Friday, May 6, 2011

03/05/2011

วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,070.43 จุด ลดลง 23.13 จุด

หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีขาย BBL, IRPC, PTTEP, TISCO, TOP ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 35 ตัว

กองทุน อีทีเอฟ TFTSE ในตลาด SET เกิดสัญญาณขาย

กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณขาย BBL, QH

ด้านตลาดต่างประเทศ วันนี้ตลาดหุ้นปรับตัวลง แดงเกือบทั้งโลก ที่เห็นปิดเขียวมีเพียงสหรัฐอเมริกา ออสเตรีย อังกฤษ และจีน แต่ก็ปิดเขียวอ่อนๆเท่านั้น ตลาดหุ้นอินเดียลงแรงเนื่องจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสู้ภาวะเงินเฟ้อ ส่วนตลาดหุ้นของไทยนั้นลงแบบแบบไม่มีสาเหตุชัดเจน ข่าวลือท่วมตลาดแต่ไม่รู้ว่าเรื่องอะไรกันแน่เนื่องจากข่าวลือมีหลายเรื่องเหลือเกิน นักลงทุนไม่ควรสนใจข่าวลือ การตอบสนองต่อข่าวลือแบบคนขี้ตกใจอาจทำให้เสียจังหวะในการลงทุนได้ ผู้ที่ลงทุนด้วยปัจจัยทางเทคนิคควรตัดสินใจด้วยปัจจัยทางเทคนิค ไม่ใช่ด้วยปัจจัยข่าวลือ




Tuesday, May 3, 2011

29/04/2011 - 2/05/2011 * ตลาดหุ้นผันผวนมากขึ้นและเทรดยากกว่าเมื่อก่อนจริงหรือไม่ (3)

29/04/2011

วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1,093.56 จุด เพิ่มขึ้น 1.25 จุด

หุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้โปรแกรมถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้น 40 ตัว

กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ราคาทองคำ (GC) ทำลายสถิติครั้งแล้วครั้งเล่าจนจำจำนวนครั้งไม่ได้แล้ว

ด้านตลาดต่างประเทศ วันนี้ทั้งด้านอเมริกา ยุโรป ส่วนใหญ่ปิดบวก ฝั่งเอเชียส่วนใหญ่ปิดลบ


ตลาดหุ้นผันผวนมากขึ้นและเทรดยากกว่าเมื่อก่อนจริงหรือไม่ (3)

เมื่อวันก่อนเราคุยกันถึงเรื่องความผันผวนของดัชนี SET ได้ข้อมูลมาว่าตั้งแต่ปี 1986-2010 ส่วนใหญ่วันที่ปิดบวกปิดลบอ่อนๆ ไม่รุนแรง (คือปิดบวกหรือลบไม่เกิน 1% เมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า) มีอยู่ประมาณร้อยละ 60 หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ หากติดตามตลาดหุ้นไปเป็นเวลา 100 วันจะพบว่าวันที่ปิดบวกหรือลบอ่อนๆ (คือไม่เกิน 1%) จะมีอยู่ประมาณ 60 วัน ส่วนอีก 40 วันที่เหลือจะปิดบวกหรือลบเกินกว่า 1% มียกเว้นอยู่ช่วงเดียวคือช่วงปี 1996-2000 ที่ไม่เป็นไปตามสถิตินี้ ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่าตลาดหุ้นของไทยในปัจจุบันไม่ได้ผันผวนมากกว่าในอดีต

คราวนี้เรามาดูตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกากันบ้าง ลักษณะของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาเราดูด้วยตัวแทนคือดัชนีดาวโจนส์ (DJI) เมื่อวิเคราะห์จำนวนวันที่ปิดบวกและปิดลบออกมาแล้วได้เป็นตารางสถิติดังนี้




จากตาราง เมื่อเราดูจำนวนวันที่ปิดบวกหรือปิดลบอ่อนๆ (อยู่ในช่วง -1% ถึง +1%) จะพบว่าตั้งแต่ปี 1976 เป็นต้นมา พอจะแบ่งได้เป็น 2 ช่วง ช่วงปี 1976 - 1995 จำนวนวันที่ปิดบวกปิดลบอ่อนๆจะมีอยู่ร้อยละ 77 ขึ้นไป ส่วนในปี 1996-2010 จำนวนวันที่ปิดบวกหรือลบอ่อนๆจะลดลง เหลือเพียงร้อยละ 70 อันหมายความว่าในช่วงปี 1996 - 2010 นั้น หากติดตามความเคลื่อนไหวของดัชนีดาวโจนส์ 100 วันจะพบว่ามีวันที่ปิดบวกหรือลบอ่อนๆอยู่ประมาณ 70 วัน ส่วนอีกประมาณ 30 วันที่เหลือจะปิดบวกหรือลบแรงกว่า 1%

หากมองความผันผวนของดัชนีดาวโจนส์แล้วทำให้พอสรุปได้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1996 - 2010 มีความผันผวนกว่าช่วงปี 1976 - 1995 นั่นเอง และหากมองเทียบกับ SETI กับ DJI ก็ทำให้พอกล่าวได้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกามีความผันผวนน้อยกว่าตลาดหุ้นไทย (เพราะจำนวนวันที่ปิดบวกหรือลบอ่อนๆมีมากกว่า) หรือตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนมากกว่าตลาดสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ ข้อสรุปที่ได้เพิ่มเติมมาอีกจากการที่ลุงแมวน้ำวิเคราะห์ดัชนีในครั้งนี้ก็คือ คงยังจำกันได้ว่าในตอนที่แล้วลุงแมวน้ำบอกว่า หากดูแค่จำนวนวันที่ปิดบวก กับจำนวนวันที่ปิดลบ โดยไม่สนใจว่าปิดบวกแรงมากน้อยเพียงใด หรือว่าปิดลบแรงมากน้อยเพียงใด เราจะพบว่าจำนวนวันที่ปิดบวกพอๆกับจำนวนวันที่ปิดลบ นั่นหมายความว่าการปิดบวกปิดลบเหมือนกับการโยนหัวโยนก้อย โอกาสที่ปิดบวกหรือปิดลบในแต่ละวันมีพอๆกัน ดังนั้นหากลุ้นเล่นสั้นๆโดยซื้อหุ้นท้ายตลาดในวันนี้แล้วไปขายตอนท้ายตลาดของวันนรุ่งขึ้นด้วยหวังว่าจะได้ค่าขนมเล็กๆน้อยๆอาจจะขาดทุนเสียมากกว่าเพราะค่าคอมมิชชันกินไปหมด

แต่ในทางตรงกันข้าม หากซื้อท้ายตลาดวันนี้แล้วไปขายตอนเปิดตลาดในวันรุ่งขึ้น โอกาสได้กำไรมีอยู่ ดังสถิติผลต่างของราคาเปิดวันนี้กับราคาปิดเมื่อวาน ดังต่อไปนี้ (สังเกตช่วงปี 2001-2010 ที่ตีกรอบไว้) เพราะตามสถิติแล้วตลาดมักเปิดบวกมากกว่าเปิดลบนั่นเอง แต่อย่างไรก็ดี การเปิดบวกเป็นบวกอ่อนๆเท่านั้น หากคำนวณค่าคอมมิชชั่นเข้าไปด้วยก็อาจถูกค่าคอมมิชชั่นกินไปจนหมดได้เช่นกัน










02/05/2011


วันนี้ตลาด SET, AFET รวมทั้งตลาดในเอเชียหลายประเทศหยุดทำการ

กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย

ด้านตลาดต่างประเทศ วันนี้ทั้งด้านอเมริกา ยุโรป ส่วนใหญ่ปิดลบ ฝั่งเอเชียส่วนใหญ่ปิดลบเช่นกัน ตลาดหุ้นอินเดียเกิดสัญญาณขาย