Friday, March 12, 2010

โครงการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ บำนาญสร้างเองของลุงแมวน้ำ

โครงการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ บำนาญสร้างเองของลุงแมวน้ำ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ประเทศก็เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า aging society แล้ว

คำว่าสังคมผู้สูงอายุนี้หมายถึงสังคมใดที่มีประชากรเกินอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 10 ยกตัวอย่างเช่นหมู่บ้านหนึ่งมีประชากรในหมู่บ้านรวมทั้งสิ้น 100 คน ในหมู่บ้านนี้มีคนชราที่อายุเกิน 60 ปีอยู่ 11 คน เราเรียกหมู่บ้านนี้ว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุได้

และยิ่งไปกว่านั้น หากสังคมใดมีคนชราร้อยละ 20 ขึ้นไปเราจะเรียกสังคมนั้นว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์หรือว่า aged society ยกตัวอย่างจากหมู่บ้านเดิมที่มีประชากรอยู่ 100 คน เมื่อใดที่หมู่บ้านนั้นมีคนชรา (อายุเกิน 60 ปี) ตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป หมู่บ้านนั้นก็จะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์

ดังที่ลุงแมวน้ำกล่าวมาแล้วว่าปัจจุบันประเทศไทยถือว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว และในปัจจุบัน (พ.ศ. 2553) ประเทศไทยมีผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 11.9 จากการคาดหมายทางประชากรศาสตร์ คาดว่าประเทศไทยน่าจะเข้าสู่ผู้สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2567 หรือในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้เอง

อย่างไรก็ดี การคาดการณ์นี้เป็นการมองในภาพรวมระดับประเทศ แต่หากมองในภาพของสังคมที่ย่อยลงมาอีก เช่น ในระดับจังหวัด ขณะนี้มีบางจังหวัดที่ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ไปเรียบร้อยแล้ว ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดสิงห์บุรีที่ปัจจุบันมีผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 24 ของประชากรในจังหวัด

การเป็นสังคมผู้สูงอายุเกิดจากอัตราการเกิดของประชากรต่ำเป็นเวลานานๆ สาเหตุของอัตราการเกิดต่ำนั้นก็มาจากหลายอย่าง เช่น ผลจากการรณรงค์คุมกำเนิด ผลจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป คนแต่งงานช้าลง คนอยู่เป็นโสดมากขึ้น ฯลฯ

ผลของการเป็นสังคมผู้สูงอายุหรือว่าสังคม ผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์นั้นที่เห็นได้ชัดก็คือผู้สูงอายุจะหวังพึ่งลูกหลานได้ยาก ลองคิดดูง่ายๆ สมมติว่าในสังคมหนึ่งที่นิยมการมีลูกเพียงคนเดียว หากมีลูกคนเดียวไป 3 ชั่วคน คนรุ่นที่สามต่อไปจะต้องรับภาระดูแลพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทั้งหมด 6 คน แล้วจะเอาแรงที่ไหนไปดูแลไหว นี่ยังไม่นับกรณีผู้ที่อยู่เป็นโสด

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ดังนั้นลุงแมวน้ำขอสรุปโดยรวบรัดว่าผู้ที่อยู่ในวัยทำงานในขณะนี้ต่อไปเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้วมีแนวโน้มที่จะต้องพึ่งตนเองมากขึ้น การหวังพึ่งลูกหลานหรือว่าพึ่งคนอื่นคงเป็นไปได้ยาก

การพึ่งตนเองได้ ต้องทำอย่างไรบ้างก็ควรมีสุขภาพที่ดี มีการประกันสุขภาพ จะได้ลดการพึ่งพาผู้อื่นลงได้ นอกจากนี้ยังต้องมีรายได้ไว้เลี้ยงตนเองในยามเกษียณอายุไปแล้ว จะได้ไม่เป็นภาระด้านการเงินแก่ผู้อื่น หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือต้องมีเงินเก็บเอาไว้ใช้ในยามที่เกษียณไปแล้วหรือที่เรียกว่ามีบำนาญนั่นเอง

หลายคนเป็นลูกจ้าง หลายคนประกอบอาชีพอิสระ แล้วเราจะมีเงินเก็บเพื่อเอาไว้เป็นบำนาญชีวิตได้อย่างไรในเมื่อเราไม่ได้เป็นข้าราชการหรือไม่ได้เป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใดๆ ครั้นจะพึ่งพากองทุนการออมแห่งชาติที่กำลังจัดตั้งขึ้นมาเพื่อการออมของ ประชาชนทั่วไปก็ให้บำนาญเต็มที่เพียง 1,710 บาทต่อเดือน รวมกับเบี้ยยังชีพคนชราอีก 500 บาท รวมแล้วก็ได้บำนาญเดือนละสองพันกว่าบาท คงไม่น่าจะพึ่งพาเป็นรายได้หลักหลังเกษียณได้ น่าจะเป็นได้แค่รายได้เสริมเท่านั้น

บางคนอาจคิดว่าชีวิตหลังเกษียณไปแล้วก็ยังมีแรง มีกำลังสมอง ยังสามารถหารายได้ได้อยู่ หรือไม่ก็คิดว่าตนเองออมไม่ไหวเพราะภาระค่าใช้จ่ายมาก ดังนั้นจึงไม่ได้วางแผนการออมเพื่อการเกษียณเอาไว้ แต่ลุงแมวน้ำอยากบอกว่าชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน อะไรที่ทำได้ในตอนนี้ก็ควรทำเสีย ยกตัวอย่างลุงแมวน้ำเอง ลุงแมวน้ำหาเลี้ยงชีวิตด้วยการแสดงละครสัตว์ อีกหน่อยพอแก่มากกว่านี้ก็คงแสดงไม่ไหว หรือถึงแสดงไหวก็อาจไม่มีใครจ้าง ดังนั้นชีวิตหลังเกษียณคงไม่มีรายได้อะไร จะหวังพึ่งลูกหลานก็ยากดังที่ว่า

ถ้าเป็นในสังคมเกษตร เกษตรกรที่รู้จักวางแผนจะเตรียมแหล่งรายได้หลังเกษียณของตนด้วยการปลูกไม้ยืนต้นตั้งแต่ยังอยู่ในวัยแรงงาน เช่น ปลูกยางนา ประดู่ ฯลฯ ไร่หนึ่งปลูกได้ประมาณ 200 ต้น ไม้ยืนต้นเหล่านี้เมื่อมีอายุ 20 ปีขึ้นไปสามารถขายได้ถึงต้นละประมาณ 20,000 บาท ปลุกตอนหนุ่มสาว เมื่อถึงวัยชราก็ทยอยตัดขาย ปลูกไร่หนึ่งก็มีเงินหลังเกษียณได้แล้ว 4 ล้านบาท

แต่ถ้าอยู่ในสังคมเมืองอย่างลุงแมวน้ำ เป็นลูกจ้างคณะละครสัตว์ ไม่ได้ทำการเกษตร ไมได้รับราชการ และไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แล้วจะมีบำนาญชีวิตได้อย่างไร นี่คือปัญหาแบบคนเมืองโดยทั่วไป คำตอบก็คือต้องสร้างเอาเอง

ปกติผู้ที่มีรายได้เกินพอจากการยังชีพหรือพูดง่ายๆว่าเหลือกินเหลือใช้นั้นการออมไม่ใช่เรื่องยาก แต่สำหรับผู้ที่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ หรือผู้ที่รายได้ไม่พอแก่การยังชีพนั้นเมื่อพูดถึงการออมดูจะเป็นเรื่องยาก หรือสำหรับบางคนอาจบอกว่าเป็นไปไม่ได้เอาเลยทีเดียว เหตุผลของการไม่ออมก็คือออมไม่ไหว แต่ละเดือนจะใช้จ่ายยังไม่พอถึงสิ้นเดือนเลย แล้วจะออมได้อย่างไร

ดังนั้นหากจะจำเป็นต้องออมแล้วพฤติกรรมของคนไทยมักออมเพื่อเหตุเจ็บป่วยหรือฉุกเฉินเป็นลำดับแรก ส่วนการออมเพื่อการเกษียณอายุนั้นเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญในลำดับรองลงมา ทั้งนี้ อาจจะเนื่องจากเห็นว่ายังมีเวลาอีกมากก็เป็นได้

อย่างไรก็ดี ในผู้ที่พอจะออมไหวก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นอีกว่าผู้ออมมีกำลังในการออมไม่มาก แต่ละเดือนมีเงินเก็บไม่มาก ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น
  • เงินที่ออมได้ไม่รู้ว่าจะจัดสรรปันส่วนอย่างไรจึงจะเหมาะสม
  • จะออมเพื่อการเจ็บป่วย ฉุกเฉิน ต้องเท่าไรจึงจะพอ
  • หากออมเพื่อการเจ็บป่วย ฉุกเฉินยังมีเงินออมไม่มาก แล้วจะออมเพื่อเกษียณอายุได้อย่างไร ถึงจะออมจนแก่ก็ได้เพียงแค่เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินเท่านั้น คงไม่มีทางสร้างบำนาญหลังเกษียณได้
ฯลฯ

เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว โครงการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุหรือบำนาญสร้างเองของลุงแมวน้ำนั้น ลุงแมวคิดขึ้นมาเอง ใช้เงินออมทั้งสิ้นประมาณ 192,000 บาท โดยใช้เงินออมเริ่มแรกเพื่อการลงทุน 120,000 บาท หลังจากนั้นออมอีกเดือนละ 2,000 บาทเป็นเวลา 3 ปี เมื่อออมครบจำนวนแล้วก็ปล่อยให้เงินต้นนี้ทำงานต่อไป ต่อไปเมื่อเรามีเงินออมอีกเราก็สามารถทำโครงการออมเพื่อการอื่นได้อีก เช่น การออมเพื่อเหตุเจ็บป่วย ฉุกเฉิน การออมเพื่อแต่งงาน การออมเพื่อการศึกษาบุตร ฯลฯ

หลักการของลุงแมวน้ำก็คือทำการออมเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นโครงการการลงทุน ใช้เงินต้นก้อนหนึ่ง จากนั้นปล่อยให้เงินทำงานต่อไป เราไม่ต้องเติมเงินลงไปในกองทุนนั้นอีกแล้ว และเงินออมก้อนต่อๆไปที่ออมได้ก็สามารถนำมาทำเป็นทุนในโครงการอื่นๆได้อีก

สำหรับโครงการลงทุนนี้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์หรือว่าต่อยอดเอาเองได้ ยกตัวอย่างเช่น ลุงแมวน้ำยกโครงการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุมาเป็นตัวแบบ แต่ผู้อ่านสามารถนำไปดัดแปลงเป็นโครงการลงทุนเพื่อเหตุเจ็บป่วย ฉุกเฉินก็ได้ เป็นต้น

เมื่ออ่านถึงตอนนี้แล้ว หากยังงงๆ ลองติดตามอ่านต่อไปในวันถัดไป จะได้รู้รายละเอียดว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่ลุงแมวน้ำจะเกษียณอายุอย่างสบายๆ ได้ด้วยเงินเพียงเกือบสองแสนบาท เรามาลองทำโครงการจริงด้วยกันและติดตามผลการลงทุนด้วยกันไปเลย

รูปแบบการออม

ในเมื่อเราต้องการออมเพื่อสร้างบำนาญของเราเองขึ้นมา ก่อนอื่นเราคงต้องมาดูกันก่อนว่ารูปแบบการออมนั้นมีอะไรให้เลือกได้บ้าง ลุงแมวน้ำลองยกมาดูพร้อมกับข้อด้อยของแต่ละวิธีการออมในแบบคร่าวๆ
  • ใส่ตุ่มฝังดิน อาจโดนขุดหรือปลวกกินได้ ไม่มีดอกเบี้ย
  • ฝากธนาคาร อัตราดอกเบี้ยต่ำ ยิ่งฝากเงินยิ่งหดเพราะว่าแพ้เงินเฟ้อ
  • ลงทุนในตราสารการเงินต่างๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ ดอกเบี้ยดีกว่าฝากธนาคาร แต่อาจไม่ชนะเงินเฟ้อ รวมทั้งมีความเสี่ยง
  • ลงทุนในตราสารการเงินในกลุ่มหุ้นสามัญ ฟิวเจอร์ส ออปชัน เป็นเหมือนการลงทุนทำธุรกิจ มีความเสี่ยงสูง ราคาหุ้นเป็นวัฏจักร มีขึ้นมีลง
  • ซื้ออสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง มีสภาพคล่องต่ำ เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีอาจต้องเก็บนานมาก
  • ซื้อสังหาริมทรัพย์ เช่น ทองคำ เพชร ราคามีวัฏจักร มีขึ้นมีลง
  • ซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยต่ำ

ราคา ทองคำมีขึ้นก็มีลง ไม่ได้มีแต่ขึ้นอย่างเดียว ใครที่ซื้อทองคำในปี 1979 ต้องเก็บทองเอาไว้นานเกือบ 30 ปีราคาจึงจะกลับมาอยู่ที่เดิม


หุ้น ก็มีขึ้นและมีลง อย่าคิดว่าเก็บเอาไว้สักสิบปีถึงอย่างไรก็กำไรแน่ๆ จากกราฟข้างบน หากซื้อหุ้นเมื่อปี 1980 แล้วขายในปี 1990 ก็มีกำไร แต่หากซื้อในปี 1990 แล้วขายในปี 2000 ก็ยังขาดทุน แม้จะเป็นหุ้นที่มีเงินปันผลก็ยังไม่แน่ว่ามีกำไร

รูปแบบการออมคงต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพของบุคคล ผู้ที่มีรายได้เกินพอ เงินเก็บมากมาย ก็อาจเลือกวิธีการออมที่ไม่เน้นให้มีดอกผลงอกเงยก็ได้เพราะว่ามีเยอะอยู่ แล้ว การออมที่ดอกผลต่ำความเสี่ยงก็มักจะต่ำด้วย เงินต้นก็ปลอดภัยดี แต่สำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่มากนัก มีกำลังการออมที่จำกัด อาจเลือกวิธีการออมที่เน้นให้ดอกผลสูงเพราะต้องการให้เงินช่วยทำงานด้วย มิฉะนั้นจะออมไม่ถึงเป้า

ต้องออมเท่าไร ขึ้นกับว่าเกษียณแล้วต้องการรายได้เท่าไร และจะอยู่ไปอีกกี่ปี

การที่จะตอบคำถามว่าต้องออมเท่าไรและเลือกวิธีการออมอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับว่า ผู้ออมต้องการสร้างบำนาญหลังเกษียณเท่าไร ดังนั้นคำตอบจึงแทบจะเป็นเรื่องครอบจักรวาลเพราะว่าต่างคนก็ต่างความคิด ต่างความต้องการ ยากที่จะเหมือนกัน ดังนั้นจึงยากที่จะมีสูตรสำเร็จสำหรับใช้กับทุกๆคนได้ แต่ละคนจึงต้องนำแนวทางที่มีอยู่แล้วไปปรับเพื่อให้เข้ากับตนเอง

แต่เพื่อให้มองเห็นภาพบ้าง หนังสือหลายๆเล่มมีสูตรสำหรับรายได้หลังเกษียณว่าควรจะประมาณ 70% ของรายได้เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณ แต่ก็มองเห็นภาพได้ยากเพราะว่าแต่ละคนรายได้ไม่เท่ากัน 70% ของบางคนอาจมากมาย และของบางคนอาจมีไม่มากนักก็ได้ อีกประการ สูตรนี้มักใช้กับผู้ที่มีเงินเดือนประจำ แต่สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระหรือรายได้ไม่แน่นอนก็ยากจะใช้ได้

ลุงแมวน้ำขอตอบคำถามข้อนี้โดยอิงจากภาระค่าใช้จ่ายน่าจะดีกว่า โดยเราลองมาประเมินกันคร่าวๆว่าผู้สูงอายุควรมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
  • ค่าเช่าบ้าน ไม่น่าจะมี ถึงวัยนี้ควรมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองแล้ว มิฉะนั้นคงไม่สามารถออมเงินเพื่อสร้างบำนาญได้
  • ค่าอาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ค่าเดินทาง พอๆกับก่อนเกษียณ อาจน้อยกว่าก็ได้ เพราะว่าเมื่อเกษียณแล้วอาจไม่ต้องแต่งตัวมากนัก
  • ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ จำเป็นต้องมี ผู้สูงอายุควรมีประกันสุขภาพเอาไว้ แม้จะมีประกันสังคมอยู่แล้วก็ตาม
  • ค่ายา ค่าแพทย์ ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ผู้สูงอายุมักมีปัญหาสุขภาพ บางส่วนอาจต้องออกเองเนื่องจากเบิกประกันไม่ได้
  • ค่าใช้จ่ายสันทนาการ พักผ่อนหย่อนใจ ทำบุญ ฯลฯ อันเป็นการบำรุงรักษาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
  • ค่า คนดูแล ค่าอุปกรณ์และวัสดุจำเป็นบางอย่าง กรณีที่ผู้สูงอายุสุขภาพไม่ดีจริงๆอาจต้องจ้างคนดูแลและอาจมีค่าใช้จ่ายสิ้น เปลืองเพิ่มเติมอื่นๆ
ฯลฯ

ลุงแมวน้ำคะเนเอาว่าภายในสิบปี ข้างหน้าค่าครองชีพในเมืองคงสูงกว่านี้มาก ดังนั้นผู้สูงอายุที่อยู่ในสังคมเมืองหากจะมีชีวิตตามสมควรก็น่าจะมีรายได้ เดือนละ 25,000 บาท โดยส่วนที่คาดการณ์ได้ยากคือค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพนั่นเอง

คำถามต่อมาก็คือ แล้วชีวิตหลังเกษียณจะอยู่ไปได้อีกสักกี่ปี จะได้คำนวณการออมถูก คำตอบก็คือไม่ทราบ เพราะว่าอายุขัยของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่จากข้อมูลทางสถิติพบว่าอายุขัยเฉลี่ยของชายไทยอยู่ที่ 68 ปี และของหญิงไทยอยู่ที่ 75 ปี การออมก็ต้องเผื่อเอาไว้บ้าง เผื่อว่าผู้ออมจะมีอายุขัยเกินค่าเฉลี่ย เงินออมจะได้ไม่หมดเสียก่อน ดังนั้นลุงแมวน้ำคิดเอาง่ายๆว่าต้องเตรียมบำนาญเผื่อเอาไว้จนถึงอายุ 85 หรือเตรียมเอาไว้นาน 25 ปีหลังเกษียณก็แล้วกัน

สรุปว่าหากต้องการมี รายได้หลังเกษียณเดือนละ 25,000 บาท และอยู่ไปได้จนถึงอายุ 85 ปี จะต้องเตรียมเงินบำนาญเอาไว้ถึง 25,000 x (25 x 12) = 7,500,000 บาท (คิดแบบง่ายๆ ไม่คิดอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อใดๆ)

เจ็ดล้านห้าแสนบาท!

เนื่องจากลุงแมวน้ำต้องการมีเงินก้อน 7,500,000 บาท เพื่อสร้างบำนาญหลังการเกษียณอายุขึ้นมาเอง นอกจากนี้ลุงแมวน้ำยังมีความจำเป็นต้องเก็บออมเพื่อการอื่นอีก ดังนั้นลุงแมวน้ำจึงมีความคิดที่จะทำเป็นโครงการลงทุนเพื่อจัดทำกองทุนบำนาญ ของลุงแมวน้ำเอง ใช้เงินต้นจากการออมจำนวนหนึ่ง โดยให้กองทุนนี้สามารถเกิดดอกผลงอกงามต่อไปได้จนครบตามเป้า

ข้อกำหนดเบื้องต้น


เมื่อลุงแมวน้ำจะทำโครงการลงทุน คงต้องมีข้อกำหนดเบื้องต้นกันก่อน ข้อกำหนดเบื้องต้นของลุงแมวน้ำเป็นดังนี้

  1. ใช้ เงินออมในการตั้งโครงการลงทุน 192,000 บาท โดยเริ่มลงทุนเมื่อได้เงินครบ 120,000 บาท ที่เหลือทยอยออมเดือนละ 2,000 บาทอีกเป็นเวลา 3 ปี จนครบ 192,000 บาทในที่สุด
  2. ลงทุนในฟิวเจอร์สเป็นหลัก ใช้การเทรดตามแนวโน้มตลาดและเทรดอย่างเป็นระบบตามสัญญาณซื้อขายเมื่อสิ้นวัน (คือ eod trade ไม่ใช้ intraday trade)
  3. ในแต่ละปี เมื่อมีกำไรให้นำเงินกำไรมาลงทุนต่อ
  4. เป้าหมายของโครงการนี้คือกองทุนบำนาญขนาด 7,500,000 บาท
  5. ระยะเวลาของโครงการ 10-15 ปี
  6. อย่าหวังรวย อย่าหวังรวยจากโครงการลงทุนนี้ ขอให้มีทัศนคติในการทำโครงการเพียงเพื่อการยังชีพตามสมควรเท่านั้น
  7. เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการลงทุน การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเงิน 192,000 บาทนี้อาจขาดทุนและสูญเงินต้นไปจนหมดได้ ดังนั้นหากยังทำใจไม่ได้กับการสูญเงินจำนวนนี้ก็ยังไม่ควรเริ่มต้นโครงการ
หลายคนคงแปลกใจกับข้อกำหนดสองข้อสุดท้าย เหตุผลก็คือ การเทรดหุ้นหรือว่าฟิวเจอร์สอย่างเป็นระบบนั้น ส่วนที่สำคัญที่สุดคือการควบคุมความโลภและความกลัว ความโลภเกิดจากเมื่อได้กำไรแล้วย่ามใจ ความกลัวเกิดจากการขาดทุนแล้วเข็ดขยาด สองประการนี้ทำให้เกิดการเสียวินัยในการเทรดและจะนำไปสู่ความหายนะอย่างแท้จริงในที่สุด ดังนั้นในการเทรดอย่างเป็นระบบนั้นต้องเริ่มต้นด้วยการปรับทัศนคติเสียก่อนและก็เท่ากับเป็นการฝึกอุเบกขาธรรมไปด้วยในตัว เมื่อควบคุมความโลภและความกลัวได้ เป้าหมายของโครงการก็จะบรรลุได้

นอกจากนี้ เพื่อลดความซับซ้อนและทำให้เข้าใจง่ายที่สุด ลุงแมวน้ำจึงทำโครงการบำนาญสำหรับตัวลุงแมวน้ำเองเท่านั้น ไม่ได้รวมบำนาญของป้าแมวน้ำเข้ามาด้วย แต่หากเข้าใจหลักการก็สามารถนำไปต่อยอดได้


การลงทุนและผลงานการลงทุน

เพื่อความสะดวกรวดเร็วและเพื่อไม่ให้ต้องคอยนาน ลุงแมวน้ำจะขอสมมติว่าเริ่มการลงทุนตั้งแต่ปี 2009 และมีการเตรียมการมาตั้งแต่ปี 2008 ดังนี้

ปี 2008 (พ.ศ. 2551)

เตรียมการลงทุนโดยจัดเตรียมเงินออม ศึกษาการเทรดนามแนวโน้มอย่างเป็นระบบ เปิดพอร์ตการลงทุนกับโบรกเกอร์ทั้งโบรกเกอร์หลักทรัพย์ (หุ้นและ Tfex) และโบรกเกอร์สินค้าเกษตร

การลงทุนในปีที่ 1 (ปี 2009 พ.ศ. 2552)

ปีนี้เป็นปีแรกของการลงทุน ลุงแมวน้ำใช้เงินในการลงทุนขั้นต้น 120,000 บาท ส่วนที่เหลือออมรายเดือน เดือนละ 2,000 บาท

เงิน 120,000 บาทจะนำมาใช้ลงทุนอย่างไร คำตอบก็คือเงินจำนวนนี้คือเงินจำนวนน้อยที่สุดที่จะเทรดฟิวเจอร์สได้นั่นเอง โดยในการเทรดฟิวเจอร์สนั้น ปี 2009 มีสินค้าอะไรให้เทรดได้บ้าง

  • S50 ตลาด Tfex ใช้ IM (initial margin หรือมาร์จินตั้งต้น) 50,000 บาท
  • RSS ยางพาราตลาด Afet ใช้ IM 20,000 บาท
  • WBR ข้าวขาว กับ TC มันสำปะหลัง ตลาด Afet ปริมาณการซื้อขายแทบไม่มี จึงไม่นำมาพิจารณา

อาศัยสูตรการเตรียมเงินสำหรับเทรดฟิวเจอร์ส นั่นคือ 3.5 เท่าของ IM+MM หรือเขียนเป็นสมการได้ว่า
เงินที่ต้องเตรียม = 3.5 x (IM + MM)

ดังนั้นหากต้องการเทรด RSS ต้องเตรียมเงินไว้ = 3.5 x (20000+15000) = 122,500 บาท

และหากต้องการเทรด S50 ต้องเตรียมเงินไว้ = 3.5 x (50000 +35000) = 297,500 บาท

ลุงแมวน้ำจึงเลือกที่จะเทรดฟิวเจอร์สของยางพาราเนื่องจากเป็นฟิวเจอร์สที่ใช้เงินน้อยกว่า S50

ลุงแมวน้ำเข้าเทรดเมื่อเกิดสัญญาณซื้อครั้งแรกของยางพาราเมื่อวันที่ 13/03/2009 ที่ราคา 51 บาท ภาวการณ์ในขณะนั้นลุงแมวน้ำประเมินว่าอาจจะจบคลื่น A หรือไม่ก็คลื่น C ไปแล้ว หากจบคลื่น A เราก็กำลังอยู่ในคลื่น B และหากจบ C เราก็กำลังอยู่ในคลื่น 1 ซึ่งคลื่นขาขึ้นทั้งคู่อีกทั้งเป็นช่วงต้นลูกคลื่นเสียด้วย ดังกราฟต่อไปนี้



และเมื่อสิ้นปี ลุงแมวน้ำได้กำไรจากยางพารา 1 สัญญานั้นเป็นเงิน 156,435 บาท ดังรายงานสรุปเมื่อสิ้นปี 2009 ดังนี้



เท่ากับว่าขณะนี้กองทุนบำนาญสามารถทำรายได้เลี้ยงลุงแมวน้ำหลังเกษียณได้เดือนละ 1,001 บาทจนถึงอายุ 85 ปี

การลงทุนในปีที่ 2 (ปี 2010 พ.ศ. 2553)

เมี่อต้นปีที่สอง ลุงแมวน้ำมีทุนอยู่ในโครงการทั้งสิ้นเป็นเงิน 300,435 บาท โดยรวมจากเงินลงทุนต้นปี เงินกำไร และเงินออมที่เก็บในระหว่างปีนำมาสมทบ

ในปีที่สองนี้ลุงแมวน้ำจะลงทุนอย่างไรดี

เงินสามแสนบาทหากต้องการเทรด S50 ก็จะเทรดได้หนึ่งสัญญา โดยต้องเลิกเทรด RSS ไปเนื่องจากหากเทรดทั้ง S50 และ RSS เงินสำรองที่ต้องกันเอาไว้จะไม่พอ ดังนั้นลุงแมวน้ำจึงตัดสินใจเลือกเทรด RSS เพิ่มอีกหนึ่งสัญญาแทน โดยในปีนี้เท่ากับว่าลุงแมวน้ำเทรดยางพารา 2 สัญญา โดยยางพาราสัญญาที่สองนั้นเข้าเทรดเมื่อเปิดสัญญาณซื้อในวันที่ 5/02/2010 ที่ราคา 99 บาท

เทรดยางพารา 2 สัญญาต้องเตรียมเงินลงทุนประมาณ 240,000 บาท ดังนั้นลุงแมวน้ำจึงยังเหลือเงินทุนอยู่ 60,000 บาท จึงนำไปซื้อกองทุนน้ำมัน K-OIL เอาไว้ ดังที่เคยวิเคราะห์เอาไว้แล้วว่าในปีนี้น้ำมันน่าสนใจกว่าทองคำเพราะว่า น้ำมันยังอยู่ในคลื่น 3 ขณะที่ทองคำใกล้จบคลื่น 5 แล้ว

ผลการลงทุนในรอบปีที่สอง คำนวณ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ปรากฏผลกำไรขาดทุนเป็นดังนี้



ผลการลงทุนในรอบปีที่สอง คำนวณ ณ สิ้นเดือนมีนาคม ปรากฏผลกำไรขาดทุนเป็นดังนี้



ผลการลงทุนในรอบปีที่สอง คำนวณ ณ สิ้นเดือนเมษายน ปรากฏผลกำไรขาดทุนเป็นดังนี้



ผลการลงทุนในรอบปีที่สอง คำนวณ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ทั้งยางและน้ำมันดิบราคาตก กองทุนน้ำมันเกิดสัญญาณขายซึ่งลุงแมวน้ำประเมินทิศทางของน้ำมันดิบแล้วจึงตัดสินใจขายไปเมื่อ 6 พ.ค. ปรากฏผลกำไรขาดทุนเป็นดังนี้



ผลการลงทุนในรอบปีที่สอง คำนวณ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ยางพาราเกิดสัญญาณหลอกจึงทำให้ขาดทุนเพิ่ม และเดือนนี้ไม่ได้ถือกองทุนน้ำมันแล้ว ปรากฏผลกำไรขาดทุนเป็นดังนี้



ผลการลงทุนในรอบปีที่สอง คำนวณ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ยางพาราเกิดสัญญาณหลอกถึง 2 ครั้งติดกัน รวมทั้งตกรถไปครั้งหนึ่ง ทำให้คืนกำไรไปโข ยอดขาดทุนสุทธิมากขึ้นกว่าเดือนที่แล้ว แต่ขณะนี้น่าจะตามแนวโน้มมาได้ถูกทางแล้ว และกองทุนสินค้าเกษตรเริ่มเห็นกำไรแล้ว ต่อไปผลขาดทุนสุทธิน่าจะเริ่มลดลงและทำกำไรได้ในที่สุด ปรากฏผลกำไรขาดทุน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมเป็นดังนี้



ผลการลงทุนในรอบปีที่สอง คำนวณ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ยางพาราอยู่ในสภาพแนวโน้มขาขึ้นแล้ว ดังนั้นเมื่อมีแนวโน้ม การเทรดตามแนวโน้มจึงเริ่มให้ผลกำไรไปลดการขาดทุนสะสมลง และกองทุนสินค้าเกษตรเริ่มเห็นกำไรมากขึ้นแล้ว ปรากฏผลกำไรขาดทุน ณ สิ้นเดือนสิงหาคมเป็นดังนี้



ผลการลงทุนในรอบปีที่สอง คำนวณ ณ สิ้นเดือนกันยายน ยางพาราอยู่ในสภาพแนวโน้มขาขึ้นแล้วทำให้ตัดขาดทุนจากสัญญาณหลอกที่ผ่านมาได้จนหมดและเริ่มมีกำไรแล้ว กองทุนสินค้าเกษตรก็อยู่ในทิศทางขาขึ้น พอร์ตการลงทุนดูดีขึ้นกว่าเดือนที่แล้ว




ผลการลงทุนในรอบปีที่สอง คำนวณ ณ สิ้นเดือนตุลาคม พอร์ตการลงทุนได้กำไรจากยางพารามากขึ้น กองทุนสินค้าเกษตรก็อยู่ในทิศทางขาขึ้น พอร์ตการลงทุนตอนนี้สามารถสร้างบำนาญหลังเกษียณ 25 ปีได้ถึงเดือนละ 1,496 บาทแล้ว



ผลการลงทุนในรอบปีที่สอง คำนวณ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน เดือนนี้เป็นเดือนที่ลุงแมวน้ำจัดการอะไรต่ออะไรไปหลายอย่างเกี่ยวกับพอร์ตการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุนี้ ซึ่งลุงแมวน้ำจะขอแจกแจงดังนี้

  1. ราคายางปรับตัวสูงขึ้น สินค้าเกษตรในตลาดโลกก็มีราคาสูงขึ้น ทำให้พอร์ตการลงทุนมีกำไรเพิ่มมากขึ้น กำไรจากการเทรดฟิวเจอร์สยางพารากับกำไรจากกองทุน K-Agri รวมแล้วประมาณ 245,000 บาท
  2. เนื่องจากลุงแมวน้ำติดตามฟิวเจอร์ของ SET50 (SET50 furutres, S50) มาโดยตลอด เห็นว่าเกิดสัญญาณซื้อมาเป็นเวลานานหลายเดือนแล้ว จากการสังเกตคาดว่าอีกไม่นานอาจเกิดสัญญาณขาย รวมทั้งอาจกลับทิศแนวโน้มก็ได้ ประกอบกับกองทุนรวม K-Agri เกิดสัญญาณขายเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ดังนั้นลุงแมวน้ำจึงขายกองทุน K-Agri ไปเมื่อวันที่ 17 พ.ย.
  3. กำไรจากยางพารา กำไรจาก K-Agri รวมทั้งเงินต้นที่ลงทุนใน K-Agri กับเงินออมรายเดือน ทั้ง 4 รายการนี้เป็นเงินรวมกันประมาณ 300,000 บาท เท่ากับว่าลุงแมวน้ำมีเงินพอที่จะเทรด S50 ได้แล้ว (การเทรด S50 ต้องเตรียมเงินเพื่อการเทรดเอาไว้เป็นจำนวน 3.5 เท่าของ IM+MM ซึ่งเป็นเงินประมาณ 300,000) บาท
  4. เมื่อวันที่ 26 พ.ย. S50 เกิดสัญญาณขาย ลุงแมวน้ำจึงเริ่มการลงทุนใน S50 ด้วยการเปิดสัญญาขาย S50 เอาไว้ที่ 685.80 จุด
  5. ขณะนี้ลุงแมวน้ำเทรดฟิวเจอร์สอยู่ 3 สัญญา คือยางพารา RSS3 2 สัญญา และ S50 1 สัญญา นั่นหมายความว่าลุงแมวน้ำต้องเตรียมเงินลงทุนเอาไว้ตามสูตร 3.5 เท่าของ IM+MM คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 542,500 บาท โดยเงินจำนวนนี้เป็นเงินที่สำรองเอาไว้เผื่อการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นได้
  6. สืบเนื่องจากข้อ 5 แต่ในการเทรดจริงๆนั้นไม่ต้องนำเงินไปวางกับโบรกเกอร์หมดทั้งจำนวนนี้ เราสามารถวางเพียงส่วนหนึ่ง แล้วส่วนหนึ่งเราเก็บเอาไว้เอง หากขาดทุนมากจนเงินที่วางเอาไว้กับโบรกเกอร์ไม่เพียงพอจึงค่อยๆทยอยนำเงินทุนสำรองนี้เติมลงไป เงินส่วนหนึ่งที่เราเก็บเอาไว้เองนี้ปกติลุงแมวน้ำฝากเอาไว้ในบัญชีออมทรัพย์ แต่เนื่องจากบัญชีออมทรัพย์ได้ผลตอบแทนต่ำมาก หากพักเงินเอาไว้ในบัญชีออมทรัพย์แทบไม่ได้ผลตอบแทนอะไร ลุงแมวน้ำจึงจัดการเสียใหม่ โดยแบ่งเงินทุนสำรองในการเทรดฟิวเจอร์ส ออกมาครึ่งหนึ่ง แล้วนำมาพักไว้ในกองทุนรวมตราสารหนี้ซึ่งให้ดอกผลดีกว่าอัตราดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์ การนำเงินสำรองในการเทรดไปพักไว้ในกองทุนรวมตราสารหนี้นั้นถือเป็นการพักเงิน ไม่ได้ถือเป็นการลงทุนเนื่องจากกองทุนตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นและฟิวเจอร์ส ลุงแมวน้ำเลือกพักเงินไว้ที่กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนเปิดกรุงศรีโทเทิลรีเทิร์นบอนด์ (Krungsri Total Return Bond Fund, KF-TRB) อันเป็นกองทุนรวมประเภทลงทุนในต่างประเทศ (FIF) เป็นจำนวนเงิน 275,000 บาท
  7. ลุงแมวน้ำแบ่งเงินกำไรส่วนหนึ่ง จำนวน 10,000 บาทไปซื้อ ปฏิทินสงเคราะห์สัตว์ - โครงการเพื่อนข้างถนน เพื่อเอาไว้แจกเด็กๆที่มาชมการแสดงของลุงแมวน้ำถือเป็นของขวัญปีใหม่ รวมทั้งได้ช่วยเหลือสุนัขและแมวจรจัดด้วยอันเป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขและแบ่งปันเพื่อช่วยเหลือชีวิตอื่นๆ ดังที่ลุงแมวน้ำเคยบอกเอาไว้ว่าเงินกำไรที่ได้มาจากการลงทุนในตลาดหุ้นหรือตลาดฟิวเจอร์สนั้นส่วนหนึ่งมาจากหยาดเหงื่อและน้ำตาของผู้อื่น ดังนั้นควรเทรดด้วยความเมตตา ควรรู้จักพอประมาณ รวมทั้งเมื่อได้มาแล้วควรมีการแบ่งปันด้วยจึงจะถือได้ว่าเป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขกัน
ผลการลงทุนในเดือนพฤศจิกายนนี้ พอร์ตลงทุนของลุงแมวน้ำสามารถเลี้ยงลุงแมวน้ำหลังจากเกษียณไปแล้วเดือนละ 1,799 บาทเป็นเวลา 25 ปี




ผลการลงทุนในเดือนธันวาคมนี้อันเป็นการสรุปการลงทุนสิ้นปี 2553 พอร์ตลงทุนของลุงแมวน้ำมีทรัพย์สิน 682,031 บาท โดยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอีก 381,596 บาท เมื่อเทียบกับตอนสิ้นปี 2552

ทรัพย์สินของกองทุนในขณะนี้สามารถใช้เป็นบำนาญหลังเกษียณได้เดือนละ 2,273 บาทเป็นเวลา 25 ปี เทียบกับเมื่อตอนเริ่มต้นโครงการเมื่อต้นปี 2009 ด้วยเงินลงทุน 120,000 บาท ซึ่งเท่ากับรายได้หลังเกษียณเดือนละ 400 บาทตลอด 25 ปี




การลงทุนในปีที่ 3 (ปี 2011 พ.ศ. 2554)

หลังจากการลงทุนผ่านไป 2 ปี พอร์ตลงทุนเพื่อการเกษียณอายุของลุงแมวน้ำก็เติบโตขึ้น มียอดยกมาจากปีที่แล้ว (ปี 2010, 2553) 682,031 บาท ลองมาติดตามการลงทุนในปีที่ 3 กันต่อไป

ในเดือนแรกของปีที่ 3 หรือว่าในเดือนที่ 25 ของการลงทุนนี้ พอร์ตการลงทุนได้กำไรจากราคายางพาราที่ทะยานขึ้นมาอีกประมาณสองแสนกว่าบาทบาท ส่วน S50 นั้นลุงแมวน้ำได้กำไรจากตลาดขาลง ทำให้การขาดทุนสะสมลดลง กองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนเอาไว้ก็กลับมามีกำไร

ลุงแมวน้ำแบ่งเงินส่วนหนึ่ง จำนวน 20,000 บาทมาใช้ในการทำหมันหมาจรจัดและแมวจรจัด ทำได้ประมาณ 20 กว่าตัว แม้ว่าการทำหมันหมาจรจัดและแมวจรจัดจะเป็นการแก้ปัญหาสัตว์จรจัดแบบกลางเหตุ (ต้นเหตุคือคนทิ้งสัตว์ และสัตว์จรจัดสืบพันธุ์โดยไร้การควบคุม ผลก็คือสัตว์จรจัดเพิ่มปริมาณมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาสัตว์จรจัดล้นเมือง โรคปัญหาพิษสุนัขบ้า และปัญหาสัตว์ทำร้ายคน รวมทั้งปัญหาอื่นๆตามมา) แต่ก็ยังพอช่วยได้บ้าง ส่วนใหญ่เป็นสุนัขจรจัดและแมวจรจัดตามสถานที่ก่อสร้าง

อาจมีบางคนตั้งข้อสงสัยว่า หากพอร์ตลงทุนมีค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการลงทุนจะไม่ทำให้ผลตอบแทนของกองทุนลดน้อยลงไปหรือ คำตอบก็คือลดลงไปบ้างจริง แต่ความคิดของลุงแมวน้ำก็คือเรื่องการแบ่งปันไม่จำเป็นต้องรอ ไม่ต้องรอให้รวยหรือไม่ต้องรอให้ได้กำไรมากๆเสียก่อนจึงค่อยแบ่งบันเนื่องจากความเดือดร้อนและความทุกข์นั้นไม่รอเวลา ความช่วยเหลือเพื่อแบ่งเบาความทุกข์ก็ไม่ควรรีรอเช่นกัน การให้เเป็นเหตุให้เกิดความสุขมากยิ่งกว่าการรับ ลุงแมวน้ำสร้างพอร์ตการลงทุนขึ้นมาเพื่อสะสมเงินเอาไว้เพื่อให้สบายกายในยามชรา แต่ถ้าพอร์ตการลงทุนนี้สามารถสร้างความสุขใจได้ในเวลาปัจจุบัน ก็ยิ่งน่าจะเป็นเรื่องดีขึ้นไปอีก ได้ทั้งสบายใจ ได้ทั้งสบายกาย ดังนั้นลุงแมวน้ำจึงมีความตั้งใจเอาไว้ว่าพอร์ตการลงทุนนี้จะมีค่าใช้จ่ายเพื่อการแบ่งปันบรรเทาทุกข์ได้ตามสมควร

สรุปแล้ว ณ สิ้นเดือน มกราคม 2553 ลุงแมวน้ำสามารถสร้างบำนาญเลี้ยงตูเองในยามชราได้แล้วเดือนละ 2,973 บาท




พอร์ตการลงทุนของโครงการนี้จะปรับปรุงยอดทุกสิ้นเดือนและนำมาโพสต์ในต้นเดือนถัดไป สามารถคลิกดูได้ที่เมนูด้านขวาใต้สารบัญ ดังภาพข้างล่างนี้

11/03/2010 * โครงการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ บำนาญสร้างเองของลุงแมวน้ำ (5)

วันนี้ดัชนี SET ปิดที่ 725.95 จุด เพิ่มขึ้น 5.11 จุด

สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 โปรแกรมของลุงแมวน้ำวันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ขณะนี้ถือหุ้นอยู่ 35 ตัว

สำหรับกลุ่มฟิวเจอร์ส วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย

กลุ่ม ดัชนีต่างประเทศ วันนี้ไม่มีสัญญาณซื้อขาย ดัชนีต่างประเทศในรายงานเป็นสัญญาณซื้อทั้งหมด ดัชนี DAX ของเยอรมนีเปลี่ยนจากสภาวะไร้ทิศทางเป็น uptrend แล้ว

โครงการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ บำนาญสร้างเองของลุงแมวน้ำ (5)

เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และเพื่อไม่ให้ต้องคอยนาน ลุงแมวน้ำจะขอสมมติว่าเริ่มการลงทุนตั้งแต่ปี 2009 และมีการเตรียมการมาตั้งแต่ปี 2008 ดังนี้

ปี 2008 (พ.ศ. 2551)

เตรียมการลงทุนโดยจัดเตรียมเงินออม ศึกษาการเทรดนามแนวโน้มอย่างเป็นระบบ เปิดพอร์ตการลงทุนกับโบรกเกอร์ทั้งโบรกเกอร์หลักทรัพย์ (หุ้นและ Tfex) และโบรกเกอร์สินค้าเกษตร

ารลงทุนในปีที่ 1 (ปี 2009 พ.ศ. 2552)

ปีนี้เป็นปีแรกของการลงทุน ลุงแมวน้ำใช้เงินในการลงทุนขั้นต้น 120,000 บาท ส่วนที่เหลือออมรายเดือน เดือนละ 2,000 บาท

เงิน 120,000 บาทจะนำมาใช้ลงทุนอย่างไร คำตอบก็คือเงินจำนวนนี้คือเงินจำนวนน้อยที่สุดที่จะเทรดฟิวเจอร์สได้นั่นเอง โดยในการเทรดฟิวเจอร์สนั้น ปี 2009 มีสินค้าอะไรให้เทรดได้บ้าง

  • S50 ตลาด Tfex ใช้ IM (initial margin หรือมาร์จินตั้งต้น) 50,000 บาท
  • RSS ยางพาราตลาด Afet ใช้ IM 20,000 บาท
  • WBR ข้าวขาว กับ TC มันสำปะหลัง ตลาด Afet ปริมาณการซื้อขายแทบไม่มี จึงไม่นำมาพิจารณา

อาศัยสูตรการเตรียมเงินสำหรับเทรดฟิวเจอร์ส นั่นคือ 3.5 เท่าของ IM+MM หรือเขียนเป็นสมการได้ว่า
เงินที่ต้องเตรียม = 3.5 x (IM + MM)

ดังนั้นหากต้องการเทรด RSS ต้องเตรียมเงินไว้ = 3.5 x (20000+15000) = 122,500 บาท

และหากต้องการเทรด S50 ต้องเตรียมเงินไว้ = 3.5 x (50000 +35000) = 297,500 บาท

ลุงแมวน้ำจึงเลือกที่จะเทรดฟิวเจอร์สของยางพาราเนื่องจากเป็นฟิวเจอร์สที่ใช้เงินน้อยกว่า S50

ลุงแมวน้ำเข้าเทรดเมื่อเกิดสัญญาณซื้อครั้งแรกของยางพาราเมื่อวันที่ 13/03/2009 ที่ราคา 51 บาท ภาวการณ์ในขณะนั้นลุงแมวน้ำประเมินว่าอาจจะจบคลื่น A หรือไม่ก็คลื่น C ไปแล้ว หากจบคลื่น A เราก็กำลังอยู่ในคลื่น B และหากจบ C เราก็กำลังอยู่ในคลื่น 1 ซึ่งคลื่นขาขึ้นทั้งคู่อีกทั้งเป็นช่วงต้นลูกคลื่นเสียด้วย ดังกราฟต่อไปนี้



และเมื่อสิ้นปี ลุงแมวน้ำได้กำไรจากยางพารา 1 สัญญานั้นเป็นเงิน 156,435 บาท ดังรายงานสรุปเมื่อสิ้นปี 2009 ดังนี้



เท่ากับว่าขณะนี้กองทุนบำนาญสามารถทำรายได้เลี้ยงลุงแมวน้ำหลังเกษียณได้เดือนละ 1,001 บาท จนถึงอายุ 85 ปี

การลงทุนในปีที่ 2 (ปี 2010 พ.ศ. 2553)

เมี่อต้นปีที่สอง ลุงแมวน้ำมีทุนอยู่ในโครงการทั้งสิ้นเป็นเงิน 300,435 บาท โดยรวมจากเงินลงทุนต้นปี เงินกำไร และเงินออมที่เก็บในระหว่างปีนำมาสมทบ

ในปีที่สองนี้ลุงแมวน้ำจะลงทุนอย่างไรดี

เงินสามแสนบาทหากต้องการเทรด S50 ก็จะเทรดได้หนึ่งสัญญา โดยต้องเลิกเทรด RSS ไปเนื่องจากหากเทรดทั้ง S50 และ RSS เงินสำรองที่ต้องกันเอาไว้จะไม่พอ ดังนั้นลุงแมวน้ำจึงตัดสินใจเลือกเทรด RSS เพิ่มอีกหนึ่งสัญญาแทน โดยในปีนี้เท่ากับว่าลุงแมวน้ำเทรดยางพารา 2 สัญญา โดยยางพาราสัญญาที่สองนั้นเข้าเทรดเมื่อเปิดสัญญาณซื้อในวันที่ 5/02/2010 ที่ราคา 99 บาท

เทรดยางพารา 2 สัญญาต้องเตรียมเงินลงทุนประมาณ 240,000 บาท ดังนั้นลุงแมวน้ำจึงยังเหลือเงินทุนอยู่ 60,000 บาท จึงนำไปซื้อกองทุนน้ำมัน K-OIL เอาไว้ ดังที่เคยวิเคราะห์เอาไว้แล้วว่าในปีนี้น้ำมันน่าสนใจกว่าทองคำเพราะว่าน้ำมันยังอยู่ในคลื่น 3 ขณะที่ทองคำใกล้จบคลื่น 5 แล้ว

ผลการลงทุนในรอบปีที่สอง คำนวณ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ปรากฏผลกำไรขาดทุนเป็นดังนี้


กองทุนหดลงไปหน่อยเมื่อเทียบกับตอนสิ้นปี 2009 แต่อย่าเพิ่งตกใจ โปรดตามดูไปเรื่อยๆก่อน จากนี้เป็นต้นไปลุงแมวน้ำจะมาปรับปรุงสรุปยอดกองทุนให้เราดูกันทุกเดือน ลองมาดูกันว่าบำนาญสร้างเองของลุงแมวน้ำจะไปถึงเป้าหมายเมื่อไร