วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1019.19 จุด เพิ่มขึ้น 10.42 จุด
สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้ถือหุ้นอยู่รวมทั้งหมด 21 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณขาย ITD และฝ้าย (CT)
ด้านดัชนีตลาดต่างประเทศ วันนี้ดัชนีฟุตซี (FTSE100) ของอังกฤษเกิดสัญญาณซื้อขาย ตลาดหุ้นสำคัญขึ้นบ้างลงบ้างสลับกันไป แต่ทางฝั่งเอเชียโดยรวมแล้วเขียว ตลาดอินเดียขึ้นแรง ส่วนฝั่งตะวันตกโดยรวมแล้วแดง ตลาดบราซิลลงแรง
ตลาดโดยรวมดูไม่ดีเท่าที่ควร มีสัญญาณกลับทิศบ่งชี้ออกมาบางประการแล้ว รวมทั้งสินค้าเกษตรทั้งหลายและยางพาราด้วย ควรระมัดระวัง
วันนี้เป็นวันที่กองทุนอีทีเอฟชื่อ CHINA ซึ่งลงทุนในหุ้นจีนเข้าเทรดในตลาดเป็นวันแรก CHINA นี้อิงกับดัชนี CSI 300 ของจีน (คล้ายกับที่กองทุนอีทีเอฟ TDEX อิงกับดัชนี SET50) เดิมทีลุงแมวน้ำใช้ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต (Shanghai Composite Index) เป็นตัวแทนของตลาดหุ้นจีนในรายงานประจำวันของลุงแมวน้ำ แต่ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจะใช้ดัชนี CSI300 เป็นตัวแทนของตลาดหุ้นจีนแทน จากรายงานของลุงแมวน้ำจะเห็นว่าขณะนี้ CSI 300 เป็นสัญญาณขายอยู่
ช่วงนี้ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงแรง กราฟแท่งเทียนเกิดเป็นแท่งเทียนดำใหญ่ 2 แท่ง สาเหตุเกิดจากทางการจีนทยอยออกมาตรการควบคุมสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เพื่อชะลอความร้อนแรง รวมทั้งพยายามสกัดการเก็งกำไรอย่างรุนแรงในสิค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับตัวลดลงเนื่องจากจีนเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภครายใหญ่ของโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลง
ดัชนี CSI 300 ของจีนเกิดแท่งเทียนดำใหญ่ 2 แท่งติดกัน เป็นสัญญาณกลับทิศแนวโน้มได้ประการหนึ่ง ควรติดตามดูสัญญาณกลับทิศแนวโน้มหรือ trend reversal signal อื่นๆว่ามีตามมาหรือไม่
กองทุนสินค้าเกษตร DBA เกิดช่องว่าง (gap) ใหญ่ซึ่งอาจเป็นสัญญาณ falling window รวมทั้งแท่งเทียนดำใหญ่ 3 แท่ง อาจเข้าลักษณะ three black crows ทั้งสองประการนี้ต่างก็เป็นสัญญาณกลับทิศแนวโน้ม ที่ลุงแมวน้ำใช้คำว่า อาจเข้าลักษณะ three black crows เนื่องจากแท่งเทียนไม่ยาวมากนัก ดูก้ำกึ่งว่าใช่หรือไม่ใช่กันแน่ นี่แหละความยากของการพิจารณารายละเอียดทางเทคนิค
ยางพารา RSS ก็ออกอาการไม่ค่อยดี เกิด bearish convergence เกิด falling window และเกิด big black candle ประกอบกับการนับคลื่น เป็นไปได้ว่าอาจจบคลื่น 5 (สีน้ำตาล) ไปแล้ว ตามรูป
Tuesday, November 23, 2010
Monday, November 22, 2010
19/11/2010 * กลยุทธ์การลงทุน LTF, RMF ในตลาดขาลง (5)
วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 1008.77 จุด เพิ่มขึ้น 4.05 จุด
สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณซื้อ CPF ขณะนี้ถือหุ้นอยู่รวมทั้งหมด 21 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณขายถั่วเหลือง (S) ลุงแมวน้ำประเมินจากกราฟ การนับคลื่น และรูปแบบกราฟของสินค้าเกษตรตัวอื่นๆด้วย คาดว่าราคาถั่วเหลืองน่าจะยังเป็นขาขึ้นอยู่ ดังนั้นในคราวนี้ลุงแมวน้ำจึงปิดสัญญาซื้อเท่านั้น ยังไม่เปิดสัญญาขาย
ด้านดัชนีตลาดต่างประเทศ วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ตลาดหุ้นสำคัญขึ้นบ้างลงบ้าง
กลยุทธ์การลงทุน LTF, RMF ในตลาดขาลง (5)
ลุงแมวน้ำได้คุยให้ฟังเกี่ยวกับการประหยัดภาษีด้วยการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF มาแล้วหลายตอน ได้กล่าวถึงเทคนิคในการลงทุนด้วยปัจจัยทางเทคนิคหลายๆแบบ มาวันนี้เรามาดูกันว่าเทคนิคแบบต่างๆที่เราลงทุนกันนั้นสรุปแล้วช่วยประหยัดภาษีและออกดอกออกผลเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการประหยัดภาษีอย่างไรบ้าง
ลองดูในตารางต่อไปนี้ซึ่งเป็นตารางสรุปแนวทางการลงทุนใน LTF แบบต่างๆและผลตอบแทนที่ได้ ซึ่งมีทั้งผลตอบแทนจากกองทุนเอง (capital gain) และผลตอบแทนจากกองทุนรวมสิทธิประโยชน์จากภาษีด้วย เพราะว่าการลดรายจ่ายก็เท่ากับการเพิ่มรายได้ ภาษีส่วนหนึ่งที่ประหยัดได้จึงถูกนำมาบวกเข้ากับผลกำไรจากกองทุน รวมทั้งผลตอบแทนจากการลงทุนทางเลือกอื่นๆ
หากพิจารณาในแง่ผลตอบแทนจากเทคนิคการลงทุนในวิธีต่างๆ โดยไม่นำผลทางภาษีมาคำนวณด้วย ลุงแมวน้ำพอสรุปได้ดังนี้
ทั้งหมดที่คุยมานี้ก็เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาลงทุนของเพื่อนนักลงทุนที่ต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และท้ายที่สุดนี้ต้องไม่ลืมว่าการลงทุนกับ LTF เพื่อประหยัดภาษีนี้ก็มีความเสี่ยง อีกทั้งการประหยัดภาษีนี้ไม่ใช่เรื่องที่อยู่เฉยๆก็ได้มา แต่ผู้มีเงินได้ต้องเอาเงินอีกก้อนหนึ่งมาลงทุนเพื่อให้สามารถประหยัดภาษีก้อนนี้ได้ ดังนั้นการลงทุนเพื่อประหยัดภาษีเท่ากับเป็นการจัดสรรการลงทุนเพิ่มเติมหรือเป็นการเพิ่มพอร์ต ส่วนนี้ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าเราลงทุนมากเกินไปหรือยัง เราพร้อมที่จะเอาเงินลงทุนอีกก้อนหนึ่งมาลงในตลาดหุ้นเพื่อประหยัดภาษีหรือไม่ อย่ามองแต่โปรโมชันล่อใจหรือมองโลกแต่เพียงด้านดีเพียงด้านเดียว ลุงแมวน้ำคิดเสมอว่าตลาดหุ้นนั้นไม่มีอะไรแน่นอน อะไรก็เกิดขึ้นได้ ขนาดพยายามไม่ประมาทก็ยังพลาดพลั้งได้ ดังนั้นการวาดภาพต้องมองทั้งสองด้านเอาไว้ ว่าหากได้กำไรจะได้แค่ไหน อย่างไร หากขาดทุนแล้วจะขาดทุนได้เลวร้ายที่สุดเพียงใด
สำหรับการลงทุนในกองทุน RMF เพื่อประหยัดภาษีนั้นมีความแตกต่างจากการลงทุนใน LTF ตรงที่กฎหมายกำหนดให้ LTF ต้องลงทุนให้หุ้นในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 65% ของพอร์ตกองทุน ส่วนกองทุน RMF นั้นไม่มีข้อจำกัดเช่นนี้ ดังนั้นผู้ลงทุนในกองทุน RMF เพื่อประหยัดภาษีหากต้องการลงทุนในกองทุนที่เป็นกองหุ้น (หมายถึงลงทุนในหุ้นในสัดส่วนสูง) ก็สามารถนำเทคนิคแบบ LTF ไปใช้ได้ แต่หากจะลงทุนใน RMF ที่ไม่ใช่กองหุ้น อย่างเช่น กองตราสารหนี้ กองทอง (หมายถึงลงทุนในทองคำ) ก็ต้องพิจารณาแตกต่างกันออกไป คงไม่ต้องใช้เทคนิคแบบ LTF
ที่จริงยังมีวิธีการลงทุนใน LTF อีกวิธีหนึ่ง นั่นคือวิธีถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือที่เรียกว่า dollar cost averaging (DCA) หรือบางคนก็เรียกว่า baht cost averaging (BCA) ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่การลงทุนโดยปัจจัยทางเทคนิค และอีกประการ ผลตอบแทนที่ได้มีโอกาสเป็นภาพลวงตาได้สูง ดังนั้นจึงยังไม่นำมากล่าว แต่ลุงแมวน้ำจะนำมาคุยเป็นหัวข้อ dollar cost averaging ไปเลยในโอกาสต่อไป
ลุงแมวน้ำมีความเห็นโดยสรุปเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนประหยัดภาษี LTF จากมุมมองของผู้ที่เทรดโดยใช้ระบบตามแนวโน้มและใช้ปัจจัยทางเทคนิค ดังนี้
สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 วันนี้มีสัญญาณซื้อ CPF ขณะนี้ถือหุ้นอยู่รวมทั้งหมด 21 ตัว
กลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้มีสัญญาณขายถั่วเหลือง (S) ลุงแมวน้ำประเมินจากกราฟ การนับคลื่น และรูปแบบกราฟของสินค้าเกษตรตัวอื่นๆด้วย คาดว่าราคาถั่วเหลืองน่าจะยังเป็นขาขึ้นอยู่ ดังนั้นในคราวนี้ลุงแมวน้ำจึงปิดสัญญาซื้อเท่านั้น ยังไม่เปิดสัญญาขาย
ด้านดัชนีตลาดต่างประเทศ วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ตลาดหุ้นสำคัญขึ้นบ้างลงบ้าง
กลยุทธ์การลงทุน LTF, RMF ในตลาดขาลง (5)
ลุงแมวน้ำได้คุยให้ฟังเกี่ยวกับการประหยัดภาษีด้วยการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF มาแล้วหลายตอน ได้กล่าวถึงเทคนิคในการลงทุนด้วยปัจจัยทางเทคนิคหลายๆแบบ มาวันนี้เรามาดูกันว่าเทคนิคแบบต่างๆที่เราลงทุนกันนั้นสรุปแล้วช่วยประหยัดภาษีและออกดอกออกผลเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการประหยัดภาษีอย่างไรบ้าง
ลองดูในตารางต่อไปนี้ซึ่งเป็นตารางสรุปแนวทางการลงทุนใน LTF แบบต่างๆและผลตอบแทนที่ได้ ซึ่งมีทั้งผลตอบแทนจากกองทุนเอง (capital gain) และผลตอบแทนจากกองทุนรวมสิทธิประโยชน์จากภาษีด้วย เพราะว่าการลดรายจ่ายก็เท่ากับการเพิ่มรายได้ ภาษีส่วนหนึ่งที่ประหยัดได้จึงถูกนำมาบวกเข้ากับผลกำไรจากกองทุน รวมทั้งผลตอบแทนจากการลงทุนทางเลือกอื่นๆ
หากพิจารณาในแง่ผลตอบแทนจากเทคนิคการลงทุนในวิธีต่างๆ โดยไม่นำผลทางภาษีมาคำนวณด้วย ลุงแมวน้ำพอสรุปได้ดังนี้
- การเทรดกองทุน LTF แบบสับกองทุนด้วยระบบ PnT 1.10 ได้ผลไม่ดีนัก ได้ผลตอบแทนเพียง 0.82% ทั้งเหนื่อยและทั้งได้ผลตอบแทนต่ำ
- กลยุทธ์สับกองทุน LTF แบบนานๆสับกองทุนเสียทีหนึ่งตามแนวโน้มระยะยาวได้ผลกำไรดี (33.13% กับ 20.76%) แต่อัตราผลกำไรนี้มีความไม่แน่นอน ที่เห็นอยู่นี้คล้ายภาพลวงตาเนื่องจากจุดที่ตัดสินใจสับกองทุนนั้นต่างคนก็ต่างความคิด สับกองทุนต่างเวลากันก็ได้ผลตอบแทนต่างๆกัน ทุกคนที่เอาเทคนิคนี้ไปใช้จะไม่ได้ผลตอบแทนตามตัวเลขนี้ ผู้ที่ชำนาญในการนับคลื่นจะได้เปรียบ
- การลงทุนแบบทางเลือก (TDEX กับกองทุนตราสารหนี้) โดยไม่สนใจสิทธิประโนชน์ทางภาษี ให้ผลตอบแทนดี (58.48%) แต่ก็เป็นเช่นเดียวกับข้อ 2 นั่นคือแต่ละคนหากนำเทคนิคนี้ไปใช้จะไม่ได้อัตราผลตอบแทนตามนี้เนื่องจากนานาจิตตัง ดังนั้นจึงมีความไม่แน่นอน ผู้ที่ชำนาญในการนับคลื่นจะได้เปรียบ
- การเทรด TDEX ด้วยระบบ PnT 1.10 เหมือนเทรดหุ้นทั่วไป ไม่มีการสับกองทุน ให้ผลแน่นอนเป็นรูปธรรม ใครเทรดก็ได้แบบนี้ ได้ผลตอบแทนพอใช้ได้ (17.95%)
ทั้งหมดที่คุยมานี้ก็เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาลงทุนของเพื่อนนักลงทุนที่ต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และท้ายที่สุดนี้ต้องไม่ลืมว่าการลงทุนกับ LTF เพื่อประหยัดภาษีนี้ก็มีความเสี่ยง อีกทั้งการประหยัดภาษีนี้ไม่ใช่เรื่องที่อยู่เฉยๆก็ได้มา แต่ผู้มีเงินได้ต้องเอาเงินอีกก้อนหนึ่งมาลงทุนเพื่อให้สามารถประหยัดภาษีก้อนนี้ได้ ดังนั้นการลงทุนเพื่อประหยัดภาษีเท่ากับเป็นการจัดสรรการลงทุนเพิ่มเติมหรือเป็นการเพิ่มพอร์ต ส่วนนี้ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าเราลงทุนมากเกินไปหรือยัง เราพร้อมที่จะเอาเงินลงทุนอีกก้อนหนึ่งมาลงในตลาดหุ้นเพื่อประหยัดภาษีหรือไม่ อย่ามองแต่โปรโมชันล่อใจหรือมองโลกแต่เพียงด้านดีเพียงด้านเดียว ลุงแมวน้ำคิดเสมอว่าตลาดหุ้นนั้นไม่มีอะไรแน่นอน อะไรก็เกิดขึ้นได้ ขนาดพยายามไม่ประมาทก็ยังพลาดพลั้งได้ ดังนั้นการวาดภาพต้องมองทั้งสองด้านเอาไว้ ว่าหากได้กำไรจะได้แค่ไหน อย่างไร หากขาดทุนแล้วจะขาดทุนได้เลวร้ายที่สุดเพียงใด
สำหรับการลงทุนในกองทุน RMF เพื่อประหยัดภาษีนั้นมีความแตกต่างจากการลงทุนใน LTF ตรงที่กฎหมายกำหนดให้ LTF ต้องลงทุนให้หุ้นในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 65% ของพอร์ตกองทุน ส่วนกองทุน RMF นั้นไม่มีข้อจำกัดเช่นนี้ ดังนั้นผู้ลงทุนในกองทุน RMF เพื่อประหยัดภาษีหากต้องการลงทุนในกองทุนที่เป็นกองหุ้น (หมายถึงลงทุนในหุ้นในสัดส่วนสูง) ก็สามารถนำเทคนิคแบบ LTF ไปใช้ได้ แต่หากจะลงทุนใน RMF ที่ไม่ใช่กองหุ้น อย่างเช่น กองตราสารหนี้ กองทอง (หมายถึงลงทุนในทองคำ) ก็ต้องพิจารณาแตกต่างกันออกไป คงไม่ต้องใช้เทคนิคแบบ LTF
ที่จริงยังมีวิธีการลงทุนใน LTF อีกวิธีหนึ่ง นั่นคือวิธีถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือที่เรียกว่า dollar cost averaging (DCA) หรือบางคนก็เรียกว่า baht cost averaging (BCA) ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่การลงทุนโดยปัจจัยทางเทคนิค และอีกประการ ผลตอบแทนที่ได้มีโอกาสเป็นภาพลวงตาได้สูง ดังนั้นจึงยังไม่นำมากล่าว แต่ลุงแมวน้ำจะนำมาคุยเป็นหัวข้อ dollar cost averaging ไปเลยในโอกาสต่อไป
ลุงแมวน้ำมีความเห็นโดยสรุปเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนประหยัดภาษี LTF จากมุมมองของผู้ที่เทรดโดยใช้ระบบตามแนวโน้มและใช้ปัจจัยทางเทคนิค ดังนี้
- การลงทุนมีความเสี่ยง การลงทุนใน LTF ต้องถือไว้เป็นระยะเวลา 5 ปีปฏิทินหรือนานกว่านั้น ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าเมื่อถึงเวลาที่เราต้องการขายคืนหน่วยลงทุนภาวะตลาดในช่วงนั้นเป็นเช่นไร หากเป็นจังหวะที่ไม่ดี ภาษีที่ประหยัดได้อาจไม่คุ้มกับเงินต้นที่หดหายไปจากภาวะตลาดขาลง ดังนั้นหากเป็นผู้ที่ต้องเสียภาษีในฐานภาษี 20% หรือสูงกว่านั้น การลุงทุนใน LTF ก็ถือว่าน่าสนใจ แต่หากเป็นผู้ที่ต้องเสียภาษีในฐานภาษี 10% แล้วควรไตร่ตรองให้มากเพราะอาจไม่คุ้ม
- ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน LTF ที่ตนเองสนใจเป็นอย่างดี การลงทุนจำเป็นต้องมีความรู้ หากคิดว่ายังมีความรู้ไม่เพียงพอก็อย่าเพิ่งลงทุนดีกว่า ศึกษาให้ดีก่อนแล้วจึงลงทุนก็ไม่สาย อย่าลงทุนเพราะมีโปรโมชันหรือของแถม
- การเลือกลงทุนใน LTF ไม่จำเป็นต้องลงทุนตอนปลายปี (ปัจจุบันนิยมลงทุนกันในช่วงปลายปี โดยเฉพาะเดือนธันวาคม) เพราะภาวะตลาดตอนปลายปีอาจไม่ใช่ช่วงที่ดีในการเข้าลงทุนเสมอไป ควรลงทุนตามจังหวะทางเทคนิค (ซึ่งต้องศึกษา) จะลดโอกาสขาดทุนลงได้ โดยประเมินคร่าวๆเอาไว้ก่อนว่าปีนี้ต้องเสียภาษีเท่าไร จากนั้นเลือกจังหวะลงทุนที่เหมาะสมซึ่งนักลงทุนอาจใช้ปัจจัยทางเทคนิคหรือปัจจัยพื้นฐานตามแต่ที่ตนถนัดมาพิจารณา ส่วนในปลายปีอาจลงทุนเพิ่มอีกเล็กน้อยเป็นยอดเก็บตก
- ควรพิจารณากองทุน LTF ที่ใช้อนุพันธ์เอาไว้ด้วย สำหรับเอาไว้สับกองทุนเพื่อพักเงินในช่วงตลาดขาลง อนึ่ง ควรศึกษาหรือถามเจ้าหน้าที่ขายหน่วยลงทุนให้กระจ่างว่าการสับหน่วยลงทุนนี้มีค่าใช้อย่างเพิ่มเติมหรือไม่ เพราะค่าใช้จ่ายในการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนอาจมีหรือไม่มี หรือมีแล้วเปลี่ยนแปลงได้
- การลงทุนในกองทุน RMF เป็นการลงทุนในระยะยาว มีกองทุนที่มีความเสี่ยงมากน้องต่างกันหลายระดับให้เลือก หากต้องการความปลอดภัยสูงก็ควรลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ของภาครัฐ แต่อย่างไรก็ดี เมื่อก่อนนี้เรามักคิดว่าตราสารหนี้ภาครัฐมั่นคงมาก แต่ในปัจจุบันจากปรากฏการณ์วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในหลายๆประเทศ ตราสารหนี้ภาครัฐที่อยู่ในสภาพง่อนแง่นก็มี ดังนั้นหากต้องการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศต้องมีความรู้ความเข้าใจพอสมควร ที่ง่ายที่สุดคือกองทุนตราสารหนี้ของทางการไทยเพราะติดตามสถานการณ์ได้ง่าย
- หากต้องการลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กองทุนรวมหุ้น กองทุนสินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ เหล่านี้ควรติดตามดูผลงานของกองทุนและดัชนีราคาหุ้นเอาไว้บ้าง ไม่ควรซื้อแล้วเก็บใส่ลิ้นชักเอาไว้โดยไม่สนใจอีกเลยเนื่องจากเห็นว่าเป็นการลงทุนระยะยาว เพราะาอาจพลาดพลั้งได้
- หากต้องการลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีก็ควรเลือกลงทุนกับกองทุนที่มีกองทุนตราสารหนี้ให้สับเปลี่ยนได้อย่างคล่องตัว เนื่องจากในบางช่วงของการลงทุนอาจเป็นตลาดขาลง ซึ่งในช่วงนั้นควรย้ายเงินมาพักเอาไว้ในที่ปลอดภัยจะเป็นการดีกว่า
Subscribe to:
Posts (Atom)