากปัญหาท่อส่งก๊าซของ ปตท. รั่ว นักลงทุนตกใจขายหุ้น PTT ทำให้ราคา PTT ร่วงลง 10 บาทหรือประมาณ 3% มีผลกด SETI ทำให้ดัชนีตกลงไปประมาณ 1.2%

หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 5 ตัว

กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ฟิวเจอร์สของดัชนีนิกเกอิ (NK) เกิดสัญญาณซื้อ

ตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดฝั่งเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่ปิดแดง ตลาดยุโรปและอเมริกาส่วนใหญ่ปิดเขียว ตลาดที่ขึ้นแรงไม่มี ส่วนตลาดที่ลงแรงคืออียิปต์


วันนี้ลุงแมวน้ำอยากให้ลองสังเกตดูที่พอร์ตจำลองที่อยู่ในตารางด้านล่าง ลุงแมวน้ำไม่ได้พูดถึงพอร์ตจำลองมานานแล้ว แต่ก็สังเกตดูความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเนื่องจากต้องคอยทำรายการซื้อขายอยู่เสมอ ตารางในพอร์ตจำลองมีลักษณะดังนี้


คอลัมน์ซ้ายสุดเป็นชื่อของฟิวเจอร์ส วันที่เริ่มเทรด และจำนวนเงินวางหลักประกัน (initial margin, IM)

คอลัมน์กลางเป็นผลกำไรหรือขาดทุนจากการเทรดแบบใช้ระบบสัญญาณซื้อขายผสมกับการนับคลื่นช่วย (manual trade) ทำให้ไม่ต้องเทรดทุกครั้งที่เกิดสัญญาณซื้อขาย

คอลัมน์ขวาสุดเป็นผลการเทรดแบบอัตโนมัติ (autotrade) คือ เทรดทุกครั้งที่มีสัญญาณซื้อขาย เกิดสัญญาณซื้อก็เปิดสัญญาซื้อ (open long position) เกิดสัญญาณขายก็เปิดสัญญาขาย (open short position)

ลองดูพอร์ตจำลองที่อยู่ในตารางท้ายหน้านี้ จะเห็นว่าทองคำเมืองนอก (GC) นั้นยิ่งเทรดกำไรยิ่งหด เมื่อก่อนกำไรมากกว่านี้ ทั้งนี้ เนื่องจากในช่วงหลังนี้แม้ราคาทองคำจะขึ้นตลอดแต่ก็เกิดสัญญาณหลอก (false signal) หลายครั้ง ทำให้คืนกำไรไปมาก ส่วนทองไทย (GF) เกิดสัญญาณหลอกน้อยกว่า อัตรากำไรจึงดีกว่าบ้าง

ส่วนน้ำมันดิบ (CL) นั้นยิ่งเทรดก็ยิ่งขาดทุนหนัก รูปแบบการแกว่งตัวของราคาที่เป็นแบบกึ่งไร้ทิศทาง คือเป็น sideway up หรือ sideway down อยู่เสมอ ทำให้เกิดสัญญาณหลอกเป็นประจำ

จะเห็นว่าแม้มีระบบแต่ก็ไม่ได้ช่วยให้รอดจากการขาดทุนเสมอไป รูปแบบราคาที่ระบบแพ้ทางได้แก่รูปแบบราคาแบบไร้ทิศทาง (sideway) หรือแบบกึ่งไร้ทิศทาง พวกนี้ระบบมักแพ้ ดังนั้นการเทรดแบบลงทุนต้องดูกันในระยะยาว  บางปีอาจขาดทุนก็ต้องทำใจ แต่ปีใดที่รูปแบบราคามีแนวโน้ม ปีนั้นก็ได้กำไร ก็นำมาถัวเฉลี่ยกำไรขาดทุนกัน อย่าคาดหวังว่าเมื่อมีระบบแล้วจะได้กำไรแน่ๆทุกปี ที่จริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่การมีระบบจะช่วยให้เราอยู่รอดในระยะยาวได้ ซึ่งลุงแมวน้ำจะขยายความในรายละเอียดในโอกาสต่อไป


พูดเรื่องพอร์ตจำลองกันไปแล้ว คราวนี้มาดูเรื่องยางพารากันบ้าง ลุงแมวน้ำไม่ได้คุยเรื่องยางพารามาพักใหญ่แล้วเนื่องจากช่วงก่อนราคาแกว่งแบบโหดร้ายเกินไป จึงไม่แนะนำให้เทรด มาดูกันว่าขณะนี้ราคายางพาราอาจอยู่ในคลื่นใดได้บ้าง

หากดูจากกราฟราคายางพาราแผ่นดิบรมควันชั้น 3 หรือ RSS3  ของไทย จะเห็นว่าตรงยอดคลื่นที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 นั้นอาจเป็นคลื่น 3 หรือคลื่น 5 (สีน้ำตาล) ก็ได้ แล้วแต่การนับและการมองของแต่ละคน ดังนั้นหากพิจารณาจากกราฟ RSS3 ขณะนี้เราอาจอยู่ในคลื่น 4 ต่อเนื่องกับคลื่น 5 ก็ได้ หรืออาจอยู่ในคลื่น A ก็ได้ ดังภาพต่อไปนี้




แต่ถ้าหากเราดูกราฟของยางญี่ปุ่นหรือว่าราคายางพาราในตลาดโตคอม (Tocom rubber) โดยเฉพาะหากดูเป็นแบบกราฟรายสัปดาห์ (weekly chart) จะเห็นรูปทรงของคลื่นได้ค่อนข้างชัดว่ายอดคลื่นที่เห็นนั้นน่าจะเป็นยอดคลื่น 5 (สีน้ำตาล) มากกว่าคลื่น 3 เนื่องจากหลังคลื่นนั้นเป็นคลื่นย่อยขาลง 5 ลูกซึ่งเข้ากับลักษณะของคลื่น A มากกว่าคลื่น 4 ดังภาพต่อไปนี้



และหากขณะนี้ยางพาราอยู่ในคลื่น A จริง ราคายางพาราน่าจะลงไปได้มากกว่านี้ โดยกว่าจะจบคลื่น C (สีน้ำตาล) ราคาอาจลงไปได้ถึงระดับ 75-100 บาท/กก




No comments: