วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1024.54 จุด เพิ่มขึ้น 1.35 จุด
สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณขาย IRPC ขณะนี้ถือหุ้นอยู่รวมทั้งหมด 22 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ข้าวไทย (WBR5) เกิดสัญญาณซื้อ ฟิวเจอร์สต่างประเทศ โกโก้ (CC) เกิดสัญญาณซื้อ ส่วนเงินตรา ดัชนีดอลลาร์ สรอ (US Dollar Index, DX) เกิดสัญญาณขายในขณะที่เงินยูโร (EC) เกิดสัญญาณซื้อ
ด้านตลาดต่างประเทศ กลุ่มยุโรปขึ้นยกแผง ดัชนียูโรเนกซ์ เบล-20 (EURONEXT BEL-20) ของเบลเยียมเกิดสัญญาณซื้อในขณะที่ดัชนีของกลุ่มอาเซียน (ASEAN.L) เกิดสัญญาณขาย ช่วงนี้ตลาดเอเชียหากลงก็ลงมาก หากขึ้นก็ขึ้นนิดหน่อย ดูอาการไม่ค่อยดี โดยเฉพาะตลาดหุ้นของไทยนั้นอาการคล้ายคลึงกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค และนักลงทุนต่างชาติขายอย่างต่อเนื่องแม้ดัชนีจะขึ้น เงินบาทก็อ่อนค่าลง ทำให้น่าคิดว่าต่างชาติอาจขายและย้ายเงินลงทุนบางส่วนออกจากตลาดหุ้นของไทยเพื่อไปลงทุนในประเทศอื่น
มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (4)
มาดูทางด้านสหรัฐอเมริกากับยุโรปกันต่อ ลองมาดูกันว่าปรtเทศต่างๆในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจค่อนข้างมั่นคงอย่างเช่นเยอรมนี หรือประเทศที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างเช่น เบลเยียม สเปน ไอร์แลนด์ กับกลุ่มนอร์ดิกหรือกลุ่มยุโรปเหนือ อันได้แก่ สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ เดนมาร์ก และไอซ์แลนด์ ต่างก็มีรูปแบบของคลื่นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ น่าจะผ่านพ้นคลื่น 5 ไปแล้วและกำลังอยู่ในคลื่น B
ทีนี้ลองมาดูภาพที่ขยับเข้าไปดูให้ใกล้ขึ้นโดยดูตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา ก็จะเห็นรายละเอียดของกราฟมากขึ้น จากสถานการณ์ปัจจุบันยังบ่งชี้ว่าประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปน่าจะอยู่ในคลื่น B โดยจะเห็นว่ายอดคลื่น 5 เกิดในปี 2007-2008 ประเทศไอร์แลนด์เติบโตค่อนข้างรวดเร็วกว่าประเทศอื่นๆ แต่ไปพลาดที่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงของสหรัฐอเมริกาเอาไว้มาก เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์จึงมีปัญหาอย่างหนัก และเป็นประเทศที่ฟื้นตัวในคลื่น B ได้ช้าที่สุด ลองดูจากกราฟเปรียบเทียบกันจะเห็นได้ชัดว่าในช่วงคลื่น B นั้นใครรีบาวด์ช้า ใครรีบาวด์ได้เร็ว โดยกลุ่มของเยอรมนีและนอร์ดิกรีบาวด์ได้ค่อนข้างเร็ว
ทีนี้ลองมาดูเศรษญกิจภายในสหรัฐอเมริกาเองบ้าง จากดัชนีกลุ่มธุรกิจต่างๆสามารถนำมาทำเป็นกราฟเทียบกับดัชนี S&P 500 ได้ดังนี้ จะเห็นว่าทั้งหมดไปในทิศทางเดียวกัน โดยกลุ่มพลังงาน (DJUSEN) ลงแรงและรีบาวด์แรงที่สุด ส่วนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (DJUSRE) ลงแรงแต่ยังฟื้นตัวไม่ดีเท่ากลุ่มพลังงาน ส่วนที่แย่ที่สุดคือรีบาวด์ไม่ค่อยไหว นั่นคือภาคการเงิน (DJUSFN)
Wednesday, January 19, 2011
Tuesday, January 18, 2011
18/01/2011 * มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (3)
วันนี้ตลาดสหรัฐอเมริกาหยุดทำการ
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1023.19 จุด ลดลง 9.07 จุด
สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณขาย DELTA ขณะนี้ถือหุ้นอยู่รวมทั้งหมด 23 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ TTA เกิดสัญญาณขาย
ด้านตลาดต่างประเทศ ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ตลาดจีน (CSI 300) ลงแรงอีก เกือบ 4% ทีเดียว
มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (3)
มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนของลุงแมวน้ำนั้นเป็นการมองผ่านตลาดทุนหรือว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก ซึ่งก็ดังที่ได้คุยกันไปแล้วว่าการมองผ่านตลาดหลักทรัพย์นั้นเป็นการมองจากช่องๆหนึ่งซึ่งไม่อาจเห็นภาพรวมของเศรษฐกิจได้ในทุกมิติ แต่ก็ยังคงสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้หากรู้จักเลือกใช้
เรามาดูตลาดทุนที่ถือว่าเป็นระดับพี่ใหญ่ของโลกกันก่อน นั่นคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจกล่าวได้ว่าความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆมักต้องชำเลืองดูตลาดของสหรัฐอเมริกาเอาไว้เสมอ เนื่องจากตลาดสหรัญอเมริกาถือว่าเป็นผู้บริโภครายใหญ่ของโลก หากตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาตกต่ำก็อาจหมายถึงว่าผู้บริโภคมีเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี อาจตัดลดการบริโภคลงได้ ซึ่งย่อมส่งผลต่อตลาดหุ้นของประเทศอื่นๆบ้างไม่มากก็น้อยในฐานะที่เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการป้อนชาวอเมริกัน
ตัวแทนของตจลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาลุงแมวน้ำใช้ดัชนีดาวโจนส์ (DowJones, DJI) จากภาพ ดูกันคร่าวๆว่าภาพลูกคลื่นของดัชนีเอสแอนด์พี 500 มียอดใหญ่อยู่ 2 ยอด ซึ่งน่าจะเป็นยอดคลื่น 3 (เกิดในราวปี 2000) กับยอดคลื่น 5 (เกิดในราวปี 2008) และถ้ายอดดังกล่าวเป็นยอดคลื่น 3 กับ 5 จริง แสดงว่าขณะนี้เรากำลังอยู่ในคลื่นใหญ่ B ซึ่งพร้อมจะจบได้ทุกเมื่อ หลังจากที่จบ B แล้วก็จะเป็นคลื่น C ที่ลงได้ลึกมาก
ทีนี้ลองมาดูตลาดหลักทรัพย์อื่นควบคู่กันไปด้วย ซึ่งอาจทำให้เราได้มุมมองที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ลองดูภาพต่อไปนี้
จากภาพ มีดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ 5 ประเทศ นั่นคือดัชนี S&P 500 ของสหรัฐอเมริกา ดัชนีแดกซ์ (DAX) ของเยอรมนี ดัชนีฟุตซี 100 (FTSE 100) ของอังกฤษ และดัชนีไอเบกซ์ 35 (IBEX 35) ของสเปน จะเห็นว่าในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ทางฝั่งยุโรปซึ่งทั้งหมดนี้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว กราฟของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของทั้งห้าประเทศเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้เพราะแต่เดิมมานั้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปเชื่อมโยงกันอยู่
ที่น่าคิดต่อไปก็คือเป็นไปได้หรือไม่ว่าตลาดที่พัฒนาแล้วในกลุ่มสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะกอดคอกันลงเหวไปในคลื่นใหญ่ C ด้วยกัน?
หากสมมติว่าปัจจุบันเป็นคลื่น B เราคงอยากรู้ว่าคลื่น B นี้จะจบเมื่อไร ซึ่งทฤษฎีคลื่นอีเลียต (Elliott Wave Theory) ระบุไว้ว่าคลื่น B จะสูงไม่เกินคลื่น 5 ดังนั้นหากพิจารณาจากดัชนี S&P 500 ซึ่งมียอดลื่น 5 อยู่ที่ประมาณดัชนี 1,565 จุด ก็หมายความว่าคลื่น B นี้จะไปได้ไม่น่าเกิน 1,565 จุด หรือหากพิจารณาจากดัชนีดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average, DJI) ยอดคลื่น 5 ของ DJI อยู่ที่ประมาณดัชนี 14,164 จุด ก็หมายความว่ายอดคลื่น B ไม่น่าจะเกินกว่า 14,164 จุด
ปัจจุบัน S&P 500 อยู่ที่ประมาณ 1,282 จุด (เหลืออีกประมาณ 283 จุด) และ DJI อยู่ที่ประมาณ 11,732 จุด (เหลืออีกประมาณ 4,432 จุด) ซึ่งเป็นระยะทางที่ไม่มากนัก ดังนั้นเป็นไปได้ว่าหากขณะนี้ใช่คลื่น B จริง คลื่น B นี้อาจจบลงภายในปี 2011-2012 (2554-2555) นี้
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1023.19 จุด ลดลง 9.07 จุด
สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณขาย DELTA ขณะนี้ถือหุ้นอยู่รวมทั้งหมด 23 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ TTA เกิดสัญญาณขาย
ด้านตลาดต่างประเทศ ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ตลาดจีน (CSI 300) ลงแรงอีก เกือบ 4% ทีเดียว
มองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2011 (3)
มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนของลุงแมวน้ำนั้นเป็นการมองผ่านตลาดทุนหรือว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก ซึ่งก็ดังที่ได้คุยกันไปแล้วว่าการมองผ่านตลาดหลักทรัพย์นั้นเป็นการมองจากช่องๆหนึ่งซึ่งไม่อาจเห็นภาพรวมของเศรษฐกิจได้ในทุกมิติ แต่ก็ยังคงสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้หากรู้จักเลือกใช้
เรามาดูตลาดทุนที่ถือว่าเป็นระดับพี่ใหญ่ของโลกกันก่อน นั่นคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจกล่าวได้ว่าความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆมักต้องชำเลืองดูตลาดของสหรัฐอเมริกาเอาไว้เสมอ เนื่องจากตลาดสหรัญอเมริกาถือว่าเป็นผู้บริโภครายใหญ่ของโลก หากตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาตกต่ำก็อาจหมายถึงว่าผู้บริโภคมีเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี อาจตัดลดการบริโภคลงได้ ซึ่งย่อมส่งผลต่อตลาดหุ้นของประเทศอื่นๆบ้างไม่มากก็น้อยในฐานะที่เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการป้อนชาวอเมริกัน
ตัวแทนของตจลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาลุงแมวน้ำใช้ดัชนีดาวโจนส์ (DowJones, DJI) จากภาพ ดูกันคร่าวๆว่าภาพลูกคลื่นของดัชนีเอสแอนด์พี 500 มียอดใหญ่อยู่ 2 ยอด ซึ่งน่าจะเป็นยอดคลื่น 3 (เกิดในราวปี 2000) กับยอดคลื่น 5 (เกิดในราวปี 2008) และถ้ายอดดังกล่าวเป็นยอดคลื่น 3 กับ 5 จริง แสดงว่าขณะนี้เรากำลังอยู่ในคลื่นใหญ่ B ซึ่งพร้อมจะจบได้ทุกเมื่อ หลังจากที่จบ B แล้วก็จะเป็นคลื่น C ที่ลงได้ลึกมาก
ทีนี้ลองมาดูตลาดหลักทรัพย์อื่นควบคู่กันไปด้วย ซึ่งอาจทำให้เราได้มุมมองที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ลองดูภาพต่อไปนี้
จากภาพ มีดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ 5 ประเทศ นั่นคือดัชนี S&P 500 ของสหรัฐอเมริกา ดัชนีแดกซ์ (DAX) ของเยอรมนี ดัชนีฟุตซี 100 (FTSE 100) ของอังกฤษ และดัชนีไอเบกซ์ 35 (IBEX 35) ของสเปน จะเห็นว่าในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ทางฝั่งยุโรปซึ่งทั้งหมดนี้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว กราฟของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของทั้งห้าประเทศเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้เพราะแต่เดิมมานั้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปเชื่อมโยงกันอยู่
ที่น่าคิดต่อไปก็คือเป็นไปได้หรือไม่ว่าตลาดที่พัฒนาแล้วในกลุ่มสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะกอดคอกันลงเหวไปในคลื่นใหญ่ C ด้วยกัน?
หากสมมติว่าปัจจุบันเป็นคลื่น B เราคงอยากรู้ว่าคลื่น B นี้จะจบเมื่อไร ซึ่งทฤษฎีคลื่นอีเลียต (Elliott Wave Theory) ระบุไว้ว่าคลื่น B จะสูงไม่เกินคลื่น 5 ดังนั้นหากพิจารณาจากดัชนี S&P 500 ซึ่งมียอดลื่น 5 อยู่ที่ประมาณดัชนี 1,565 จุด ก็หมายความว่าคลื่น B นี้จะไปได้ไม่น่าเกิน 1,565 จุด หรือหากพิจารณาจากดัชนีดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average, DJI) ยอดคลื่น 5 ของ DJI อยู่ที่ประมาณดัชนี 14,164 จุด ก็หมายความว่ายอดคลื่น B ไม่น่าจะเกินกว่า 14,164 จุด
ปัจจุบัน S&P 500 อยู่ที่ประมาณ 1,282 จุด (เหลืออีกประมาณ 283 จุด) และ DJI อยู่ที่ประมาณ 11,732 จุด (เหลืออีกประมาณ 4,432 จุด) ซึ่งเป็นระยะทางที่ไม่มากนัก ดังนั้นเป็นไปได้ว่าหากขณะนี้ใช่คลื่น B จริง คลื่น B นี้อาจจบลงภายในปี 2011-2012 (2554-2555) นี้
Subscribe to:
Posts (Atom)