วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 968.49 จุด เพิ่มขึ้น 1.42 จุด
สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้ถือหุ้นอยู่รวมทั้งหมด 6 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส BBL เกิดสัญญาณซื้อ ทองคำนอก (GC) ก็เกิดสัญญาณซื้อ แต่ลุงแมวน้ำประเมินว่าราคาทองคำยังอยู่ในคลื่นขาลง ดังนั้นจึงปิดสัญญาขาย (cover short position) แต่ไม่ได้เปิดสัญญาซื้อ
วันนี้เงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (Australian dollar) เกิดสัญญาณขาย ดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (DJUBS) เกิดสัญญาณขาย
กลุ่มกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) ของไทย CHINA เกิดสัญญาณซื้อ ส่วนกองทุนรวมอีทีเอฟของต่างประเทศ GLD ซึ่งเป็นกองทุนทองคำ SPDR Gold Trust เกิดสัญญาณซื้อ ในขณะที่กองทุน DBO อันเป็นกองทุนน้ำมันเกิดสัญญาณขาย
ด้านตลาดต่างประเทศ วันนี้ดัชนีตลาดทั่วโลกมีทั้งที่ปิดเขียวและปิดแดงคละเคล้ากันไป ตลาดจีน กรีซ และเปรู ปรับลดค่อนข้างมาก
Thursday, February 17, 2011
Tuesday, February 15, 2011
14/02/2011 * มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (5)
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 967.07 จุด เพิ่มขึ้น 17.50 จุด
สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้ถือหุ้นอยู่รวมทั้งหมด 6 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้เงินยูโร (Eurocurrency, EC) เกิดสัญญาณขาย
ด้านตลาดต่างประเทศ วันนี้ดัชนีตลาดทั่วโลกส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้น คาดว่าน่าจะเป็นเนื่องมาจากสถานการณ์ความวุ่นวายในประเทศอียิปต์สงบลงแล้ว ดัชนีตลาดของโปแลนด์และเวียดนามเกิดสัญญาณขาย
มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (5)
บทความเรื่อง มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 นี้ลุงแมวน้ำเขียนตั้วแต่เดือนมกราคมแต่ก็ยังไม่จบเนื่องจากติดขัดเรื่องการปรับปรุงเว็บบล็อกและการเตรียมข้อมูลรายวันกับข้อมูลกราฟที่ต้องใช้เวลามาก ขณะนี้การปรับปรุงลงตัวมากขึ้นแล้ว ลุงแมวน้ำจึงพยายามนำเสนอบทความชุดนี้ต่อไป
ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านตั้งแต่ต้นสามารถย้อนไปดูได้ตามลิงก์ค่อไปนี้
มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (1)
มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (2)
มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (3)
มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (4)
ในตอนต้นลุงแมวน้ำได้เกริ่นเอาไว้ว่าการพิจารณาแนวโน้มการลงทุนในประเทศต่างๆโดยดูจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์นั้นไม่ได้สะท้อนภาพของเศรษฐกิจในระดับประชาชนของประเทศนั้นๆอย่างแท้จริงเพราะปัจจัยในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ คงเป็นการสะท้อนภาพเศรษฐกิจของกลุ่มทุนในประเทศนั้นๆเสียมากกว่า
ในตอนก่อนๆเราได้ดูกราฟของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาและยุโรปกันไปแล้ว พอสรุปได้ว่าดัชนีตลาดที่พัฒนาแล้วน่าจะอยู่ในคลื่น B ดังภาพต่อไปนี้
คราวนี้ลองมาดูตลาดในทวีปเอเชียกันดูบ้าง ตลาดในทวีปเอเชียส่วนใหญ่เป็นตลาดเกิดใหม่ ยกเว้นญี่ปุ่นกับฮ่องกงซึ่งจัดเป็นตลาดพัฒนาแล้ว ลองดูภาพต่อไปนี้กัน
ที่เห็นในภาพนี้เป็นกราดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของหลายประเทศในเอเชียโดยมีดัชนีดาวโจนส์ (DJI) ของสหรัฐอเมริกาเป็นดัชนีเปรียบเทียบ
เส้นสีแดง 2 เส้นคือเส้นสีแดงที่เป็นเส้นเต็มกับเส้นสีแดงที่เป็นเส้นประ แสดงดัชนีตลาดหั่งเส็ง (Hang Seng) ของฮ่องกง และดัชนีนิกเกอิ (Nikkei 225, N225) ของญี่ปุ่นตามลำดับ จะเห็นว่าดัชนีนิกเกอินั้นเป็นขาลงมาตั้งแต่ก่อนปี 1990 หรือว่าเป็นขาลงมานานกว่า 20 ปีมาแล้ว ส่วนดัชนีหั่งเส็งนั้นปัจจุบันเป็นคลื่น 5 หรือคลื่น B ก็ยังดูได้ยาก แต่ที่ลุงแมวน้ำอยากให้สังเกตก็คือดัชนีของสองตลาดนี้เป็นระดับหมื่นจุด และเป็นตลาดที่เกิดมาแล้วยาวนาน
เส้นสีชมพู (เส้นหนา) แสดงดัชนีเซนเซกซ์ (SENSEX) ของอินเดีย ดัชนีตลาดอินเดียนั้นก็เป็นระดับหมื่นจุดเช่นกัน ภายในช่วงเวลาเพียงสิบกว่าปีดัชนีตลาดอินเดียวิ่งจากระดับที่ต่ำกว่า 5,000 จุดไปถึงระดับ 20,000 กว่าจุด แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของกลุ่มทุนในอินเดีย ถือเป็นตลาดเกิดใหม่ที่พัฒนาไปได้เร็วมาก จึงไม่น่าแปลกใจว่าภายในระยะเวลาสิบกว่าปีมานี้ประเทศอินเดียมีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของชนในชาติอยู่สูง จากการนับคลื่น ดัชนีเซนเซกซ์ขณะนี้น่าจะอยู่ในคลื่น 5
ที่เหลืออีก 5 ดัชนีของ 5 ประเทศ ได้แก่ ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต (Shanghai composite index, SSECI) ของจีน (ดัชนีของตลาดจีนที่ลุงแมวน้ำใช้มี 2 ดัชนี คือ SSECI กับ CSI 300 ซึ่ง SSECI นั้นมีข้อมูลยาวนานกว่า) ดัชนีสเตรทส์ไทมส์ (Straits Times Index) ของสิงคโปร์ ดัชนีจาการ์ตาคอมโพสิต (Jakarta composite index, JKSE) ของอินโดนีเซีย ดัชนี RTSI (ย่อมาจาก Russian Trading System Index) ของรัสเซีย และ SETI ของไทย ที่จริงยังมีดัชนีในย่านนี้ที่น่าสนใจอีกหลายประเทศ เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย แต่วันนี้เราดูกันเพียงเท่านี้ก่อน
จะเห็นว่าดัชนีของอีก 5 ประเทศที่เหลือเป็นดัชนีที่อยู่ในระดับต่ำ คือ ในระดับหลักร้อยจุดหรือไม่กี่พันจุด ซึ่งตลาดในเอเชียเหล่านี้เองที่เป็นตลาดเกิดใหม่ที่เนื้อหอมสำหรับนักลงทุนชาติต่างๆเนื่องจากดัชนียังอยู่ในระดับต่ำ โอกาสที่จะพัฒนายังมีอีกมาก เราลองมาดูภาพขยายกัน
ในภาพนี้ลุงแมวน้ำตัดดัชนีนิกเกอิและหั่งเส็งออกไป เพื่อจะได้เห็นดัชนีตลาดเกิดใหม่ได้ชัดเจนขึ้น และเพิ่มดัชนี RTSI ของรัสเซียเข้ามา จะเห็นว่าเมื่อพิจารณาในระดับคลื่นใหญ่แล้ว ตลาดจีน รัสเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เกิดยอดคลื่นใหญ่ 3 ในปี 2008 แปลว่าขณะนี้ตลาดทั้งสี่น่าจะดำเนินอยู่ในคลื่น 5
ลักษณะคลื่นของตลาดจีน รัสเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียนั้นน่าลงทุนทีเดียว เนื่องจากเริ่มเห็นลูกคลื่นเป็นรูปร่างชัดแล้ว คลื่นในปัจจุบันเป็นคลื่นขาขึ้นที่น่าจะมีความชันพอสมควร ซึ่งหมายความว่าให้ผลตอบแทนดี
ส่วนตลาด SET ของไทยนั้น เมื่อมองในระดับคลื่นใหญ่เทียบกับชาติอื่นๆแล้วตลาดไทยยังอยู่ในระดับคลื่น 1 คลื่น 2 เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าโอกาสพัฒนายังมีอีกมาก ยอดคลื่นเดิมที่ระดับ 1,700 จุดที่นักลงทุนรายย่อยของไทยติดมาเป็นเวลานานหลายปีนั้นหากมองในภาพใหญ่เทียบกับชาติอื่นๆแล้วระดับ 1,700 จุดเป็นเพียงยอดเล็กๆเท่านั้น ยังมีเส้นทางให้เดินไปข้างหน้าได้อีกยาวไกล แต่ลุงแมวน้ำกล่าวเช่นนี้เมื่ออ่านแล้วอย่าเพิ่งรีบไปทุ่มซื้อหุ้นไทยกันเพราะปัจจัยที่เรายังไม่รู้ก็คือเรื่องของเวลา กว่าที่ดัชนี SETI จะพัฒนาไปเป็นระดับหลายพันจุดได้นั้นจะช้าหรือเร็วเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพของประเทศ หากศักยภาพน้อยก็พัฒนาไปได้ช้า นักลงทุนก็จะย้ายเงินลงทุนไปลงทุนในประเทศอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีและเร็วกว่าเสียก่อน นักลงทุนต่างชาติก็นับคลื่นเป็น ใครๆก็นับคลื่นเป็น เมื่อมองในภาพแล้วจะเห็นว่าดัชนี SETI นั้นยังนับคลื่นได้ไม่ชัด ยังเป็นรูปแบบชามอ่างด้วยซ้ำไป (ต่างจากตลาดจีน รัสเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียที่เห็นคลื่นได้ชัดแล้ว) ดังนั้นรอให้เข้าคลื่นใหญ่ 3 เสียก่อนจึงค่อยเข้ามาก็ได้ นี่คือปัจจัยด้านเวลา ดังนั้นแม้ว่าในภาพใหญ่ดัชนีของไทยยังมีโอกาสไปได้อีกไกลแต่ในการลงทุนของนักลงทุนก็ต้องพิจารณาภายในกรอบเวลาที่เหมาะสมกับตัวของเราด้วย
(โปรดติดตามอ่านต่อในวันถัดไป)
สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้ถือหุ้นอยู่รวมทั้งหมด 6 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้เงินยูโร (Eurocurrency, EC) เกิดสัญญาณขาย
ด้านตลาดต่างประเทศ วันนี้ดัชนีตลาดทั่วโลกส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้น คาดว่าน่าจะเป็นเนื่องมาจากสถานการณ์ความวุ่นวายในประเทศอียิปต์สงบลงแล้ว ดัชนีตลาดของโปแลนด์และเวียดนามเกิดสัญญาณขาย
มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (5)
บทความเรื่อง มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 นี้ลุงแมวน้ำเขียนตั้วแต่เดือนมกราคมแต่ก็ยังไม่จบเนื่องจากติดขัดเรื่องการปรับปรุงเว็บบล็อกและการเตรียมข้อมูลรายวันกับข้อมูลกราฟที่ต้องใช้เวลามาก ขณะนี้การปรับปรุงลงตัวมากขึ้นแล้ว ลุงแมวน้ำจึงพยายามนำเสนอบทความชุดนี้ต่อไป
ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านตั้งแต่ต้นสามารถย้อนไปดูได้ตามลิงก์ค่อไปนี้
มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (1)
มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (2)
มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (3)
มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (4)
ในตอนต้นลุงแมวน้ำได้เกริ่นเอาไว้ว่าการพิจารณาแนวโน้มการลงทุนในประเทศต่างๆโดยดูจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์นั้นไม่ได้สะท้อนภาพของเศรษฐกิจในระดับประชาชนของประเทศนั้นๆอย่างแท้จริงเพราะปัจจัยในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ คงเป็นการสะท้อนภาพเศรษฐกิจของกลุ่มทุนในประเทศนั้นๆเสียมากกว่า
ในตอนก่อนๆเราได้ดูกราฟของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาและยุโรปกันไปแล้ว พอสรุปได้ว่าดัชนีตลาดที่พัฒนาแล้วน่าจะอยู่ในคลื่น B ดังภาพต่อไปนี้
คราวนี้ลองมาดูตลาดในทวีปเอเชียกันดูบ้าง ตลาดในทวีปเอเชียส่วนใหญ่เป็นตลาดเกิดใหม่ ยกเว้นญี่ปุ่นกับฮ่องกงซึ่งจัดเป็นตลาดพัฒนาแล้ว ลองดูภาพต่อไปนี้กัน
ที่เห็นในภาพนี้เป็นกราดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของหลายประเทศในเอเชียโดยมีดัชนีดาวโจนส์ (DJI) ของสหรัฐอเมริกาเป็นดัชนีเปรียบเทียบ
เส้นสีแดง 2 เส้นคือเส้นสีแดงที่เป็นเส้นเต็มกับเส้นสีแดงที่เป็นเส้นประ แสดงดัชนีตลาดหั่งเส็ง (Hang Seng) ของฮ่องกง และดัชนีนิกเกอิ (Nikkei 225, N225) ของญี่ปุ่นตามลำดับ จะเห็นว่าดัชนีนิกเกอินั้นเป็นขาลงมาตั้งแต่ก่อนปี 1990 หรือว่าเป็นขาลงมานานกว่า 20 ปีมาแล้ว ส่วนดัชนีหั่งเส็งนั้นปัจจุบันเป็นคลื่น 5 หรือคลื่น B ก็ยังดูได้ยาก แต่ที่ลุงแมวน้ำอยากให้สังเกตก็คือดัชนีของสองตลาดนี้เป็นระดับหมื่นจุด และเป็นตลาดที่เกิดมาแล้วยาวนาน
เส้นสีชมพู (เส้นหนา) แสดงดัชนีเซนเซกซ์ (SENSEX) ของอินเดีย ดัชนีตลาดอินเดียนั้นก็เป็นระดับหมื่นจุดเช่นกัน ภายในช่วงเวลาเพียงสิบกว่าปีดัชนีตลาดอินเดียวิ่งจากระดับที่ต่ำกว่า 5,000 จุดไปถึงระดับ 20,000 กว่าจุด แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของกลุ่มทุนในอินเดีย ถือเป็นตลาดเกิดใหม่ที่พัฒนาไปได้เร็วมาก จึงไม่น่าแปลกใจว่าภายในระยะเวลาสิบกว่าปีมานี้ประเทศอินเดียมีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของชนในชาติอยู่สูง จากการนับคลื่น ดัชนีเซนเซกซ์ขณะนี้น่าจะอยู่ในคลื่น 5
ที่เหลืออีก 5 ดัชนีของ 5 ประเทศ ได้แก่ ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต (Shanghai composite index, SSECI) ของจีน (ดัชนีของตลาดจีนที่ลุงแมวน้ำใช้มี 2 ดัชนี คือ SSECI กับ CSI 300 ซึ่ง SSECI นั้นมีข้อมูลยาวนานกว่า) ดัชนีสเตรทส์ไทมส์ (Straits Times Index) ของสิงคโปร์ ดัชนีจาการ์ตาคอมโพสิต (Jakarta composite index, JKSE) ของอินโดนีเซีย ดัชนี RTSI (ย่อมาจาก Russian Trading System Index) ของรัสเซีย และ SETI ของไทย ที่จริงยังมีดัชนีในย่านนี้ที่น่าสนใจอีกหลายประเทศ เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย แต่วันนี้เราดูกันเพียงเท่านี้ก่อน
จะเห็นว่าดัชนีของอีก 5 ประเทศที่เหลือเป็นดัชนีที่อยู่ในระดับต่ำ คือ ในระดับหลักร้อยจุดหรือไม่กี่พันจุด ซึ่งตลาดในเอเชียเหล่านี้เองที่เป็นตลาดเกิดใหม่ที่เนื้อหอมสำหรับนักลงทุนชาติต่างๆเนื่องจากดัชนียังอยู่ในระดับต่ำ โอกาสที่จะพัฒนายังมีอีกมาก เราลองมาดูภาพขยายกัน
ในภาพนี้ลุงแมวน้ำตัดดัชนีนิกเกอิและหั่งเส็งออกไป เพื่อจะได้เห็นดัชนีตลาดเกิดใหม่ได้ชัดเจนขึ้น และเพิ่มดัชนี RTSI ของรัสเซียเข้ามา จะเห็นว่าเมื่อพิจารณาในระดับคลื่นใหญ่แล้ว ตลาดจีน รัสเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เกิดยอดคลื่นใหญ่ 3 ในปี 2008 แปลว่าขณะนี้ตลาดทั้งสี่น่าจะดำเนินอยู่ในคลื่น 5
ลักษณะคลื่นของตลาดจีน รัสเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียนั้นน่าลงทุนทีเดียว เนื่องจากเริ่มเห็นลูกคลื่นเป็นรูปร่างชัดแล้ว คลื่นในปัจจุบันเป็นคลื่นขาขึ้นที่น่าจะมีความชันพอสมควร ซึ่งหมายความว่าให้ผลตอบแทนดี
ส่วนตลาด SET ของไทยนั้น เมื่อมองในระดับคลื่นใหญ่เทียบกับชาติอื่นๆแล้วตลาดไทยยังอยู่ในระดับคลื่น 1 คลื่น 2 เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าโอกาสพัฒนายังมีอีกมาก ยอดคลื่นเดิมที่ระดับ 1,700 จุดที่นักลงทุนรายย่อยของไทยติดมาเป็นเวลานานหลายปีนั้นหากมองในภาพใหญ่เทียบกับชาติอื่นๆแล้วระดับ 1,700 จุดเป็นเพียงยอดเล็กๆเท่านั้น ยังมีเส้นทางให้เดินไปข้างหน้าได้อีกยาวไกล แต่ลุงแมวน้ำกล่าวเช่นนี้เมื่ออ่านแล้วอย่าเพิ่งรีบไปทุ่มซื้อหุ้นไทยกันเพราะปัจจัยที่เรายังไม่รู้ก็คือเรื่องของเวลา กว่าที่ดัชนี SETI จะพัฒนาไปเป็นระดับหลายพันจุดได้นั้นจะช้าหรือเร็วเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพของประเทศ หากศักยภาพน้อยก็พัฒนาไปได้ช้า นักลงทุนก็จะย้ายเงินลงทุนไปลงทุนในประเทศอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีและเร็วกว่าเสียก่อน นักลงทุนต่างชาติก็นับคลื่นเป็น ใครๆก็นับคลื่นเป็น เมื่อมองในภาพแล้วจะเห็นว่าดัชนี SETI นั้นยังนับคลื่นได้ไม่ชัด ยังเป็นรูปแบบชามอ่างด้วยซ้ำไป (ต่างจากตลาดจีน รัสเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียที่เห็นคลื่นได้ชัดแล้ว) ดังนั้นรอให้เข้าคลื่นใหญ่ 3 เสียก่อนจึงค่อยเข้ามาก็ได้ นี่คือปัจจัยด้านเวลา ดังนั้นแม้ว่าในภาพใหญ่ดัชนีของไทยยังมีโอกาสไปได้อีกไกลแต่ในการลงทุนของนักลงทุนก็ต้องพิจารณาภายในกรอบเวลาที่เหมาะสมกับตัวของเราด้วย
(โปรดติดตามอ่านต่อในวันถัดไป)
Subscribe to:
Posts (Atom)