วันนี้ SET ปิดที่ 542.69 จุด ลดลงมา 7.82 จุด
สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 โปรแกรมของลุงแมวน้ำวันนี้ยังไม่มีการซื้อหรือขาย คงถืออยู่ 46 ตัวเท่าเมื่อวาน
สำหรับพอร์ตจำลองในกลุ่มฟิวเจอร์ส ยังคงสถานะเช่นเดิมเหมือนเมื่อวานเช่นกัน ที่จริงเมื่อวานราคายางไหลลงมาแรง ราคาเกือบถึงจุดขายตามโปรแกรมของลุงแมวน้ำอยู่เหมือนกัน แต่โชคดีที่ยังไม่ถึง จึงยังไม่ต้องขาย
เมื่อวานเราคุยกันถึงเรื่องดัชนีดอลลาร์หรือว่า dollar index วันนี้มาดูกันต่ออีกเล็กน้อย
ปัจจัยค่าเงินดอลลาร์มีความสัมพันธ์กับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะตัวที่เราอาจสนใจกันมากก็คือทองคำและน้ำมันดิบ ลองดูกราฟราคาทองคำกับดัชนีดอลลาร์ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา จะเป็นดังภาพต่อไปนี้ เส้นสีดำคือดัชนีดอลลาร์ ดูค่าจากแกนซ้ายมือ ส่วนแท่งเทียนเขียวแดงคือราคาทองคำ อ่านค่าได้จากแกนขวามือ ดัชนีดอลลาร์และราคาทองคำมักผกผันกัน กล่าวคือ เมื่อดอลลาร์อ่อน ราคาทองคำจะแข็ง เมื่อดอลลาร์แข็ง ราคาทองคำจะ่อ่อน
จากที่เราได้พิจารณากันเมื่อวาน ที่เรายังลังเลว่าขณะนี้ดัชนีดอลลาร์ในระดับคลื่นใหญ่รายปีนั้นกำลังอยู่ที่ใด ระหว่าง
1. จบ C ไปแล้ว หรือ
2. กำลังทำ B อยู่ และต่อไปจะเป็น C
จากกราฟรูปบน เมื่อเราพิจารณาคลื่นของราคาทองประกอบด้วย ว่ากำลังอยู่ในคลื่นใหญ่ 5 ถ้าเช่นนั้น สมมติฐานตามข้อ 2. มีโอกาสเป็นไปได้มากกว่า กล่าวคือ เมื่อราคาทองคำอยู่ในคลื่น 5 ดัชนีดอลลาร์ก็อยู่ในคลื่น B-C และเมื่อทองคำจบคลื่น 5 ดัชนีดอลลาร์ก็จะจบคลื่น C พอดี
จากนั้นเมื่อทองคำเข้าสู่คลื่นขาลง A-B-C ดัชนีดอลลาร์ก็เข้าสู่คลื่นขาขึ้น 1-2-3-4-5 รูปการณ์เช่นนี้ดูจะสอดคล้องกันดี
ดัชนีดอลลาร์เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับราคาทองคำในรูปอัตราส่วน หรือว่า gold-dollar ratio จะแสดงได้ดังภาพต่อไปนี้
ค่า gold-dollar ratio ที่ผ่านมาในรอบ 20 ปีไม่เคยเกิน 14 ค่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ในทำนองเดียวกัน ดัชนีดอลลาร์สามารถนำมาเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันดิบในรูป oil-dollar ratio ได้เช่นกัน ดังภาพนี้
Wednesday, May 27, 2009
Tuesday, May 26, 2009
25/05/2009 * DX
วันนี้ SET ปิดที่ 550.51 จุด ลดลงมา 3.51 จุด
สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 โปรแกรมของลุงแมวน้ำวันนี้ยังไม่มีการซื้อหรือขาย คงถืออยู่ 46 ตัวเท่าเมื่อวาน
สำหรับพอร์ตจำลองในกลุ่มฟิวเจอร์ส ยังคงสถานะเช่นเดิมเหมือนเมื่อวานเช่นกัน ตลาดสหรัฐอเมริกาวันนี้หยุดทำการ ดังนั้นราคาทองคำและน้ำมันดิบจึงเป็นราคาของวันที่ 22) ดูท่าโปรแกรมของลุงแมวน้ำอาจไม่ขายเลยตลอดช่วงคลื่น 4 ย่อยที่กำลังดำเนินอยู่นี้ก็ได้ ตอนนี้การแกว่งของคลื่นนี้ไปก่อน เมื่อไรที่เข้าสู่คลื่น 5 จะทำกำไรได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะไม่เจอกับสัญญาณลวงในช่วงคลื่น 4
หลายวันมานี้เราได้วิเคราะห์ดัชนีและสินค้าล่วงหน้าไปแล้วหลายตัว วันนี้เราจะมาดูกันอีกตัวหนึ่งซึ่งอยู่ในกลุ่มตลาด FOREX นั่นคือ Dollar Index หรือดัชนีดอลลาร์
ดัชนีดอลลาร์นั้นเอาไว้ใช้บ่งบอกค่าของเงินดอลลาร์ คล้ายๆกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสกุลต่างๆ เช่น ดอลลาร์ต่อเยน ดอลลาร์ต่อบาท ดอลลาร์ต่อปอนด์ เป็นต้น แต่การเทียบค่าดอลลาร์กับเงินสกุลต่างๆอาจทำให้เห็นภาพของค่าเงินดอลลาร์ไม่ชัดนัก เพราะเป็นการเปรียบเทียบกับเงินเพียงสกุลเดียว
ดัชนีดอลลาร์นั้นเป็นการบอกค่าของเงินดอลลาร์โดยเทียบกับตะกร้าเงินตราถึง 6 สกุล นั่นคือ ถ่วงน้ำหนักเทียบกับเงินสกุลยูโร, เยน, ปอนด์, ดอลลาร์แคนาดา, โครนาสวีเดน และฟรังก์สวิส โดยดัชนีดอลลาร์นี้เริ่มใช้เมื่อเดือนมีนาคม 1973 เมื่อเริ่มใช้ก็กำหนดให้มีค่าเป็น 100.00
ก่อนอื่นเรามาดูค่าดัชนีดอลลาร์ในกรอบเวลาที่นานมากๆก่อน เพื่อบ่งชี้ตำแหน่งของคลื่นใหญ่ จากภาพต่อไปนี้ (คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย) เป็นค่าดัชนีดอลลาร์ในรอบ 40 ปี กล่าวคือ ตั้งแต่เริ่มใช้ดัชนีนี้มาจนถึงปัจจุบัน จากกราฟเราจะแบ่งลูกคลื่นขนาดยักษ์ได้เป็น 2 ลูก โดยคลื่นลูกที่แล้วจบคลื่น C ในปี 1992 หลังจากปี 1992 เป็นต้นมา เราน่าจะกำลังอยู่ในคลื่นยักษ์หรือว่าคลื่นรายปีลูกปัจจุบัน
เมื่อพิจารณาดัชนีดอลลาร์ตั้งแต่ปี 1992 ถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นคลื่นใหญ่ลูกปัจจุบัน น่าจะนับได้ดังนี้
จากภาพ ข้อที่น่าลังเลเกี่ยวกับการนับคลื่นก็คือ ในปี 2008 นั้นเป็นการจบคลื่นใหญ่ A หรือจบคลื่นใหญ่ C กันแน่
ความเป็นไปได้ประการแรก ถ้าเป็นการจบคลื่นใหญ่ A ก็แปลว่าขณะนี้เรากำลังอยู่ในคลื่นใหญ่ B เมื่อไรที่เข้าสู่คลื่นใหญ่ C ดัชนีดอลลาร์จะร่วงลงได้มากกว่านี้อีกมาก
ความเป็นไปได้ประการที่สอง แต่ถ้าในปี 2008 นั้นเป็นการจบจบคลื่นใหญ่ C หมายความว่า คลื่นใหญ่ในช่วงปี 1992-2008 ได้จบสิ้นกระบวนคลื่น 1-2-3-4-5-A-B-C ไปแล้ว ขณะนี้เรากำลังอยู่ในคลื่นใหญ่ลูกใหม่อีกลูกหนึ่ง ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่ปี 2008 และขณะนี้เราน่าจะกำลังอยู่ในคลื่นย่อยขาขึ้น 1-2-3-4-5 ซึ่งถ้าเป็นในกรณีนี้ ต่อไปดัชนีดอลลาร์จะขึ้นได้อีกมาก เพราะขณะนี้เราเพิ่งอยู่ต้นคลื่นใหญ่เท่านั้น
ขณะนี้เราได้จบตลื่น A ไปแล้ว (ตามกรณีแรก) หรือว่าจบคลื่น C ไปแล้ว (ตามกรณีที่สอง) ก็ตาม ยังยากตอบได้ ดังนั้นปัญหานี้คงต้องตามดูกันต่อไป
ถ้าเช่นนั้นเราจะพิจารณาเชิงเทคนิคอย่างไร?
คำตอบก็คือ ถ้ากรอบเวลาที่นานมากๆยังแยกแยะได้ไม่ชัดเจน ขณะนี้เราก็ดูในกรอบเวลาแคบๆไปก่อน นั่นคือ ดูในช่วงปี 2008-2009 จะได้ภาพของคลื่นย่อยดังภาพต่อไปนี้
จากภาพในระดับคลื่นย่อย ขณะนี้ดัชนีดอลลาร์กำลังอยู่ในช่วงขาลงของลูกคลื่น นั่นคือ กำลังหาจุดจบของ a จากนั้นจะทำ b และ c ต่อไป โดยดัชนีดอลลาร์น่าจะจบคลื่น a ที่ 78.8 หรือ 75.5
ค่าเงินดอลลาร์มีผลกับราคาน้ำมัน ทองคำ และยาง ที่เราเทรดกันอยู่ แต่ควรใช้พิจารณาประกอบเท่านั้น การเทรดฟิวเจอร์สตัวใดก็ให้ดูเทคนิคจากราคาของตัวนั้นเป็นหลัก
สำหรับหุ้นในกลุ่ม SET50 โปรแกรมของลุงแมวน้ำวันนี้ยังไม่มีการซื้อหรือขาย คงถืออยู่ 46 ตัวเท่าเมื่อวาน
สำหรับพอร์ตจำลองในกลุ่มฟิวเจอร์ส ยังคงสถานะเช่นเดิมเหมือนเมื่อวานเช่นกัน ตลาดสหรัฐอเมริกาวันนี้หยุดทำการ ดังนั้นราคาทองคำและน้ำมันดิบจึงเป็นราคาของวันที่ 22) ดูท่าโปรแกรมของลุงแมวน้ำอาจไม่ขายเลยตลอดช่วงคลื่น 4 ย่อยที่กำลังดำเนินอยู่นี้ก็ได้ ตอนนี้การแกว่งของคลื่นนี้ไปก่อน เมื่อไรที่เข้าสู่คลื่น 5 จะทำกำไรได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะไม่เจอกับสัญญาณลวงในช่วงคลื่น 4
หลายวันมานี้เราได้วิเคราะห์ดัชนีและสินค้าล่วงหน้าไปแล้วหลายตัว วันนี้เราจะมาดูกันอีกตัวหนึ่งซึ่งอยู่ในกลุ่มตลาด FOREX นั่นคือ Dollar Index หรือดัชนีดอลลาร์
ดัชนีดอลลาร์นั้นเอาไว้ใช้บ่งบอกค่าของเงินดอลลาร์ คล้ายๆกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสกุลต่างๆ เช่น ดอลลาร์ต่อเยน ดอลลาร์ต่อบาท ดอลลาร์ต่อปอนด์ เป็นต้น แต่การเทียบค่าดอลลาร์กับเงินสกุลต่างๆอาจทำให้เห็นภาพของค่าเงินดอลลาร์ไม่ชัดนัก เพราะเป็นการเปรียบเทียบกับเงินเพียงสกุลเดียว
ดัชนีดอลลาร์นั้นเป็นการบอกค่าของเงินดอลลาร์โดยเทียบกับตะกร้าเงินตราถึง 6 สกุล นั่นคือ ถ่วงน้ำหนักเทียบกับเงินสกุลยูโร, เยน, ปอนด์, ดอลลาร์แคนาดา, โครนาสวีเดน และฟรังก์สวิส โดยดัชนีดอลลาร์นี้เริ่มใช้เมื่อเดือนมีนาคม 1973 เมื่อเริ่มใช้ก็กำหนดให้มีค่าเป็น 100.00
ก่อนอื่นเรามาดูค่าดัชนีดอลลาร์ในกรอบเวลาที่นานมากๆก่อน เพื่อบ่งชี้ตำแหน่งของคลื่นใหญ่ จากภาพต่อไปนี้ (คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย) เป็นค่าดัชนีดอลลาร์ในรอบ 40 ปี กล่าวคือ ตั้งแต่เริ่มใช้ดัชนีนี้มาจนถึงปัจจุบัน จากกราฟเราจะแบ่งลูกคลื่นขนาดยักษ์ได้เป็น 2 ลูก โดยคลื่นลูกที่แล้วจบคลื่น C ในปี 1992 หลังจากปี 1992 เป็นต้นมา เราน่าจะกำลังอยู่ในคลื่นยักษ์หรือว่าคลื่นรายปีลูกปัจจุบัน
เมื่อพิจารณาดัชนีดอลลาร์ตั้งแต่ปี 1992 ถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นคลื่นใหญ่ลูกปัจจุบัน น่าจะนับได้ดังนี้
จากภาพ ข้อที่น่าลังเลเกี่ยวกับการนับคลื่นก็คือ ในปี 2008 นั้นเป็นการจบคลื่นใหญ่ A หรือจบคลื่นใหญ่ C กันแน่
ความเป็นไปได้ประการแรก ถ้าเป็นการจบคลื่นใหญ่ A ก็แปลว่าขณะนี้เรากำลังอยู่ในคลื่นใหญ่ B เมื่อไรที่เข้าสู่คลื่นใหญ่ C ดัชนีดอลลาร์จะร่วงลงได้มากกว่านี้อีกมาก
ความเป็นไปได้ประการที่สอง แต่ถ้าในปี 2008 นั้นเป็นการจบจบคลื่นใหญ่ C หมายความว่า คลื่นใหญ่ในช่วงปี 1992-2008 ได้จบสิ้นกระบวนคลื่น 1-2-3-4-5-A-B-C ไปแล้ว ขณะนี้เรากำลังอยู่ในคลื่นใหญ่ลูกใหม่อีกลูกหนึ่ง ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่ปี 2008 และขณะนี้เราน่าจะกำลังอยู่ในคลื่นย่อยขาขึ้น 1-2-3-4-5 ซึ่งถ้าเป็นในกรณีนี้ ต่อไปดัชนีดอลลาร์จะขึ้นได้อีกมาก เพราะขณะนี้เราเพิ่งอยู่ต้นคลื่นใหญ่เท่านั้น
ขณะนี้เราได้จบตลื่น A ไปแล้ว (ตามกรณีแรก) หรือว่าจบคลื่น C ไปแล้ว (ตามกรณีที่สอง) ก็ตาม ยังยากตอบได้ ดังนั้นปัญหานี้คงต้องตามดูกันต่อไป
ถ้าเช่นนั้นเราจะพิจารณาเชิงเทคนิคอย่างไร?
คำตอบก็คือ ถ้ากรอบเวลาที่นานมากๆยังแยกแยะได้ไม่ชัดเจน ขณะนี้เราก็ดูในกรอบเวลาแคบๆไปก่อน นั่นคือ ดูในช่วงปี 2008-2009 จะได้ภาพของคลื่นย่อยดังภาพต่อไปนี้
จากภาพในระดับคลื่นย่อย ขณะนี้ดัชนีดอลลาร์กำลังอยู่ในช่วงขาลงของลูกคลื่น นั่นคือ กำลังหาจุดจบของ a จากนั้นจะทำ b และ c ต่อไป โดยดัชนีดอลลาร์น่าจะจบคลื่น a ที่ 78.8 หรือ 75.5
ค่าเงินดอลลาร์มีผลกับราคาน้ำมัน ทองคำ และยาง ที่เราเทรดกันอยู่ แต่ควรใช้พิจารณาประกอบเท่านั้น การเทรดฟิวเจอร์สตัวใดก็ให้ดูเทคนิคจากราคาของตัวนั้นเป็นหลัก
Subscribe to:
Posts (Atom)